สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ลัทธิเศรษฐกิจ

การก้าวไปสู่ระบบทุนนิยม

      การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางการผลิตในภาคเกษตรกรรมในช่วงปลายสมัยกลางที่สำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางการผลิต ระหว่างชนชั้นเจ้าของที่ดินกับไพร่ติดที่ดินในระบบแมนเนอร์ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบทุนนิยมมากขึ้นในรูปของ มีการใช้แรงงานรับจ้างเพื่อการผลิตสู่ตลาด การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร และการขยายตัวของเมืองและการค้า

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในช่วงปลายสมัยกลางก่อให้เกิดชุมชนเมือง และเมืองทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าโดยเฉพาะเมืองท่า มีการก่อตัวของชนชั้นกระฎุมพี ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงของสถาบันทางสังคมเพื่อรองรับการขยายตัวของระบบทุนนิยม

เศรษฐกิจของเมือง มีความสำคัญมากขึ้นตามลำดับนับแต่ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา เศรษฐกิจมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับชนบท ชนชั้นกระฎุมพี การผลิตในระบบโรงงาน ผู้ปกครองและสมาคมช่างฝีมือ

การวิเคราะห์ความวุ่นวายก่อนการเข้าสู่ระบบทุนนิยม คือ การค้าระหว่างประเทศชะลอตัวลง การเพิ่มประชากรหยุดชะงัก

การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางการผลิตภาคเกษตรกรรมในช่วงปลายสมัยกลาง

การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตตลอดจนเป็นการเพิ่มอุปทานของแรงงานซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางการผลิต

การเติบโตของเมืองและการค้า นับตั้งแต่ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 10 เป็นเหตุให้อุปสงค์ต่อแรงงานรับจ้างขยายตัวตามมา จำนวนแรงงานรับจ้างในเมืองเพิ่มขึ้น และ / หรือจำนวนแรงงานในแมนเนอร์ลดลง

การขยายตัวของแรงงานรับจ้างในเมือง เกิดจากการเคลื่อนย้ายเข้าสู่เมืองของชาวนา ซึ่งมีแรงดึงดูดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิต เช่น การจัดองค์กรการผลิตแบบตลาด การทำหน้าที่ในการโยกย้ายการผลิต เป็นต้น

การเพิ่มประชากรกับโครงสร้างแบบแมนเนอร์
การเพิ่มขึ้นของประชากรมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจทั้งในแง่ อุปสงค์ และอุปทาน ในแง่อุปสงค์ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นเพิ่มแรงกดดันต่อการเพิ่มผลผลิต และก็เพิ่มอุปทานของแรงงานด้วย

การใช้แรงงานรับจ้างกับความสัมพันธ์ในระบบแมนเนอร์
การเจริญเติบโตของเมืองและกาค้านับตั้งแต่ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 10 มีผลทำให้อุปสงค์ต่อแรงงานรับจ้างขยายตัวตามมา จำนวนแรงงานรับจ้างในเมืองเพิ่มขึ้นและ/หรือจำนวนแรงงานในแมนเนอร์ลดลง

การขยายตัวของแรงงานรับจ้างในเมือง
การเจริญเติบโตของเมืองและการค้านับตั้งแต่ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 10 มีผลทำให้อุปสงค์ต่อแรงงานรับจ้างขยายตัวตามมา จำนวนแรงงานรับจ้างในเมืองเพิ่มขึ้นและ / หรือจำนวนแรงงานในแมนเนอร์ลดลง

การก่อตัวทางการค้า การเปลี่ยนแปลงทางสถาบันทางสังคม และชนชั้นกระฎุมพี

การขยายตัวของการค้ามีผลให้เกิดเมืองใหญ่ โดยเฉพาะเมืองต่างๆ และบทบาทของเมืองเริ่มเปลี่ยนแปลงจากการเป็นศูนย์กลางทางการปกครองและการศาสนากลายเป็นศูนย์กลางทางการค้า

การเจริญเติบโตของชนชั้นกระฎุมพี ซึ่งเป็นเสรีชนเป็นภาพสะท้อนของการเจริญเติบโตในระบบทุนนิยม ในระยะแรกชนชั้นกระฎุมพียังไม่มีความเป็นอิสสระเพราะต้องขึ้นอยู่กับชนชั้นศักดินา

การเติบโตทางการค้าของระบบทุนนิยม มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสถาบันทางสังคม อาทิเช่น การปฏิรูปกฏหมายในระบบศักดินาที่มีลักษณะล้าหลังไปสู่กฏหมายที่เอื้ออำนวยต่อการค้าและลงทุน

การฟื้นตัวทางการค้ากับการเกิดเมืองใหม่และอุตสาหกรรม
การขยายตัวของการค้ามีผลให้เกิดเมืองใหม่และเมืองท่าที่สำคัญ บทบาทของเมืองได้เปลี่ยนจากการเป็นศูนย์กลางทางการศาสนาและการปกครองกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าและเศรษฐกิจ

» การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ

» การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ

» ระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง

» ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์

» การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง

» การก้าวไปสู่ระบบทุนนิยม

» ชนชั้นกระฎุมพีกับสังคมศักดินา

» การปฏิวัติอุตสาหกรรม

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมระหว่างสงครามโลก

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

» วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาหลังทศวรรษ 1960

» วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกหลังทศวรรษ 1970

» ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว

» การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสู่สมัยใหม่ในเอเชีย

» แนวคิดก่อนคลาสสิก

» สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชนิยม

» แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม

» แนวคิดธรรมชาตินิยม

» แนวคิดคลาสสิกของอดัม สมิธ

» แนวคิดคลาสสิกของโรเบิร์ท มัลธัส

» แนวคิดของเดวิด ริคาร์โด

» แนวคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์

» แนวคิดสังคมนิยม

» แนวคิดสังคมนิยมแบบมาร์ก

» แนวคิดนีโอคลาสสิก

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักโลซาน

» เศรษฐศาสตร์ของพาเรโต

» แนวคิดของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบัน

» ประวัติแนวคิดและนักคิดการเงินนิยม

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน

» แนวคิดสำนักพึ่งพา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย