สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ลัทธิเศรษฐกิจ

แนวคิดสำนักพึ่งพา

      แนวคิดของสำนักพึ่งพาเน้นปัญหาความด้อยพัฒนาได้แก่ ปัญหาพึ่งพาการค้าและการลงทุนตลอดจนหนี้สินระหว่างประเทศและปัญหาความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ระหว่างประเทศ โดยเห็นว่า ปัญหา 2 ประการข้างต้นเกิดจาก กลยุทธการพัฒนาประเทศที่เน้นการส่งออกและการนำเข้า ส่งผลให้ประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศศูนย์กลาง สามารถดูดซับส่วนเกินทางเศรษฐกิจจากประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศบริวารไปได้

แนวคิดต่อสำนักพึ่งพาถูกวิจารณ์ในประเด็นที่สำคัญคือ ปัญหากรอบของทฤษฎี เน้นความสำคัญของการผนวกกับทุนนิยมโลกโดยผ่านกลไกการค้าและการลงทุนมากเกินไป ตลอดจนทางเลือกของปัญหาการพึ่งพาระหว่างประเทศ

ความเป็นมาและสาระสำคัญของสำนักพึ่งพา
แนวคิดสำนักพึ่งพามีสาระสำคัญพอสรุปได้ดังนี้คือ สาเหตุของความด้อยพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนา (ขอบนอก) หรือดาวบริวาร เกิดจากการเอาเปรียบของประเทศที่พัฒนาแล้ว (แกนกลาง) โดยผ่านกระบวนการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศกำลังพัฒนามักจะเสียเปรียบเพราะว่า อัตราการค้าระหว่างประเทศของประเทศกำลังด้อยพัฒนามีแนวโน้มลดลง เพราะราคาสินค้าส่งออกมักมีราคาต่ำกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับราคาสินค้านำเข้า บรรษัทข้ามชาติขนกำไรกลับประเทศของตนและนำเงินมาลงต่อในประเทศกำลังพัฒนาน้อยเป็นต้น นอกจากนี้ประเทศที่พัฒนาแล้วสามารถแสวงหาผลประโยชน์จากประเทศกำลังพัฒนา ในรูปของการครอบงำทางทหาร วัฒนธรรม สังคมและสื่อมวลชน เป็นต้น และมีผลทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้นระหว่างประเทศที่กำลังพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา

ข้อวิจารณ์ต่อสำนักพึ่งพา
แนวคิดสำนักพึ่งพาถูกวิจารณ์ในประเด็นที่สำคัญ คือ ในด้านการเป็นทฤษฎีทั่วไป ที่จะประยุกต์ใช้กับประเทศกำลังพัฒนาโดยทั่วไปและเน้นการผนวกกับระบบทุนนิยมโลก โดยผ่านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศมากเกนไป โดยไม่คำนึงถึงผลดีจากการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศที่ประเทศกำลังพัฒนาสามารถพัฒนาทุนนิยมได้อย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชีย อันประกอบด้วย เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง สิงค์โปร์ ในขณะเดียวกัน ความด้อยพัฒนาไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพึ่งพิงภายนอกเสมอไป หากแต่เกิดจากปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเหล่านั้นด้วย และประการที่สำคัญแนวคิดสำนักพึ่งพาไม่ได้เสนอทางเลือกต่อปัญหาการพึ่งพาเศรษฐกิจระหว่างประเทศอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม

» การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ

» การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ

» ระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง

» ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์

» การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง

» การก้าวไปสู่ระบบทุนนิยม

» ชนชั้นกระฎุมพีกับสังคมศักดินา

» การปฏิวัติอุตสาหกรรม

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมระหว่างสงครามโลก

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

» วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาหลังทศวรรษ 1960

» วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกหลังทศวรรษ 1970

» ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว

» การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสู่สมัยใหม่ในเอเชีย

» แนวคิดก่อนคลาสสิก

» สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชนิยม

» แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม

» แนวคิดธรรมชาตินิยม

» แนวคิดคลาสสิกของอดัม สมิธ

» แนวคิดคลาสสิกของโรเบิร์ท มัลธัส

» แนวคิดของเดวิด ริคาร์โด

» แนวคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์

» แนวคิดสังคมนิยม

» แนวคิดสังคมนิยมแบบมาร์ก

» แนวคิดนีโอคลาสสิก

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักโลซาน

» เศรษฐศาสตร์ของพาเรโต

» แนวคิดของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบัน

» ประวัติแนวคิดและนักคิดการเงินนิยม

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน

» แนวคิดสำนักพึ่งพา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย