สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
แนวคิดคลาสสิกของอดัม สมิธ
สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 ทำให้เกิดแนวคิดเสรีนิยม แนวคิดทางปรัชญาการเมืองและสังคมของ อดัม สมิธ เป็นพื้นฐานและประยุกต์เข้ากับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในแง่ของการส่งเสริมการแข่งขันเสรี การแบ่งงานกันทำก่อให้เกิดความมั่งคั่งของประเทศ การค้าระหว่างประเทศ ซึ่งการแบ่งงานกันทำระหว่างประเทศ จำทำให้สวัสดิการทางเศรษฐกิจของโลกดีขึ้น
ถ้ามีการแข่งขันอย่างเสรมูลค่าของสิ่งของจะเท่ากัน ต้นทุนการผลิตและปัจจัยการผลิตจะได้รับผลตอบแทนเท่ากันในทุกอาชีพ แนวคิดของ อดัม สมิธ ยังคงมีอิทธิพลอยู่แม้ในปัจจุบัน เช่น แนวคิดเรื่องความมั่งคั่งของประเทศ การแข่งขันเสรี และการคลัง
สภาพเศรษฐกิจสังคมที่ทำให้เกิดแนวคิดคลาสสิก
การเติบโตของการค้าและเมือง แนวคิดมนุษย์นิยมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มีส่วนทำให้เกิดแนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก แนวคิดหลักของเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก คือ แนวคิดเกี่ยวกับประโยชน์ส่วนตัว ทฤษฎีมูลค่า ทฤษฎีการกระจายรายได้ และกฎของเซย์
กำเนิดแนวคิดคลาสสิก
ปัจจัยที่มีส่วนก่อให้เกิดแนวคิดสำนักคลาสสิก
ปัจจัยที่สำคัญได้แก่ การเจริญเติบโตของการค้าและเมือง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
และแนวคิดมนุษยนิยม
แนวคิดหลักของสำนักคลาสสิก
แนวคิดหลักของเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิกคือ แนวคิดเกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว
ทฤษฎีมูลค่า ทฤษฏีค่าจ้าง การสะสมทุน ทฤษฎีค่าเช่าและการลดน้อยถอยลงของผลได้
ทฤษฎีกำไร และกฏของเซย์
ประวัติ ผลงาน และปรัชญา ทางสังคมและการเมืองของ อดัม สมิธ
อดัม สมิธ ได้รับการศึกษาสูง ทั้งยังได้มีโอกาสพบกับนักคิดที่มีชื่อเสียงหลายคนและหลายประเทศ จนทำให้เขาเขียนผลงานที่ดีคือ The Wealth of Nations ออกมาได้ อดัม สมิธ เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนทำอะไรก็เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว
ประวัติและผลงานของ อดัม สมิธ
แนวคิดเศรษฐกิจเสรีนิยมได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในช่วงหลังของศตวรรษที่ 18
การที่แนวคิดของ อดัม สมิธได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ก็เพราะสิ่งแวดล้อมในขณะนั้น
กล่าวคือ ความเจริญเติบโตของการค้า การประดิษฐ์ เครื่องมือ เครื่องจักร
ซึ่งทำให้ประชาชนมีความกินดีอยู่ดีขึ้น
ทำให้คนในสังคมมีความเชื่อว่าทุกคนมีความสามารถที่จะดูแลผลประโยชน์ของตนเองได้ดีกว่าคนอื่น
ปรัชญาทางสังคมและการเมืองของ อดัม สมิธ
ความคิดของ อดัม สมิธ
เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัวและบทบาทของรัฐ อาจไม่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน
เพราะความแตกต่างทั้งทางสังคมและทางเศรษฐกิจ ของสมาชิกในสังคมหลายสังคม
นำไปสู่ความขัดแย้งในด้านผลประโยชน์ จนผลประโยชน์ส่วนตัวไม่สามารถทำงานได้
และรัฐบาลจำเป็นต้องมีบทบาทมากขึ้นในฐานะเป็นผู้ประสานผลประโยชน์
และคุ้มครองผู้ที่อ่อนแอกว่า
แนวคิดด้านความมั่งคั่งของประเทศ การคลังของรัฐ
และการค้าระหว่างประเทศของ อดัม สมิธ
การแบ่งงานกันและสัดส่วนระหว่างจำนวนแรงงานที่ถูกใช้ ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความมั่งคั่งของประเทศ รัฐบาลต้องนำรายได้เพื่อนำมาใช้จ่าย ในการทำหน้าที่ของรัฐบาล แหล่งรายได้ที่สำคัญของรัฐบาลคือภาษี จึงต้องมีหลักในการจัดเก็บภาษีที่เหมาะสม การค้าระหว่างประเทศ คือการแบ่งงานกันทำระหว่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ประเทศคู่ค้าได้รับประโยชน์
ความมั่งคั่งของประเทศในทรรศนะของ อดัม สมิธ
ประโยชน์และข้อจำกัดของการแบ่งงานกันทำ การแบ่งงานกันทำช่วยประหยัดเวลา
ทำงานได้มากและช่วยให้มีการประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงไว้ใช้ แต่การแบ่งงานกันทำ
จะถูกจำกัดโดยตลาดและทุน
การคลังของรัฐในทรรศนะของ อดัม สมิธ
อดัม สมิธ มีความเห็นว่าควรจะเก็บภาษีจากค่าเช่ามากกว่าเก็บจากกำไรหรือค่าจ้าง
เพราะเจ้าของที่ดินอยู่ในฐานะที่จะเสียภาษีได้ เนื่องจากมีรายได้มาก
และเป็นภาษีที่ไม่สามารถผลักภาระภาษีไปให้แก่ผู้อื่น
โดยเฉพาะผู้บริโภคเหมือนในกรณีเก็บจากกำไรและค่าจ้าง
ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศของ อดัม สมิธ
ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ คือการแบ่งงานกันทำระหว่างประเทศ
ทำให้แต่ละประเทศได้รับประโยชน์มากขึ้น แม้ว่าปัจจัยการผลิตเท่าเดิม
เมื่อแต่ละประเทศผลิตสินค้าที่ตนถนัด
คือใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ผลิตสินค้าที่ใช้ต้นทุนต่ำที่สุดก็จะผลิตสินค้านั้นได้มาก
แล้วนำไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าของประเทศอื่นก็จะทำให้ได้สินค้ามากกว่าในกรณีที่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ผลิตสินค้าทุกชนิดเอง
แนวคิดเรื่องทฤษฎีมูลค่า และทฤษฎีการกระจายรายได้ของ อดัม สมิธ
- ต้นทุนการผลิตประกอบด้วยค่าจ้าง กำไร และค่าเช่า เป็นตัวกำหนดมูลค่าของสิ่งของในระยะยาว
- ค่าจ้างในระยะยาวของแรงงานจะเท่ากับค่าจ้างในระดับพอยังชีพ
- กำไรในระยะยาวมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากประเทศมีการสะสมทุนมากขึ้น
- ค่าเช่าเป็นผลตอบแทนหรือกำไรที่เกิดจากการผลิตบนที่ดิน และถูกกำหนดโดยราคาของผลิตผลบนที่ดินนั้น
ทฤษฎีมูลค่าของ อดัม สมิธ
ทฤษฎีมูลค่าเชิงแรงงานของ อดัม สมิธ
มีความเกี่ยวข้องกับทฤษฎีมูลค่าเชิงต้นทุนการผลิต ทฤษฎีมูลค่าเชิงแรงงาน
จำนวนแรงงานที่ใช้ในการผลิตเป็นตัวกำหนดมูลค่าของสิ่งของ
และในกรณีนี้แสดงว่าค่าจ้างเป็นเพียงต้นทุนการผลิตแต่เพียงอย่างเดียว
คำอธิบายนี้ใช้ได้ในกรณีที่สังคมยังไม่เจริญ เทคนิคในการผลิตต่ำ
แรงงานจึงเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญอย่างเดียว
ทฤษฎีค่าจ้างของ อดัม สมิธ
ทฤษฎีกองทุนค่าจ้างมีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตหรือความมั่งคั่งของประเทศ
กองทุนค่าจ้างเกิดจากการสะสมทุนของนายทุน และมีอุปสงค์ต่อแรงงาน
ดังนั้นยิ่งมีกองทุนค่าจ้างมากก็มีความต้องการแรงงานมาก ค่าจ้างจะมีแนวโน้มสูงขึ้น
และเมื่อมีการจ้างแรงงานมากก็จะทำให้สามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้น
ทำให้เกิดการเจริญเติบโตและความมั่งคั่งของประเทศ
ทฤษฎีกำไรของ อดัม สมิธ
กำไรเป็นค่าตอบแทนต่อการใช้ทุน
และต่อการเสี่ยงของนายทุน ในระยะยาวแล้วกำไรจะมีแนวโน้มลดลง ถ้ากำไรมีแนวโน้มลดลง
ระบบเศรษฐกิจจะเผชิญกับภาวะการชะงักงันคือไม่มีการลงทุนเพิ่มขึ้น ทางแก้ก็คือ
จะต้องหาทางปรับปรุงความรู้ในด้านการผลิตหรือส่งทุนไปต่างประเทศเพื่อให้กำไรสูงขึ้น
ทฤษฎีค่าเช่าของ อดัม สมิธ
ในทรรศนะของ อดัม สมิธ
