สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ลัทธิเศรษฐกิจ

การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ

     ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ หมายถึง การศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีต การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ จะทำให้เราทราบถึงการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านความเจริญก้าวหน้าและความเสื่อมถอย อันทำให้สามารถหาข้อสรุปอย่างกว้างๆ เกี่ยวกับการพัฒนาของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งอาจสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจปัจจุบันอีกด้วย

ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ เป็นการศึกษาเรื่องราวเศรษฐกิจในอดีต ในขณะที่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จะศึกษาและวิเคราะห์เครื่องมือและเทคนิคในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และการศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ จะใช้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงด้านรูปธรรม มากกว่าการศึกษาประวัติศาสตร์โดยทั่วไป

การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ประกอบกับการพิจารณาปัจจัยสภาพแวดล้อมอื่น

การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ แบ่งออกเป็น 5 แบบ ได้แก่ แบบทฤษฎีขั้นตอน แบบสถาบันทางเศรษฐกิจ แบบประวัติศาสตร์เศรษฐกิจแนวใหม่ แบบเปรียบเทียบ และแบบที่เน้นปัจจัยเศรษฐกิจมากเป็นพิเศษ

แนวคิดเกี่ยวกับวิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ

การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจทำให้เข้าใจถึงชีวิตทางเศรษฐกิจและสังคมในอดีต และสามารถหาข้อสรุปอย่างกว้าง ๆ เกี่ยวกับพัฒนาการของระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ตลอดจนสามารถวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันได้อีกด้วย

ความสัมพันธ์ระหว่างวิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์และประวัติศาสตร์
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ เป็นเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์และสร้างข้อสรุปทั่วไปในการศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ขณะที่วิชาประวัติศาสตร์จะให้หลักฐานอื่น ๆ ที่เป็นบริบททางสังคมสำหรับการเข้าใจประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ

ขอบเขตและวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจมี 5 แบบ ได้แก่ แบบทฤษฎีขั้นตอน แบบสถาบันทางเศรษฐกิจ แบบประวัติศาสตร์เศรษฐกิจแนวใหม่ แบบเปรียบเทียบ และแบบที่เน้นปัจจัยเศรษฐกิจมากเป็นพิเศษ

» การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ

» การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ

» ระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง

» ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์

» การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง

» การก้าวไปสู่ระบบทุนนิยม

» ชนชั้นกระฎุมพีกับสังคมศักดินา

» การปฏิวัติอุตสาหกรรม

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมระหว่างสงครามโลก

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

» วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาหลังทศวรรษ 1960

» วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกหลังทศวรรษ 1970

» ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว

» การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสู่สมัยใหม่ในเอเชีย

» แนวคิดก่อนคลาสสิก

» สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชนิยม

» แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม

» แนวคิดธรรมชาตินิยม

» แนวคิดคลาสสิกของอดัม สมิธ

» แนวคิดคลาสสิกของโรเบิร์ท มัลธัส

» แนวคิดของเดวิด ริคาร์โด

» แนวคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์

» แนวคิดสังคมนิยม

» แนวคิดสังคมนิยมแบบมาร์ก

» แนวคิดนีโอคลาสสิก

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักโลซาน

» เศรษฐศาสตร์ของพาเรโต

» แนวคิดของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบัน

» ประวัติแนวคิดและนักคิดการเงินนิยม

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน

» แนวคิดสำนักพึ่งพา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย