สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
กองกำลังทหารไทยในสงครามเกาหลี
เลขาธิการสหประชาชาติได้มีโทรเลขถึงรัฐบาลไทย ผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งมติของคณะมนตรีความมั่นคงฯ เมื่อ 25 มิถุนายน 2493 ต่อมาเมื่อ 29 มิถุนายน 2493 เลขาธิการสหประชาชาติ ได้มีโทรเลขถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย เตือนว่าตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงฯ ขอให้ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ ให้ความช่วยเหลือสาธารณรัฐเกาหลี ต้านทานการโจมตีด้วยอาวุธนั้น รัฐบาลไทยจะให้ความช่วยเหลือประการใด ขอให้แจ้งให้เลขาธิการสหประชาชาติทราบโดยเร็วว่า จะให้ความช่วยเหลือชนิดใด
คณะรัฐมนตรีมีมติว่า ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม จึงตกลงให้ความช่วยเหลือทางด้านอาหาร เช่น ส่งข้าวไปช่วยเหลือเป็นต้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจึงได้มีโทรเลขตอบเลขาธิการสหประชาชาติ เมื่อ 1 กรกฎาคม 2493 มีใจความว่า รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เฝ้าดูการคลี่คลายของเหตุการณ์ในประเทศเกาหลี ด้วยความห่วงใยที่สุด และประณามการใช้กำลังรุกรานซึ่งได้กระทำต่อ สาธารณรัฐเกาหลีที่เกิดใหม่นี้ ด้วยการทำลายสันติภาพ ซึ่งมิได้นำพาต่อคำสั่งของคณะมนตรีความมั่นคงฯ และโดยละเมิดบทบัญญัติแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ เช่นนี้ไม่เป็นสิ่งที่ควรจะผ่อนผันได้เลย ฉะนั้นรัฐบาลไทยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงสนับสนุนมติความมั่นคงฯ อย่างหนักแน่น และพร้อมที่จะสนับสนุนการกระทำใด ๆ ที่สหประชาชาติเห็นสมควร และพิจารณาให้ความช่วยเหลือเท่าที่สามารถกระทำได้ แก่สาธารณรัฐเกาหลี ในการนี้โดยที่ประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม จึงยินดีจะช่วยสาธารณรัฐเกาหลีในทางอาหาร เช่นข้าวเป็นต้น หากมีความต้องการ
เลขาธิการสหประชาชาติ ได้มีโทรเลขถึงกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อ 14 กรกฎาคม 2493 มีใจความว่า ขอแสดงความขอบคุณในการที่รัฐบาลไทย พร้อมที่จะสนับสนุนการปฏิบัติของสหประชาชาติ และการตกลงใจให้ความช่วยเหลือ เรื่องอาหารเช่น ข้าว และรัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้อาณัติแห่งมติ ลง 9 กรกฎาคม 2493 ได้มอบภาระความรับผิดชอบทั้งมวลแก่กองทัพสหประชาชาติ ฉะนั้นจึงขอแนะนำว่า ขอให้รัฐบาลไทยได้พิจารณาหาทางช่วยเหลือในเรื่องกำลังรบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กำลังทางภาคพื้นดินเท่าที่อยู่ในวิสัยสามารถ การช่วยเหลือในกรณีนี้ ในหลักการทั่วไปขอให้ติดต่อไปยังเลขาธิการสหประชาชาติ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อย ให้ตกลงกับกองบัญชาการกองทัพสหประชาชาติต่อไป
นายกรัฐมนตรีได้บัญชาให้นำเรื่องนี้เสนอต่อ สถาบันป้องกันราชอาณาจักร ซึ่งได้มีการประชุมปรึกษา เมื่อ 20 กรกฎาคม 2493 มีมติเป็นเอกฉันท์ รับหลักการที่จะให้ความช่วยเหลือทางการทหาร เฉพาะกำลังทหารทางพื้นดินในกรณีสงครามเกาหลีด้วยกำลัง 1 กรมผสม (1 Combat Team) และสภาป้องกันราชอาณาจักร ได้เสนอเรื่องนี้ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตัดสินตกลงใจเป็นการด่วน คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษา เมื่อ 20 กรกฎาคม 2493 มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบตามมติของสภาป้องกันราชอาณาจักร และโดยเหตุที่เรื่องนี้เกี่ยวกับปัญหาราชการแผ่นดินที่สำคัญ สมควรแจ้งให้รัฐสภาอันประกอบด้วยวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎรทราบ ตามความในมาตรา 132 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในครั้งนั้น
นายกรัฐมนตรีได้นำเรื่องนี้เสนอรัฐสภาเมื่อ 22 กรกฎาคม 2493 ได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากรัฐสภาด้วยดี ในการนี้ได้นำเสนอโทรเลขที่ได้รับ จากคณะมนตรีความมั่นคง ฉบับที่ 3 ในการประชุม ครั้งที่ 473 เมื่อ 25 มิถุนายน 2493 มีความว่า จากมติของสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ เมื่อ 21 ตุลาคม 2492 ซึ่งรับรองว่ารัฐบาลแห่ง สาธารณรัฐเกาหลี เป็นรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นถูกต้องตามกฎหมาย โดยที่ได้มีอำนาจควบคุม และอาณาเขตอย่างแท้จริงเหนือดินแดนส่วนของเกาหลี ที่คณะกรรมการชั่วคราวของสหประชาชาติว่าด้วยเกาหลี สามารถเข้าไปสังเกตการณ์ และปรึกษาหารือด้วยได้ และเป็นที่สำนักของประชาชนส่วนมากเกาหลี ฯลฯ และความห่วงใยว่าสถานการณ์ตามที่คณะกรรมการแห่งสหประชาชาติ ว่าด้วยเกาหลีได้พรรณามาในรายงาน จะคุกคามต่อความปลอดภัย และความผาสุกของสาธารณรัฐเกาหลี และอาจจะนำมาซึ่งการขัดกันทางทหารอย่างเปิดเผยขึ้น ณ ที่นั้น โดยที่ได้ทราบด้วยความห่วงใยอย่างยิ่งว่า ได้มีการโจมตีสาธารณรัฐเกาหลีด้วยกำลังอาวุธจากกองทัพของฝ่ายเกาหลีเหนือ เห็นว่าการกระทำนี้เป็นการทำลายสันติภาพ จึง
1. เรียกร้องให้ยุติการศึกโดยทันที และให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายเกาหลีเหนือถอนกำลังทหารกลับไปอยู่ ภายในเส้นขนานที่ 38 โดยพลัน
2. ขอให้คณะกรรมการแห่งสหประชาชาติว่าด้วยเกาหลี
ก. ส่งข้อแนะนำที่ได้พิเคราะห์แล้วอย่างละเอียดถี่ถ้วนกับสถานการณ์ ไปยังคณะมนตรีฯ โดยไม่ชักช้า
ข. สังเกตการณ์ถอนกำลังทัพของฝ่ายเกาหลีเหนือไปยังเส้นขนานที่ 38 และ
ค. รายงานให้คณะมนตรีความมั่นคงฯ ทราบถึงการปฏิบัติตามมตินี้
3. ขอให้บรรดาประเทศสมาชิก อำนวยความช่วยเหลือทุกทางแก่สหประชาชาติ
ในการปฏิบัติตามมตินี้ และละเว้นการให้ความช่วยเหลือแก่ฝ่ายเกาหลีเหนือ
รัฐบาลได้นำความบังคมทูล เพื่อขอรับพระบรมราชานุวัติจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
เพื่อส่งกำลังไปร่วมรบในประเทศเกาหลีตามคำร้องขอขององค์การสหประชาชาติ เมื่อ 22
กรกฎาคม 2493 และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ
ให้ส่งกำลังทหารภาคพื้นดินไปร่วมรบในสงครามเกาหลี เมื่อ 22 กันยายน 2493 ต่อมาเมื่อ
29 กันยายน 2493 ได้มีพระบรมราชโองการให้ส่งกำลังทางเรือ
และทางอากาศไปร่วมรบในสงครามเกาหลีด้วย
กองกำลังทหารไทยในสงครามเกาหลี
การเตรียมการส่งกำลังทหารไปร่วมรบ
การปฏิบัติการในสมรภูมิเกาหลี
การถอนตัวจากกรุงเปียงยาง
การขึ้นสมทบกับกองพลน้อยที่ 28 ของอังกฤษ
การเคลื่อนที่เข้าหาเมืองชุนชอน และการเข้าตีเมืองวาซอน
การปรับปรุงกำลังทหารของไทย
การย้ายกำลังเข้ากรุงโซล และการเข้าตีเมืองอุยจองบู
การเจรจาเพื่อยุติสงคราม และสงบศึก
ผลที่ประเทศไทยได้รับจากสงครามเกาหลี
คำสดุดี แด่ทหารผู้เสียชีวิตในกรณีสงครามเกาหลี
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 2
การขึ้นประจำแนวต้านทานหลักเจมส์ทาวน์
การปฏิบัติของทหารบกผลัดที่ 3
การปฏิบัติการรบ ณ ที่มั่นตั้งรับแนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาทีโบน
การปฏิบัติหน้าที่ในกองหนุนของกองพลที่ค่ายเคซี (Camp Cacy)
การปฏิบัติระหว่างเป็นกองหนุนของกองพลที่เมืองยอนชอน
การปฏิบัติการรบบนที่มั่นตั้งรับ แนวเจมส์ทาวน์ด้านเขาพอร์คชอป
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 2
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ 3
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 4
การปฏิบัติการบริเวณเขาเดอะฮุค และเขายิบรอลตาร์
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 5
การปฏิบัติการรบที่บูเมอแรง
การปฏิบัติการของทหารบก ผลัดที่ 6
การปฏิบัติการของกองพันทหารไทย
การปฏิบัติการของทหารบกผลัดที่ 7 - 23
การปฏิบัติการของกองร้อยอิสระผลัดที่ 7 - 23
กองร้อยกองเกียรติยศประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ
การปฏิบัติการของทหารเรือ
การจัดกำลังทางเรือของสหประชาชาติในสงครามเกาหลี
การปฏิบัติการของ มส.
การปฏิบัติการของเรือหลวงบางปะกง
การรับมอบเรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของเรือหลวงท่าจีน
การปฏิบัติการของเรือหลวงประแส
การปฏิบัติการของทหารอากาศ
การจัดชุดพยาบาลทางอากาศ และการผลัดเปลี่ยน
การปฏิบัติงานของชุดพยาบาลทางอากาศ
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 1
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 2
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 3
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 4 - 17
การปฏิบัติการของหน่วยบินลำเลียงชุดที่ 18 - 24
การปฏิบัติของหน่วยบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทย
เจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์บรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยรุ่นที่ 1 - 4
การปฏิบัติการของทหารไทยในสงครามเวียดนาม
เหตุการณ์ในเวียดนามก่อนเกิดสงคราม
การช่วยเหลือของฝ่ายโลกเสรี
การส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม ผลัดที่ 1
กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยฯ ผลัดที่ 2 - 5
สำนักงานผู้แทนทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม
กรมทหารอาสาสมัคร(กรม อสส.)
แผนการยุทธและการปฏิบัติการ
การปฏิบัติการรบที่ฟุกโถ(20 - 21 ธันวาคม 2510)
กองพลทหารอาสาสมัคร(พล.อสส.)
กองพลทหารอาสาสมัครผลัดที่ 1
การรบที่บินห์สัน (Binh Son)
การรบที่ล็อคอัน (Loc An)
คำชมเชยจากต่างประเทศ
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 1 ส่วนที่ 2
การรบที่เฟือกกาง (Phuoc Cang)
ยุทธการอัศวิน
ยุทธการวูล์ฟแพค 1,2 (Woltpack I,II)
ยุทธการเบ็นแคม (Ben Cam)
ยุทธการเฟือกเหงียน (Phuac Nguyen)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
กองพลทหาร อาสาสมัคร ที่ 2
พื้นที่การปฏิบัติการ การจัดกำลัง และการวางกำลัง
ยุทธการมิตรภาพ
ยุทธการสี่พยัคฆ์ (Opcration Tu Ho)
ยุทธการบางปู
ยุทธการ 234
ยุทธการซุยคา
ยุทธการคีย์แมน
ยุทธการทัมเทียน (Tham Thien)
ยุทธการสายฟ้าแลบ (Thunderbolt)
การผลัดเปลี่ยน และเดินทางกลับ
บทเรียนจากการรบ และการสูญเสีย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3
การถอนกำลังกลับประเทศไทย
กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 3 ส่วนที่ 2
การปฏิบัติการรบของกองร้อยจู่โจม (15 - 18 เมาายน 2514)
การปฏิบัติการของชุดเพชฌฆาตสังหาร (17 - 18 สิงหาคม 2514)
อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราที่ได้รับ
หน่วยเรือซีฮอร์ส
เรือหลวงพงัน
การปฏิบัติการระหว่าง ปี พ.ศ. 2510 - 2515
สรุปการปฏิบัติของหน่วยเรือซีฮอร์ส
หน่วยบินวิคตอรี
การลำเลียงขนส่งทางอากาศ 1,776 ภารกิจ
การยุติสงครามเวียดนาม
ยุทธศาสตร์เวียดนามเหนือ
การดำเนินการของเวียดนามเหนือ และเวียดกง
การเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีส
สถานการณ์ในเวียดนามใต้ หลังการถอนกำลังฝ่ายโลกเสรี