สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ชนชั้นกระฎุมพีกับสังคมศักดินา
ชนชั้นกระฎุมพี ได้แก่อิสสระชน อาทิเช่น พ่อค้า ช่างฝีมือที่อยู่ในเมือง ในระยะแรกชนชั้นกระฎุมพียังไม่มี อิสสระเพราะต้องขึ้นต่อชนชั้นศักดินา ต่อมาคือเมื่อการค้าขยายตัว จึงสถาปนาเป็นชนชั้นอิสสระได้
การเปลี่ยนแปลงของสถาบันทางสังคม เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของระบบทุนนิยม
การก่อตัวของระบบทุนนิยมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสถาบันทางสังคม อาทิเช่น
การปฏิรูปกฏหมาย
ในระบบศักดินาที่มีลักษณะล้าหลังไปสู่กฏหมายที่เอื้ออำนวยต่อการค้าขายและการลงทุน
เมือง อุตสาหกรรม และสมาคมช่างฝีมือ
การผลิตในยุโรปได้มีการแบ่งแยกกันเด็ดขาดระหว่างเมืองกับชนบท เมืองกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าและอุตสากรรมโดยเฉพาะ ในขณะที่ชนบทผลิตแต่เพียงอาหารและวัตถุดิบ ชาวเมืองจะได้รับการปกป้องผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ
กิจกรรมทางเศรษบกิจที่แสดงลักษณะจำเพาะของเมืองและวิวัฒนาการเข้าสู่ระบบทุนนิยม คือการผลิตทาง อุตสาหกรรม สมาคมช่างฝีมือ มีหน้าที่ในการคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ผลิตและผู้บริโภค
สมาคมช่างฝีมือ เป็นองค์กรของผู้ผลิตทางอุตสาหกรรมเพื่อสร้างอำนาจผูกขาดขึ้น และพยายามเข้าควบคุมอำนาจทางการเมืองให้พ้นจากอิทธิพลของเจ้านายในระบบศักดินา นับได้ว่าสมาคมช่างฝีมือเป็นจุดเริ่มต้นของระบบทุนนิยมและเป็นองค์กรที่ทำลายอิทธิพลของระบบศักดินาในยุโรป
ฐานะทางเศรษฐกิจของเมือง
อุตสาหกรรมของเมือง
เศรษฐกิจของเมืองที่มีการแบ่งแยกการผลิตอย่างเด็ดขาดกับชนบท
เมืองกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าและ อุตสาหกรรม
โดยเฉพาะในขณะที่ชนบทผลิตแต่อาหารและวัตถุดิบ
ชาวเมืองจะได้รับการปกป้องผลประโยชน์ในรูป ต่าง ๆ
และกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แสดงลักษณะเฉพาะของเมือง คือ การผลิตทางอุตสาหกรรม
สมาคมช่างฝีมือ
สมาคมช่างฝีมือ เป็นองค์การของผู้ผลิตทางอุตสาหกรรม
เพื่อสร้างอำนาจผูกขาด โดยคุ้มครองผลประโยชน์ทางธุรกิจ
คือกันการเข้ามาของคู่แข่งขันหน้าใหม่
วิกฤตการณ์และการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบทุนนิยม
ปัจจัยที่มีผลต่อวิกฤตการณ์การเข้าสู่ระบบทุนนิยมในช่วงศตวรรษที่ 14 คือ การค้าระหว่างประเทศชะลอตัว การสำรวจทางทะเลหยุดกับที่ การเพิ่มของประชากรหยุดชะงัก ธนาคารหลายแห่งล้มละลาย ผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลง
การผูกขาดของพวกช่างฝีมือทำให้อุตสาหกรรมเติบโตขึ้น ขอบข่ายการผลิตเพื่อการค้าขยายออกไปยังเมืองใกล้เคียง ขณะเดียวกันสมาคมช่างฝีมือก็มีบทบาทในการควบคุมผู้ปกครองเมืองด้วย และเพื่อรักษาอัตรากำไรไม่ให้ลดลง พวกอุตสาหกรรมได้ขยายตลาดไปยังโพ้นทะเลเพื่อให้ได้วัตถุดิบที่มีราคาถูก และตลาดที่กว้างกว่า
ภัยพิบัติและความวุ่นวาย
ปัจจัยที่มีผลต่อวิกฤตการณ์เข้าสู่ระบบทุนนิยมในช่วงศตวรรษที่ 14 คือ
การเพิ่มขึ้นของประชากรหยุดชะงัก ธนาคารหลายแห่งล้มละลาย
การค้าระหว่างประเทศและผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมชะลอตัว
การผูกขาดของช่างฝีมือ และการเติบโตของทุนนิยม
พ่อค้าร่ำรวยในเมืองได้หลีกเลี่ยงระเบียบการควบคุมของเมืองโดยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับพ่อค้าต่างเมือง
ตั้งบริษัทการค้า สาขาตัวแทน และโรงงานในส่วนต่าง ๆ ของยุโรป ซึ่งเป็นคนต่างชาติ
ทำให้ไม่ต้องถูกบังคับด้วยกฏระเบียบที่เคร่งครัดที่ใช้กับพ่อค้าในเมือง
» การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
» การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ
» การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง
» ชนชั้นกระฎุมพีกับสังคมศักดินา
» สภาพเศรษฐกิจและสังคมระหว่างสงครามโลก
» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1
» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
» วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาหลังทศวรรษ 1960
» วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกหลังทศวรรษ 1970
» ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว
» การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสู่สมัยใหม่ในเอเชีย
» สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชนิยม
» แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม
» แนวคิดคลาสสิกของโรเบิร์ท มัลธัส
» แนวคิดของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์