สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ลัทธิเศรษฐกิจ

แนวคิดสังคมนิยม

        ความคิดสังคมนิยมเริ่มมาช้านาน แต่นักคิดสังคมนิยมและลัทธิสังคมนิยม มีการใช้และกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 ยุคการปฏิวัติอุสาหกรรมเป็นสังคมนิยมแบบยูโทเปีย หรือสังคมนิยมแบบเพ้อฝัน ต่อมามาร์กได้สร้างแนวคิดสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ขึ้นมา และแนวคิดนี้ได้นำไปใช้ในสมัยศตวรรษที่ 20 โดยโซเวียตรุสเซีย แนวคิดสังคมนิยมเสรี เป็นสังคมนิยมแบบประชาธิปไตย และลัทธิอนาธิปัตย์นิยม ซึ่งเน้นวิวัฒนาการไปสู่สังคมนิยมโดยไม่เน้นการต่อสู่ระหว่างชนชั้น

แนวคิดสังคมนิยมแบบมาร์ก เป็นสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ ที่อาศัยแนวคิดเรื่องวัตถุนิยม ประวัติศาสตร์ และการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์การเมือง ซึ่งสรุปว่าพลังการผลิตจะเป็นตัวกำหนดวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ โครงสร้างส่วนล่างจะไปกำหนดโครงสร้างส่วนบน มาร์กมีแนวคิดว่าการวิวัฒนาการจากระบบทุนนิยม เปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมนิยมและคอมมิวนิตส์ในท้ายที่สุดแล้ว จะเกิดขึ้นโดยการต่อสู้ทางชนชั้น ระหว่างชนชั้นกรรมาชีพและชนชั้นนายทุน

ความเบื้องต้นเกี่ยวกับแนวคิดสังคมนิยม

แนวคิดสังคมนิยมเริ่มก่อตั้งขึ้นในสมัยการปฏิวัติอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเจริญก้าวหน้าในอังกฤษ แต่สภาพความเป็นอยู่ของกรรมกรกลับแร้นแค้นจึงมีแนวคิดที่ต่อต้านแนวคิดที่ต่อต้านแนวคิดคลาสสิก โดยกลุ่มของนักคิดสังคมนิยมยูโทเปีย และมีวิวัฒนาการของแนวคิดสังคมนิยมแบบมาร์กซิสต์ ซึ่งเป็นสังคมนิยมแบบวิทยาศาสตร์ตามมา

ในยุคสมัยใหม่ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมมีลักษณะที่ว่ามีการเกษตรแผนใหม่ เกิดการปฏิวัติทางการค้าและอุตสาหกรรม ตลอดจนองค์การธุรกิจและการเงินการธนาคารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ได้เกิดผลทางเศรษฐกิจมากมายในระยะสงคราม ภายหลังสงครามสงบลงลักษณะทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ มีลักษณะเด่นชัดอยู่ 2 ระบบคือ ระบบทุนนิยมและระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

แนวคิดสังคมนิยมในสมัยศตวรรษที่ 18 มี 2 รูปแบบคือรูปแบบที่ 1 แบ่งสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ อีกรูปแบบหนึ่งแบ่งเป็นแนวคิดของนักคิดสังคมนิยมแบบมาร์กซิสต์และนักคิดสังคมนิยมแบบนีโอมาร์กซิสต์

วิวัฒนาการของแนวคิดสังคมนิยม
สาเหตุที่ก่อให้เกิดแนวคิดที่ต่อต้านแนวคิดสำนักคลาสสิก และก่อให้เกิดการก่อตัวของแนวคิดสังคมนิยม ยูโทเปีย คือ นักคิดสำนักคลาสสิกสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ซึ่งยุโรปตะวันตกประสบความสำเร็จของการปฏิวัติ อุตสาหกรรมและการค้า แต่เนื่องจากสังคมก็เกิดปัญหาความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นของกรรมกร กรรมกรยังยากจน ทำงานมากชั่วโมงขึ้นและเสี่ยงอันตรายได้ค่าแรงต่ำ ดังนั้นจึงมีแนวคิดสังคมนิยมยูโทเปีย ต่อต้านแนวคิดของสำนักคลาสสิก

สภาพแวดล้อมและปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมในยุคสมัยใหม่
สภาพแวดล้อมและปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในยุคสมัยใหม่ เกิดระบบเศรษฐกิจ 2 ระบบใหญ่ ๆ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ประเทศมหาอำนาจ 2 ฝ่าย คือ สหรัฐอเมริกาและรุสเซีย เกิดสงครามเย็นระหว่างลัทธิทุนนิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์ และระบบเศรษฐกิจจึงแบ่งเป็น 2 ระบบใหญ่ๆ คือระบบทุนนิยมและระบบสังคมนิยม

การจำแนกแนวคิดสังคมนิยมในสมัยศตวรรษที่ 18
ในสมัยศตวรรษที่ 18 รูปแบบของแนวคิดสังคมนิยมมี 2 รูปแบบคือ

  • รูปแบบที่ 1 พิจารณาจากวิธีการที่ทำให้เกิดสังคมนิยมจะมี 2 ระบบคือ สังคมนิยม และ คอมมิวนิสต์
  • รูปแบบที่ 2 แบ่งตามแนวคิดที่มีการเปลี่ยนแปลงโดยมนุษย์กระทำขึ้น และมนุษย์ไม่ได้กระทำ แบ่งเป็น 2 แนวคิดคือ สังคมนิยมตามแนวคิดมาร์กซึ่งเชื่อว่ามนุษย์กระทำขึ้น และสังคมนิยมตามแนวคิดของกลุ่มนีโอมาร์กซิสต์ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงตามกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติ

แนวคิดสังคมนิยมเสรี

ภายหลังการปฏิบัติการอุตสาหกรรม มีผลต่อการขยายตัวของประชากร เกิดสังคมเมือง เกิดชนชั้นใหม่คือนายทุน กรรมกรดำรงชีพด้วยความทุกข์ยาก เกิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม และการก่อตัวของลัทธิสังคมนิยม

แนวคิดสังคมนิยมเสรี แบ่งเป็น 2 แนวคิดคือ ลัทธิสังคมนิยมประชาธิปไตย และลัทธิอนาธิปัตย์นิยม ทั้ง 2 ลัทธิจะเน้นการร่วมมือระหว่างชนชั้นมากกว่าการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ต้องการระบบเศรษฐกิจการเมืองที่มีทั้งความสามารถและความเป็นเสรี

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรมมีผลต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศยุโรปภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม ประชากรมีการขยายตัว เกิดสังคมเมือง เกิดชนชั้นใหม่คือนายทุน การดำรงชีพที่ทุกข์ยากของกรรมกร เกิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม และการก่อตัวของลัทธิสังคมนิยม

หลักและแนวคิดสังคมนิยมเสรี
หลักและแนวคิดสังคมนิยมเสรีที่สำคัญคือเน้นความร่วมมือระหว่างชนชั้นมากกว่าการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ต้องการระบบเศรษฐกิจการเมืองที่มีทั้งความเสมอภาคและความเป็นเสรี

» การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ

» การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ

» ระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง

» ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์

» การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง

» การก้าวไปสู่ระบบทุนนิยม

» ชนชั้นกระฎุมพีกับสังคมศักดินา

» การปฏิวัติอุตสาหกรรม

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมระหว่างสงครามโลก

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

» วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาหลังทศวรรษ 1960

» วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกหลังทศวรรษ 1970

» ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว

» การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสู่สมัยใหม่ในเอเชีย

» แนวคิดก่อนคลาสสิก

» สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชนิยม

» แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม

» แนวคิดธรรมชาตินิยม

» แนวคิดคลาสสิกของอดัม สมิธ

» แนวคิดคลาสสิกของโรเบิร์ท มัลธัส

» แนวคิดของเดวิด ริคาร์โด

» แนวคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์

» แนวคิดสังคมนิยม

» แนวคิดสังคมนิยมแบบมาร์ก

» แนวคิดนีโอคลาสสิก

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักโลซาน

» เศรษฐศาสตร์ของพาเรโต

» แนวคิดของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบัน

» ประวัติแนวคิดและนักคิดการเงินนิยม

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน

» แนวคิดสำนักพึ่งพา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย