สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง
สังคมในสมัยกลางได้รับอิทธิพลจากศาสนาคริสต์มาก โดยมีการเกษตรเป็นอาชีพหลักและใช้ระบบการปรกครองระบบศักดินาหรือแบบเจ้าขุนมูลนาย
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์ประกอบด้วยหมู่บ้าน ปราสาท คฤหาสน์และวัง โดยมีการเพราะปลูก การปศุสัตว์ และการป่าไม้เป็นอาชีพสำคัญ ระบบดังกล่าวได้เสื่อมสลายลงในเวลาต่อมา เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ
ระบบเศรษฐกิจสมัยกลางได้สลายตัวลงเนื่องจากเกิดเหตุการณ์หลายอย่างที่สำคัญ ได้แก่ การค้นพบดินแดนใหม่ๆ และการเกิดระบบนายทุนซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการฟื้นฟูทางการค้าและลัทธิพาณิชยนิยมที่เป็นต้นเหตุของการเกิดระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ในเวลาต่อมา
สังคม เศรษฐกิจและการเมืองในสมัยกลาง
สภาพทางสังคมในสมัยกลางนั้นความเชื่อและความนึกคิดต่างๆ ได้รับอิทธิพลจากศาสนาคริสต์มาก โดยสอนศาสนาให้คนไม่มุ่งหวังกำไร ไม่สะสมทรัพย์ และให้ปฏิบัติตามกฏระเบียบของศาสนาอย่างเคร่งคัด
ลักษณะทางเศรษฐกิจสมัยกลาง ส่วนใหญ่เป็นสังคมเกษตรที่มีขนาดต่างๆกัน แต่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ การค้าขายมักจะกระทำในบริเวณไม่ห่างไกลนัก และการหัตถกรรมเริ่มมากขึ้นในระยะปลายของสมัยกลาง
การปกครองตามระบบศักดินาหรือแบบเจ้าขุนมูลนายโดยมีกษัตริย์เป็นเจ้าปกครองเป็นลักษณะสำคัญของการเมืองการปกครองในสมัยกลาง
สภาพทางสังคมในสมัยกลาง
สภาพทางสังคมในสมัยกลางนั้นความเชื่อและแนวคิดต่าง ๆ
ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากศาสนาคริสต์ซึ่งสอนให้คนไม่มุ่งหวังกำไร
ไม่สะสมทรัพย์สินและปฏิบัติตามกฎระเบียบของศาสนาอย่างเคร่งครัด
ลักษณะทางเศรษฐกิจในสมัยกลาง
ระบบเศรษฐกิจในสมัยกลางมักจะมีสภาพเป็นสังคมการเกษตรที่มีขนาดต่าง ๆ กัน
ที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้
การอุตสาหกรรมมักจะมีการรวมตัวกันเป็นสมาคมอาชีพเพื่อควบคุมการผลิตสินค้า และทำการผูกขาดการขายสินค้าในตลาดท้องถิ่น
การค้าในดินแดนที่ห่างไกลยังมีน้อยมากและมักจะมีเฉพาะเมืองที่การค้าเป็นอาชีพหลัก เช่น เมือง เวนิช
การเก็บออมและสะสมทรัพย์ในยุคต้น ๆ ถือว่าเป็นข้อห้ามของศาสนาและการเรียกเก็บดอกเบี้ยก็ไม่ควรทำ แต่ความเชื่อเช่นนี้ได้เปลี่ยนไปในปลายสมัยกลาง
การเมืองการปกครองในสมัยกลาง
การปกครองระบบศักดินา หมายถึงการปกครองโดยที่กษัตริย์มอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันกว้างใหญ่ไพศาลให้แก่ขุนนาง และบริวารของขุนนาง เพื่อสะดวกแก่การปกครองและการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์
» การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
» การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ
» การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง
» ชนชั้นกระฎุมพีกับสังคมศักดินา
» สภาพเศรษฐกิจและสังคมระหว่างสงครามโลก
» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1
» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
» วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาหลังทศวรรษ 1960
» วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกหลังทศวรรษ 1970
» ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว
» การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสู่สมัยใหม่ในเอเชีย
» สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชนิยม
» แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม
» แนวคิดคลาสสิกของโรเบิร์ท มัลธัส
» แนวคิดของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์