ค่าเช่าคือผลตอบแทนต่อค่าใช้ที่ดินที่ผู้เช่าต้องจ่ายให้แก่เจ้าของที่ดินหลังจากหักค่าใช้จ่ายในการผลิตแล้ว
ค่าเช่าจึงถูกกำหนดโดยปริมาณและราคาของผลผลิตในที่ดิน
ตลอดจนความอุดมสมบูรณ์และทำเลของที่ดิน
วิจารณ์แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของ อดัม สมิธ
บทบาทและอิทธิพลของแนงคิดทางเศรษฐศาสตร์ของ อดัม สมิธ ที่สำคัญคือ แนวคิดเกี่ยวกับการแข่งขันเสรี ตลอดจนการวางรากฐานเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของวิชาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งได้แก่การเจริญเติมโตของประเทศ ทฤษฎีมูลค่า ทฤษฎีการกระจายรายได้ และทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ
จุดอ่อนของแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของ อดัม สมิธ มีอยู่หลายประการ แต่ที่สำคัญคือ กรให้ความสำคัญต่อการวิเคราะห์ด้านอุปทานมากเกินไป
บทบาทและอิทธิพลแนวคิดของ อดัม สมิธ
แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของ อดัม
สมิธ มิใช่แนวคิดใหม่ ดังนั้น สมิธจึงมิได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนา
แนวคิดหรือทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์
แม้ว่าสมิธจะสร้างทฤษฎีของเขาจากแนวคิดเศรษฐศาสตร์ที่มีอยู่ก่อนหน้าเขา
แต่เขามีส่วนอย่างมากในการพัฒนาแนวคิดที่มีอยู่เดิมให้ชัดเจนและเป็นระบบยิ่งขึ้น
ซ้ำยังก่อให้เกิดประเด็นปัญหาซึ่งนำไปสู่แนวคิดใหม่ต่อไป เช่น
ทฤษฎีมูลค่าของสมิธได้อธิบายถึงการปรับตัวของอุปสงค์และอุปทาน
จนในที่สุดมูลค่าของสิ่งของจะเท่ากับต้นทุนการผลิต
แต่การที่สมิธไม่ให้ความสำคัญต่ออุปสงค์ในการกำหนดราคา
ซึ่งทำให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่ม
ซึ่งแนวคิดนี้ได้ถูกนำไปใช้ในการสร้างทฤษฎีอุปสงค์
จุดอ่อนของแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของ อดัม สมิธ
จุดอ่อนอันหนึ่งของแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของสมิธคือการให้ความสำคัญต่อด้านอุปทานมากเกินไปนั้น
อดัม สมิธ ให้ความสำคัญต่อด้านอุปทานมากเกินไปนั้น
จะเห็นได้จากทฤษฎีสำคัญหลายทฤษฎีของเขา เช่นทฤษฎีมูลค่า
ซึ่งอธิบายว่าต้นทุนการผลิตเป็นตัวกำหนดมูลค่าของสิ่งของ
โดยมิได้ให้ความสำคัญต่ออุปสงค์ หรือทฤษฎีค่าจ้าง
ซึ่งอธิบายว่าค่าจ้างจะถูกกำหนดโดยค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตของแรงงาน
» การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
» การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ
» การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง
» ชนชั้นกระฎุมพีกับสังคมศักดินา
» สภาพเศรษฐกิจและสังคมระหว่างสงครามโลก
» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1
» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
» วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาหลังทศวรรษ 1960
» วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกหลังทศวรรษ 1970
» ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว
» การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสู่สมัยใหม่ในเอเชีย
» สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชนิยม
» แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม
» แนวคิดคลาสสิกของโรเบิร์ท มัลธัส
» แนวคิดของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์