สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ลัทธิเศรษฐกิจ

สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชยนิยม

       สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคม ในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชนิยมนิยม ประชากรมีอาชีพการเกษตรเป็นหลัก การอุตสาหกรรมและการค้ามีบ้าง ระยะนี้มีการฟื้นฟูศิลปวิทยา และเป็นการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ มีการพัฒนาเรือเดินสมุทร ความเชื่อในทางศาสนาเปลี่ยนไปในลักษณะที่มุ่งให้สะสมความมั่งคั่ง ปัจจัยที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาการค้าแดนไกลในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชนิยมยนิยมคือ มนุษย์สามารถต่อเรือเดินสมุทร การค้นพบเส้นทางการเดินเรือ และการค้นพบดินแดนใหม่

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแนวคิดพาณิชยนิยม
เหตุใดนักพาณิชยนิยมจึงสนับสนุนให้ประเทศมีดุลการค้าเกินดุล ทองคำและโลหะเงินไหลเข้าประเทศ นักพาณิชยนิยม เปรียบเทียบประเทศกับบุคคล ต้องการมีดุลการค้าเกินดุล ทองคำและโลหะเงินไหลเข้าประเทศ ทำให้มีการว่าจ้างทำงานเพิ่ม พัฒนาสังคมได้ดีขึ้น ประเทศมีความเข้มแข็งในทางการเมือง และประชาชนอยู่ดีกินดีขึ้น

นโยบาย สถาบัน และทฤษฎีต่างๆ ของนักพาณิชยนิยม
นโยบายด้านต่าง ๆ ของนักพาณิชยนิยมมีดังนี้

  • นโยบายด้านการค้า นักพาณิชยนิยมมีแนวคิดว่าการค้ากับต่างประเทศเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ประเทศรุ่งเรือง โดยยึดหลักการทำการค้าเกินดุล
  • นโยบายด้านการเกษตร มีนโยบายที่จะให้ประชาชนมีอาหารเลี้ยงตัวเองได้โดยไม่ต้องหวังพึ่งต่างประเทศ
  • นโยบายด้านอุตสาหกรรม มีนโยบายที่จะให้มีการผลิตเพื่อเลี้ยงตังเองได้ หากมีเหลือที่จะส่งออกไปขายยังต่างประเทศ

ลักษณะของพาณิชยนิยมในประเทศต่างๆ
แนวคิดเกี่ยวกับการค้าของประเทศอังกฤษก็คือ การค้าขายในดินแดนอาณานิคม สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศ ก็ให้ความคุ้มครองโดยตั้งอัตราภาษีศุลกากรในอัตราสูง

ประเทศฝรั่งเศสมุ่งเน้นผลิตสินค้าและบริการเป็นสำคัญ ส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการให้เงินอุดหนุน ยกเว้นภาษีอากร ให้สิทธิผูกขาด ให้เงินกู้และสิทธิบัตรแก่อุตสาหกรรมต่าง ๆ

ประเทศฮอลันดามุ่งส่งเสริมการค้า มีการค้าขายกับอินเดียและการลักลอบทำการค้ากับอาณานิคมของสเปน ประเทศสเปนทำการค้ากับอาณานิคมโดยผ่านเมืองท่าเรือ ผู้ที่จะทำการค้าได้จะต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติสเปนโดยกำเนิด

ประเทศโปรตุเกส ทำการค้ากับอาณานิคม โดยรัฐจะควบคุมการค้าโดยสินค้าออกจะต้องมีมูลค่ามากกว่าสินค้าเข้า

การเสื่อมสลายของแนวคิดพาณิชยนิยม
สาเหตุที่แนวคิดพาณิชยนิยมเริ่มเสื่อมสลายไป ก็เนื่องมาจากการแพร่ขยายแนวคิดที่สำคัญ 2 แนวคิด คือ

  1. แนวคิดทฤษฎีการเคลื่อนไหวของทองคำซึ่งอธิบายว่า การมีดุลการค้าเกินดุลไม่อาจรักษาได้นาน เพราะถ้าประเทศใดมีดุลการค้าเกินดุล ปริมาณเงินจะเพิ่มขึ้น ค่าจ้างและราคาสินค้าจะสูงขึ้น ทำให้ประเทศอื่นไม่สามารถซื้อสินค้าได้ หรือถ้าซื้อได้ก็ต่อเมื่อมีการลดค่าของเงิน
     
  2. แนวคิดทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ ที่อธิบายว่าการค้าระหว่างประเทศควรเกิดประโยชน์แก่ประเทศคู่ค้าทั้งสองฝ่าย กล่าวคือ ประเทศใดผลิตได้โดยต้นทุนต่ำกว่าต่างประเทศควรจะผลิตสินค้าส่งออก และซื้อสินค้าเข้าประเภทที่ผลิตโดยใช้ต้นทุนสูงกว่าต่างประเทศ

นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์ยุคนั้น เริ่มสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีแนวคิดพาณิชยนิยมจึงเริ่มเสื่อมสลายไป

» การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ

» การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ

» ระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง

» ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์

» การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง

» การก้าวไปสู่ระบบทุนนิยม

» ชนชั้นกระฎุมพีกับสังคมศักดินา

» การปฏิวัติอุตสาหกรรม

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมระหว่างสงครามโลก

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

» วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาหลังทศวรรษ 1960

» วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกหลังทศวรรษ 1970

» ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว

» การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสู่สมัยใหม่ในเอเชีย

» แนวคิดก่อนคลาสสิก

» สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชนิยม

» แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม

» แนวคิดธรรมชาตินิยม

» แนวคิดคลาสสิกของอดัม สมิธ

» แนวคิดคลาสสิกของโรเบิร์ท มัลธัส

» แนวคิดของเดวิด ริคาร์โด

» แนวคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์

» แนวคิดสังคมนิยม

» แนวคิดสังคมนิยมแบบมาร์ก

» แนวคิดนีโอคลาสสิก

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักโลซาน

» เศรษฐศาสตร์ของพาเรโต

» แนวคิดของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบัน

» ประวัติแนวคิดและนักคิดการเงินนิยม

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน

» แนวคิดสำนักพึ่งพา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย