สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
คำสดุดี แด่ทหารผู้เสียชีวิตในกรณีสงครามเกาหลี
จำเดิมแต่ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกแห่งองค์การสหประชาชาติมาแต่เบื้องต้น ซึ่งภายในกรอบแห่งกฎบัตรขององค์การนี้ ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะทะนุบำรุง และส่งเสริมสันติสุข ตลอดจนความมั่นคงระหว่างประเทศร่วมกัน โดยดำเนินตามจุดประสงค์และหลักการ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในอันที่จะผดุงไว้ซึ่งอิสระเสรี พร้อมด้วยความสงบสุขของโลกเป็นประการสำคัญ ฉะนั้น เมื่อสงคราม ณ ประเทศเกาหลีได้อุบัติขึ้นโดยฝ่ายสหประชาชาติ จึงได้จัดส่งกำลังทหาร ไปร่วมทำการรบขับไล่ผู้รุกราน ณ สมรภูมิดังกล่าวตามคำเรียกร้องขององค์การสหประชาชาติ กำลังผลัดแรกได้เริ่มเดินทางออกจากประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2493 และได้ส่งกำลังไปผลัดเปลี่ยนตามกำหนดเวลาเรื่อยมา ผลัดสุดท้ายส่งไปเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2497 รวมกำลังที่ส่งไป 6 ผลัด มีจำนวนนายทหาร นายสิบ และพลทหารทั้ง 3 กองทัพ เป็นจำนวน 10,315 คน ในการรบแต่ละครั้งคราวนั้น ปรากฎว่าทหารไทยได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเด็ดเดี่ยว เข้มแข็ง ทรหดอดทน ได้ผลดีเด่น จนเป็นที่ระบือลือเลื่องในความกล้าหาญโดยทั่วไป และโดยเกียรติคุณอันนี้ได้ทำให้ทหารไทยและกองทัพไทยได้รับความยกย่อง สรรเสริญจากนานาชาติดังที่ได้ทราบกันอยู่แล้ว ซึ่งนับว่าได้ประกอบกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง และก็ตามปกติวิสัย
สำหรับการสู้รบ ซึ่งต้องใช้กำลังและอาวุธเข้าประหัตประหารกัน ก็ย่อมจะต้องมีผู้ประสบเคราะห์กรรมถึงบาดเจ็บ และล้มตายลงบ้าง ดังนั้นทหารไทยผู้กล้าหาญของเราจึงต้องมีผู้เสียชีวิตในการนี้ นับแต่เริ่มเข้าทำการรบ จนถึงวาระสุดท้ายที่มีการสงบศึก ได้มีผู้เสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 127 นาย นอกจากนี้ยังมีทหาร ตำรวจและพลเรือน ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความเสียสละและกล้าหาญ เพื่อรักษาความสงบสุขของประเทศชาติ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2492 และวันที่ 29 มิถุนายน 2494 กับในระหว่างสงครามมหาเอเซียบูรพา จนต้องประสบอันตรายถึงชีวิตอีก 33 นาย
พฤติการณ์ที่ท่านทั้งหลายได้กระทำไปนั้นได้แสดงให้เห็นว่า
เป็นผู้มีความเสียสละอย่างสูง มุ่งปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความองอาจกล้าหาญ
เพื่อปรารถนาให้ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รัฐธรรมนูญ
และสันติสุขของประชาชนทั้งชาติได้ดำรงคงสืบไป
แม้ตนจะต้องเสียชีวิตก็มิได้ย่นย่อท้อถอย ซึ่งการกระทำนี้
ย่อมจะจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ของชาติไทย
และจะตรึงตราอยู่ในความทรงจำของประชาชนชาวไทยทั้งชาติ อย่างไม่รู้ลืม
นับเป็นวีรกรรมอันสูงส่งควรแก่การยกย่องสรรเสริญ
และเป็นเยี่ยงอย่างที่ดีสำหรับพี่น้องทหารและประชาชนชาวไทย
ตลอดจนอนุชนคนรุ่นหลังจะพึงยึดถือเป็นทางปฏิบัติต่อไป
กองกำลังทหารไทยในสงครามเกาหลี
การเตรียมการส่งกำลังทหารไปร่วมรบ
การปฏิบัติการในสมรภูมิเกาหลี
การถอนตัวจากกรุงเปียงยาง
การขึ้นสมทบกับกองพลน้อยที่ 28 ของอังกฤษ
การเคลื่อนที่เข้าหาเมืองชุนชอน และการเข้าตีเมืองวาซอน
การปรับปรุงกำลังทหารของไทย
การย้ายกำลังเข้ากรุงโซล และการเข้าตีเมืองอุยจองบู
การเจรจาเพื่อยุติสงคราม และสงบศึก
ผลที่ประเทศไทยได้รับจากสงครามเกาหลี
คำสดุดี
แด่ทหารผู้เสียชีวิตในกรณีสงครามเกาหลี
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 2
การขึ้นประจำแนวต้านทานหลักเจมส์ทาวน์
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 3
การปฏิบัติการรบ ณ ที่มั่นตั้งรับแนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาทีโบน
การปฏิบัติหน้าที่ในกองหนุนของกองพลที่ค่ายเคซี (Camp Cacy)
การปฏิบัติระหว่างเป็นกองหนุนของกองพลที่เมืองยอนชอน
การปฏิบัติการรบบนที่มั่นตั้งรับ แนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาพอร์คชอป
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 2
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 3
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 4
การปฏิบัติการบริเวณเขาเดอะฮุค และเขายิบรอลตาร์
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 5
การปฏิบัติการรบที่บูเมอแรง
การปฏิบัติการของทหารบก ผลัดที่ 6
การปฏิบัติการของกองพันทหารไทย
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 7 - 23
การปฏิบัติการของกองร้อยอิสระผลัดที่ 7 - 23
กองร้อยกองเกียรติยศประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ
การปฏิบัติการของทหารเรือ
การจัดกำลังทางเรือของสหประชาชาติในสงครามเกาหลี
การปฏิบัติการของ มส.
การปฏิบัติการของเรือหลวงบางปะกง
การรับมอบเรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของเรือหลวงท่าจีน
การปฏิบัติการของเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของทหารอากาศ
การจัดชุดพยาบาลทางอากาศ และการผลัดเปลี่ยน
การปฏิบัติงานของชุดพยาบาลทางอากาศ
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 1
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 2
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 3
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 4 - 17
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 18 - 24
การปฏิบัติของหน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทย
เจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์บรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยรุ่นที่ 1 - 4
การปฏิบัติการของทหารไทยในสงครามเวียดนาม
เหตุการณ์ในเวียดนามก่อนเกิดสงคราม
การช่วยเหลือของฝ่ายโลกเสรี
การส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม ผลัดที่ 1
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยฯ ผลัดที่ 2 - 5
สำนักงานผู้แทนทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม
กรมทหารอาสาสมัคร(กรม อสส.)
แผนการยุทธและการปฏิบัติการ
การปฏิบัติการรบที่ฟุกโถ(20 - 21 ธันวาคม 2510)
กองพลทหารอาสาสมัคร(พล.อสส.)
กองพลทหารอาสาสมัครผลัดที่ 1
การรบที่บินห์สัน (Binh Son)
การรบที่ล็อคอัน (Loc An)
คำชมเชยจากต่างประเทศ
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 1 ส่วนที่ 2
การรบที่เฟือกกาง (Phuoc Cang)
ยุทธการอัศวิน
ยุทธการวูล์ฟแพค 1,2 (Woltpack I,II)
ยุทธการเบ็นแคม (Ben Cam)
ยุทธการเฟือกเหงียน (Phuac Nguyen)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
กองพลทหาร อาสาสมัคร ที่ 2
พื้นที่การปฏิบัติการ การจัดกำลัง และการวางกำลัง
ยุทธการมิตรภาพ
ยุทธการสี่พยัคฆ์ (Opcration Tu Ho)
ยุทธการบางปู
ยุทธการ 234
ยุทธการซุยคา
ยุทธการคีย์แมน
ยุทธการทัมเทียน (Tham Thien)
ยุทธการสายฟ้าแลบ (Thunderbolt)
การผลัดเปลี่ยน และเดินทางกลับ
บทเรียนจากการรบ และการสูญเสีย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3
การถอนกำลังกลับประเทศไทย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3 ส่วนที่ 2
การปฏิบัติการรบของกองร้อยจู่โจม (15 - 18 เมาายน 2514)
การปฏิบัติการของชุดเพชฌฆาตสังหาร (17 - 18 สิงหาคม 2514)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
หน่วยเรือซีฮอร์ส
เรือหลวงพงัน
การปฏิบัติการระหว่าง ปี พ.ศ. 2510 - 2515
สรุปการปฏิบัติของหน่วยเรือซีฮอร์ส
หน่วยบินวิคตอรี
การลำเลียงขนส่งทางอากาศ 1,776 ภารกิจ
การยุติสงครามเวียดนาม
ยุทธศาสตร์เวียดนามเหนือ
การดำเนินการของเวียดนามเหนือ และเวียดกง
การเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีส
สถานการณ์ในเวียดนามใต้ หลังการถอนกำลังฝ่ายโลกเสรี