สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ลัทธิเศรษฐกิจ

แนวคิดสังคมนิยมแบบมาร์ก

      ลัทธิเศรษฐกิจการเมืองของมาร์กมีปรัชญาพื้นฐานวัตถุนิยมไดอาเลคติคของฮาเกล และการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์แบบวัตถุนิยมซึ่งแยกออกเป็น 3 ส่วน คือพลังการผลิต ความสัมพันธ์ในการผลิต และโครงสร้างส่วนบน มาร์กมีแนวคิดสังคมนิยมในลักษณะที่ว่า การต่อสู้ระหว่างชนชั้นจะนำไปสู่ระบบเผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ และในระยะยาวจะเป็นสังคมที่ปราศจากชนชั้น

มาร์กเกิดเมื่อ ค.ศ. 1818 ที่ประเทศเยอรมนี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเยนา สมรสกับเจนนี ฟอน เวสฟาเลน ผลงานของมาร์กมีมากมาย ที่สำคัญคือคำประกาศของคอมมิวนิสต์ (Communist manifesto) และ ทุน (Das Kapital) มาร์กถึงแก่กรรมที่ประเทศอังกฤษเมื่อ ค.ศ. 1883

ทฤษฎีมูลค่าส่วนเกินของมาร์ก มีพื้นฐานแนวความคิดมาจากการที่มาร์กเห็นนายจ้างจ่ายค่าจ้างน้อยกว่าความสามารถที่แรงงานผลิตได้ ดังนั้น จึงก่อให้เกิดส่วนเกิน ในทรรศนะของมาร์ก นายทุนควรจ่ายให้แรงงานทั้งค่าจ้าง (V) และส่วนเกิน (S) แต่นายจ้างจ่ายเพียงค่าจ้าง (V) ส่วนเกิน (S) จึงเป็นของนายทุน

ทฤษฎีการว่าจ้างทำงานของมาร์กมีสาระสำคัญคือ มาร์กเห็นว่าอุปทานของแรงงานค่อนข้างคงที่ ขณะที่ อุปสงค์ของแรงงานขึ้นอยู่กับทุนหมุนเวียนคือค่าจ้าง (V) แต่ค่าจ้าง (V) จะเพิ่มขึ้นในอัตราลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว อุปสงค์ของแรงงานจึงเพิ่มขึ้นในอัตราลดลงเรื่อย ๆ และอย่างรวดเร็ว การว่างงานจึงเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ถ้าแรงงานกองหนุนมีน้อยหรือไม่มีเลยอัตราค่าจ้างจะเพิ่มขึ้นในระยะแรก และถ้าแรงงานกองหนุนเพิ่มขึ้น อัตราค่าจ้างจะลดลงสู่ระดับพอยังชีพ

การเกิดวัฎจักรธุรกิจในทรรศนะของมาร์กเกิดขึ้นเนื่องจากการลงทุนไม่สมดุลกับการออม อุปสงค์รวมจึงไม่เท่ากับอุปทานรวม ประกอบกับความยากจนของแรงงานจึงทำให้บริโภคน้อยวัฎจักรธุรกิจจึงเกิดขึ้น

การผลิตมีการเปลี่ยนไปสู่การผลิตขนาดใหญ่ นายทุนขนาดเล็กย่อมสู้ไม่ได้ จำนวนนายทุนก็ลดลง การผูกขาดมีมากขึ้น นายทุนขนาดใหญ่มีฐานะร่ำรวยขึ้น ซึ่งแตกต่างจากแรงงานมากขึ้น แรงงานก็จะถูกกดดันให้เกิดการปฏิวัติสู่สังคมนิยม

แนวคิดของมาร์กมีคุณูปการต่อนักคิดและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์อย่างมากมาย แต่เนื่องจากมาร์กใช้วิธีวิเคราะห์โดยประวัติศาสตร์ ดังนั้นคำพยากรณ์บางเรื่องจึงไม่ได้เกิดขึ้นตามคำทำนายของมาร์ก

หลักและแนวคิดสังคมนิยมแบบมาร์ก
มาร์กมีหลักและแนวคิดสังคมนิยม มาร์กวิเคราะห์โดยวิเคราะห์ประวัติศาสตร์แบบวัตถุนิยม ซึ่งแยกออกเป็น 3 ส่วน คือ พลังการผลิต ความสัมพันธ์ในการผลิต และโครงสร้างส่วนบน เมื่อความสัมพันธ์ในการผลิตเปลี่ยนแปลงไป พลังการผลิตและโครงสร้างส่วนบนก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย มาร์กคิดว่าชนชั้นกรรมาชีพจะเกิดการขัดแย้งกับนายทุนและต่อสู้กันจึงจะทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมนิยม และในระยะยาวจะเป็นสังคมที่ปราศจากชนชั้น

ประวัติและผลงานของมาร์ก
ความเห็นของมาร์กในเรื่องการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจจากทุนนิยมเป็นสังคมนิยม การต่อสู้ระหว่างชนชั้น คือ นายทุนกับแรงงานเข้มข้นเข้าทุกที นายทุนอ่อนแอลง แรงงานมีมากขึ้น เข้มแข็งขึ้น แรงงานจึงปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจเป็นสังคมนิยม

ทฤษฎีมูลค่าส่วนเกินและการเอารัดเอาเปรียบ
ในแนวความคิดมาร์กเห็นว่ามูลค่าส่วนเกินเกิดขึ้น เพราะนายจ้างจ่ายค่าจ้างน้อยเกินไป นายทุนควรจ่ายให้แรงงานทั้ง V และ S แต่จ่ายเพียง V ดังนั้น S จึงเป็นของนายทุน

  • C = ต้นทุนคงที่ คือวัตถุดิบและเครื่องจักรเครื่องมือที่ใช้ในการผลิต
  • V = ต้นทุนหมุนเวียนหรือทุนหมุนเวียน ซึ่งเป็นเงินสำรองสำหรับจ่ายค่าจ้าง
  • S = ส่วนเกินในการผลิต ได้กำไร ดอกเบี้ย และค่าเช่าที่ดินเป็นส่วนต่าง ๆ ที่ได้รับจากการจัดสรรไปยังนายทุนนั่นเอง
  • C/V =องค์ประกอบอินทรีย์ของทุน S/V = อัตราการขูดรีด S/(C+V) = อัตรากำไร

ทฤษฎีการว่าจ้างทำงาน
การสะสมทุนของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงเรื่อย ๆ ก็เพราะว่าอัตราการเอารัดเอาเปรียบเพิ่ม อัตราส่วนระหว่างทุนสองชนิดเพิ่ม อัตรากำไรลดลง การสะสมทุนจึงเพิ่มในอัตราที่ลดลงด้วย

วัฎจักรธุรกิจ
มาร์กแบ่งการระบบเศรษฐกิจออกเป็น 3 ภาค คือ ภาคการผลิตสินค้าทุน ภาคการผลิตสินค้าบริโภคสำหรับแรงงาน และภาคการผลิตสินค้าบริโภคสำหรับทุน ในแนวความคิดของมาร์ก วัฏจักรธุรกิจเกิดขึ้นเนื่องจากการลงทุนกับการออมไม่สมดุลกัน จึงทำให้อุปสงค์รวมไม่เท่ากับอุปทานรวม นอกจากนี้ ความยากจนของแรงงานยังทำให้เกิดการบริโภคน้อย ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดวัฏจักรธุรกิจได้

การผูกขาดในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมกับการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบสังคมนิยม
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบทุนนิยม เมื่อระบบเศรษบกิจมีการผลิตขนาดใหญ่ นายทุนขนาดย่อมก็จะปิดกิจการ จำนวนนายทุนจึงน้อยลง การผูกขาดจึงมีมากขึ้น ฐานะนายทุนร่ำรวยขึ้น แรงงานเจ็บช้ำในจิตรใจมากขึ้น จึงทำให้มาร์กเชื่อว่า จะปฏิวัติไปสู่สังคมนิยม

วิจารย์แนวคิดของมาร์ก
แนวคิดของมาร์กเกี่ยวกับทฤษฎีมูลค่าส่วนเกินและการเอารัดเอาเปรียบ ตามทฤษฎีมูลค่าส่วนเกินและการเอารัดเอาเปรียบ มาร์กเห็นว่า ส่วนเกิน (S) เกิดขึ้น เพราะมีการจ่ายค่าจ้างน้อยไป ทั้ง V และ S ควรเป็นของแรงงาน แต่นายจ้างจ่ายเพียงค่า V การที่นายทุนหักส่วนเกิน (S) ไว้ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งของการต่อสู้ระหว่างชนชั้น มาร์กพยากรณ์ว่า ปัญหาการว่างงานจะมากขึ้น ช่องว่างระหว่างนายทุนและแรงงานจะมากขึ้นทุกที การผูกขาดของนายทุนจะมีแนวโน้มสูงขึ้น คำพยากรณ์ของมาร์กดังกล่าวเมื่อเทียบกับแนวโน้มต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงในโลกนี้ มิได้เป็นไปตามคำพยากรณ์ของ มาร์ก กล่าวคือ ประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้า แรงงานมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การว่างงานก็มิได้มากขึ้น ช่องว่างระหว่างนายทุนกับแรงงานก็มิได้มากขึ้น การผูกขาดของนายทุนแม้มีจริงแต่เป็นการผูกขาดโดยบริษัทมหาชนขนาดใหญ่ที่มีผู้ถือหุ้นมาก ประเทศที่มีการปฏิวัติสังคมนิยมกลับกลายเป็นประเทศทุนนิยมที่ล้าหลัง มิใช่ประเทศทุนนิยมที่ก้าวหน้าสุกงอม

» การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ

» การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ

» ระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง

» ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์

» การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง

» การก้าวไปสู่ระบบทุนนิยม

» ชนชั้นกระฎุมพีกับสังคมศักดินา

» การปฏิวัติอุตสาหกรรม

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมระหว่างสงครามโลก

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

» วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาหลังทศวรรษ 1960

» วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกหลังทศวรรษ 1970

» ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว

» การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสู่สมัยใหม่ในเอเชีย

» แนวคิดก่อนคลาสสิก

» สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชนิยม

» แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม

» แนวคิดธรรมชาตินิยม

» แนวคิดคลาสสิกของอดัม สมิธ

» แนวคิดคลาสสิกของโรเบิร์ท มัลธัส

» แนวคิดของเดวิด ริคาร์โด

» แนวคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์

» แนวคิดสังคมนิยม

» แนวคิดสังคมนิยมแบบมาร์ก

» แนวคิดนีโอคลาสสิก

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักโลซาน

» เศรษฐศาสตร์ของพาเรโต

» แนวคิดของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบัน

» ประวัติแนวคิดและนักคิดการเงินนิยม

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน

» แนวคิดสำนักพึ่งพา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย