สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ลัทธิเศรษฐกิจ

สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

      ปัญหาความไม่สมดุลของการมีทรัพยากรของแต่ละประเทศ การขาดแคลนวัตถุดิบของบางประเทศ ตลอดจนความต้องการที่จะหาแหล่งป้อนวัตถุดิบและแหล่งระบายสินค้า ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศจนทำให้เกิดเป็นชนวนของสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น

ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสงครามโลกครั้งที่ 2 มีมากมาย ได้แก่ การเสียชีวิตของทหารและพลเรือน โรงงานอุตสาหกรรมและบ้านเรือนถูกทำลายไป การขาดแคลนสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน ความอดอยากหิวโหย การเกิดปัญหาเงินเฟ้อ และการว่างงานในเวลาต่อมา

วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในสงครามโลกครั้งที่ 2
ปัญหาเศรษฐกิจที่สำคัญ ที่นำไปสู่การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ ความไม่สมดุลของการมีทรัพยากร การขาดแคลนวัตถุดิบ ตลอดจนความต้องการที่จะหาแหล่งป้อนวัตถุดิบและแหล่งระบายสินค้า สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศจนทำให้เกิดเป็นชนวนของสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น

ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสงครามโลกครั้งที่ 2

ผลทางเศรษฐกิจที่เกิดจากสงครามโลกครั้งที่ 2 มี

  1. การสูญเสียชีวิตทำให้แรงงานลดลง
  2. การสูญเสียแหล่งผลิตต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากร
  3. การเกิดภาวะเงินเฟ้อทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ

ภาวะเงินเฟ้อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ คือ มีผลกระทบต่อผู้บริโภค ผู้ผลิต คนงาน ผู้มีเงินเดือนประจำ และมีผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศมากเพราะระดับราคาสินค้าสูงเกินไป ทำให้ประชาชนไม่สามารถจะหาซื้อสินค้าที่ต้องการได้ ทำให้สินค้าออกมีราคาสูง และอาจไม่เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศได้

ค่าปฏิกรรมสงครามมีผลทางเศรษฐกิจต่อประเทศที่ต้องจ่ายคือ ค่าปฏิกรรมสงครามทำให้ต้องเร่งรัดการผลิต ซึ่งถ้าไม่มากเกินไปย่อมเป็นผลดีเพราะช่วยเพิ่มงาน เพิ่มการผลิต ถ้าต้องจ่ายในปริมาณมาก อาจเกิดภาวะเงินเฟ้อ ทำให้ประเทศยากจนและเศรษฐกิจซบเซาได้

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ประเทศที่ได้รับความเสียหายอย่างมากจากสงครามได้มีการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ โดยมีการปรับตัวจนฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้นมาก มีการเพิ่มขึ้นทั้งรายได้ประชาชาติ ผลิตผลและเงินทุน และฐานะทางด้านตุลาการชำระเงินก็ดีขึ้นจากเดิมมาก

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการจัดตั้งสถาบันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศขึ้นหลายแห่ง เพื่อร่วมมือช่วยเหลือระหว่างประเทศสมาชิก และขจัดปัญหาอุปสรรคทางการค้าและความแตกต่างทางด้านอัตราภาษีศุลกากร

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในประเทศต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่การโอนกิจการของเอกชนมาเป็นของรัฐในหลายๆประเทศ การศึกษาค้นคว้าทางวิทยาการเทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จในด้านผลผลิต

การฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
การฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศที่ได้รับความเสียหายจากสงครามมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลิตผลเพิ่มขึ้น มีการใช้นโยบาย การบังคับให้ออม ทำให้ทุนเพิ่มขึ้น มีการปรับปรุงมูลค่าของเงินตราใหม่ เพื่อแก้ไขการขาดแคลนดุลการชำระเงินของประเทศ และมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายจากการแสวงหาอาณานิคม หรือการล่าเมืองขึ้นมาเป็นการแสวงหามิตรประเทศ โดยการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจตลอดจนการพัฒนาในด้านต่าง ๆ

การกำเนิดสถาบันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
สถาบันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ก่อตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งยุโรป [OEEC] เพื่อทำหน้าที่ประมาณการเกี่ยวกับความต้องการต่าง ๆ เป็นแหล่งรวบรวม และเป็นหน่วยวางแผนเศรษฐกิจระดับประเทศสำหรับประเทศสมาชิก และเป็นที่จัดสรรแบ่งปันความช่วยเหลือของประเทศสหรัฐอเมริกา ให้แก่ประเทศสมาชิกต่างๆ องค์การค้าระหว่างประเทศ [ITO] ทำหน้าที่ในการขจัดสิ่งกีดขวางทางการค้าระหว่างประเทศ สหพันธ์การชำระเงินแห่งทวีปยุโรป [EPU] ทำหน้าที่จัดโควตาสำหรับประเทศสมาชิกในการชำระหนี้ระหว่างประเทศ สมาคมเหล็กกล้าและถ่านหินแห่งยุโรป เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเหล็กกล้าและถ่านหินสำหรับประเทศสมาชิก ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป [EEC] หรือตลาดร่วมยุโรป สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป [EFTA] ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลดอัตราภาษีศุลกากร และการร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในประเทศต่างๆ
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ของประเทศต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ การโอนกิจการของเอกชนมาเป็นของรัฐในหลาย ๆ ประเทศ การศึกษาค้นคว้าทางวิทยาการ เทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ประสพความสำเร็จในด้านการผลิตในหลาย ๆ ประเทศ

» การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ

» การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ

» ระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง

» ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์

» การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง

» การก้าวไปสู่ระบบทุนนิยม

» ชนชั้นกระฎุมพีกับสังคมศักดินา

» การปฏิวัติอุตสาหกรรม

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมระหว่างสงครามโลก

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

» วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาหลังทศวรรษ 1960

» วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกหลังทศวรรษ 1970

» ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว

» การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสู่สมัยใหม่ในเอเชีย

» แนวคิดก่อนคลาสสิก

» สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชนิยม

» แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม

» แนวคิดธรรมชาตินิยม

» แนวคิดคลาสสิกของอดัม สมิธ

» แนวคิดคลาสสิกของโรเบิร์ท มัลธัส

» แนวคิดของเดวิด ริคาร์โด

» แนวคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์

» แนวคิดสังคมนิยม

» แนวคิดสังคมนิยมแบบมาร์ก

» แนวคิดนีโอคลาสสิก

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักโลซาน

» เศรษฐศาสตร์ของพาเรโต

» แนวคิดของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบัน

» ประวัติแนวคิดและนักคิดการเงินนิยม

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน

» แนวคิดสำนักพึ่งพา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย