สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ลัทธิเศรษฐกิจ

สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1

         การเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในหลายประเทศ ทำให้ประเทศเหล่านั้นหาทางเอาตัวรอด มีการแข่งขันกันล่าอาณานิคมการกีดกันทางการค้า การเสาะแสวงหาแหล่งวัตถุดิบที่มีราคาถูกและการหาตลาดเพื่อขายสินค้าที่ผลิตได้ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างประเทศขึ้น จนในที่สุดเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในเวลาต่อมา

สงครางโลกครั้งที่ 1 ทำให้เกิดผลเสียหายอย่างมากทางเศรษฐกิจแก่ประเทศที่แพ้และที่ชนะสงคราม ทำให้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน และทรัพยากรของประเทศไปเป็นจำนวนมาก เกิดปัญหาความยากจนและปัญหาสังคมที่ติดตามมาหลายประการ

วิกฤตการณ์ทางเศราฐกิจของประเทศตะวันตกก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1
การเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งยิ่งใหญ่ในอังกฤษและประเทศตะวันตกอื่น ๆ และการชิงดีชิงเด่นทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศเหล่านั้น ถือได้ว่าเป็นสาเหตุสำคัญก่อให้เกิดวิกฤ6การณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศตะวันตก

ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสงครามโลกครั้งที่ 1
ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้แก่ ความเสียหายทางทรัพย์สิน กำลังคน กำลังการผลิต ทรัพยากร ผลกระทบทางสังคม ได้แก่ทางด้านจิตใจ ภาวะการว่างงานและการเปลี่ยนแปลงทางด้านความรู้สึก

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1

การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดจากสาเหตุสำคัญที่ได้รับความช่วยเหลือจากบางประเทศ และความก้าวหน้าทางด้านต่างๆ

การเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดจากหลายสาเหตุที่สำคัญได้แก่การที่ประชาชนขาดกำลังซื้อ การจำกัดสินเชื่อของสถาบันการเงิน การที่ระดับราคาพืชผลโดยทั่วไปได้ลดต่ำลง และความยุ่งยากทางการเงินของสหรัฐอเมริกา

การแก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้แก่ การลดค่าเงินตรา และการเข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจของรัฐบาล

การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้หลายประเทศสามารถฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้แก่
(1) ความช่วยเหลือจากบางประเทศที่ไม่ได้รับผลเสียหายจากสงคราม
(2) ความก้าวหน้าในการผลิตของภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ
(3) ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี

การเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งยิ่งใหญ่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มีดังนี้ คือ

(1) ประชาชนขาดกำลังซื้อ ทำให้ธุรกิจไม่สามารถขยายการลงทุนได้
(2) สถาบันการเงินได้จำกัดสินเชื่อ ทำให้การลงทุนชะงักงัน
(3) ระดับราคาพืชผลโดยทั่วไปได้ลดต่ำลง ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่มีความเดือดร้อน มีหนี้สินมากและไม่สามารถบริโภคสินค้าได้มากพอ
(4) ความยุ่งยากทางการเงินของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ มาก

การแก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
วิธีการแก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศต่าง ๆ ได้แก่ การใช้มาตรการทางการคลังในรูปของเงินช่วยเหลือ การให้กู้ยืมแก่กิจการต่าง ๆ การจัดตั้งหน่วยงานเพื่อช่วยเหลือ การให้กู้ยืมเงินแก่กิจการต่าง ๆ การจัดตั้งหน่วยงานเพื่อช่วยเหลือคนว่างงาน การช่วยเหลือเกษตรกรจากภาวะราคาพืชผลตกต่ำ การลดค่าเงินตราเพื่อให้ราคาสินค้าออกถูกลง ราคาสินค้าเข้าแพงขึ้น การที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น เช่น มีการวางแผนเศรษฐกิจในหลายประเทศ มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจขึ้นในประเทศฝรั่งเศส

» การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ

» การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ

» ระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง

» ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์

» การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง

» การก้าวไปสู่ระบบทุนนิยม

» ชนชั้นกระฎุมพีกับสังคมศักดินา

» การปฏิวัติอุตสาหกรรม

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมระหว่างสงครามโลก

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

» วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาหลังทศวรรษ 1960

» วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกหลังทศวรรษ 1970

» ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว

» การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสู่สมัยใหม่ในเอเชีย

» แนวคิดก่อนคลาสสิก

» สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชนิยม

» แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม

» แนวคิดธรรมชาตินิยม

» แนวคิดคลาสสิกของอดัม สมิธ

» แนวคิดคลาสสิกของโรเบิร์ท มัลธัส

» แนวคิดของเดวิด ริคาร์โด

» แนวคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์

» แนวคิดสังคมนิยม

» แนวคิดสังคมนิยมแบบมาร์ก

» แนวคิดนีโอคลาสสิก

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักโลซาน

» เศรษฐศาสตร์ของพาเรโต

» แนวคิดของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบัน

» ประวัติแนวคิดและนักคิดการเงินนิยม

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน

» แนวคิดสำนักพึ่งพา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย