สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ลัทธิเศรษฐกิจ

แนวคิดก่อนคลาสสิก

แนวคิดพาณิชยนิยมคือ การที่ประเทศจะรุ่งเรืองได้นั้น จะต้องมีการค้ากับต่างประเทศและมุ่งหวังการทำการค้าแบบเกินดุล เพื่อให้ทองคำและเงินไหลเข้าประเทศ แนวคิดพาณิชยนิยมเริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 จนกระทั่งกลางศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มเสื่อมสลายเพราะมีแนวคิดทฤษฎีอื่นมาโจมตี

แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม ซึ่งมีนักคิดที่สำคัญ 2 ท่าน คือ เพตตี และแคนทิลลอน ได้ให้แนวคิดพื้นฐานเศรษฐศาสตร์จุลภาค ได้แก่ ทฤษฎีมูลค่า ราคา ค่าเช่า

นักธรรมชาตินิยมมีแนวคิดพื้นฐานเศรษฐกิจในลักษณะระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะดำเนินไปตามตารางเศรษฐกิจ การผลิตได้เน้นความสำคัญของการผลิตด้านเกษตรกรรมซึ่งจะมีผลผลิตสุทธิและการจัดเก็บภาษีของรัฐบาล นักธรรมชาตินิยมเสนอให้จัดเก็บภาษีเดี่ยวจากขุนนาง

แนวคิดพาณิชยนิยม

ในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชนิยมนิยมยนิยม ประชากรมีอาชีพการเกษตรเป็นหลักแต่เริ่มการผลิตเพื่อตลาด การอุตสาหกรรมและการค้าเริ่มมีบ้าง ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ได้เริ่มขึ้นหลังจากมีการฟื้นฟูศิลปวิทยา จึงทำให้การพัฒนาการเดินเรือสมุทรและการค้าแดนไกล ประกอบกับความเชื่อทางศาสนาเปลี่ยนไปในลักษณะที่สนับสนุนการออมเพื่อการลงทุน และการสะสมความมั่งคั่งไม่เป็นบาป สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมดังกล่าวทำให้การค้าในยุคนั้นเจริญได้อย่างต่อเนื่อง

แนวคิดพาณิชยนิยมเป็นแนวคิดที่มุ่งสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจ ของประเทศให้เข้มแข็งโดยมุ่งเน้นให้ประเทศมีส่วนเกินจากการส่งออก และกีดกันสินค้าเข้าด้วยอากรศุลกากรและโควตาต่างๆ และมุ่งหวังการทำการค้ากับต่างประเทศแบบเกินดุล

นักพาณิชยนิยมมีนโยบายที่สำคัญหลายด้าน นโยบายที่สำคัญที่จะทำให้ประเทศรุ่งเรืองก็คือ นโยบายการค้า นโยบายด้านการเกษตร นโยบายด้านการอุตสาหกรรม นโยบายด้านการคลังสาธารณะ นโยบายด้านการคมนาคม นโยบายเกี่ยวกับอาณานิคม

ลัทธิพาณิชยนิยมในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลันดา สเปน และโปรตุเกส ต่างก็มุ่งส่งเสริมการค้าโดยมีวิธีสนับสนุนอุตสาหกรรมที่แตกต่าง

แนวคิดพาณิชยนิยมเริ่มเสื่อมสลาย ก็เพราะว่ามีดุลการค้าเกินดุลไม่อาจรักษาไว้ได้นาน ประเทศที่มีดุลการค้าเกินดุลอาจจำเป็นต้องลดค่าเงิน และแนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีการค้า ระหว่างประเทศซึ่งจะให้ประโยชน์กับประเทศคู่ค้า ประกอบกับการสนับสนุนแนวคิดระบบเศรษฐกิจแบบเสรี จึงทำให้แนวคิดของนักพาณิชยนิยมเริ่มเสื่อมสลายไป

» การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ

» การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ

» ระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง

» ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์

» การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง

» การก้าวไปสู่ระบบทุนนิยม

» ชนชั้นกระฎุมพีกับสังคมศักดินา

» การปฏิวัติอุตสาหกรรม

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมระหว่างสงครามโลก

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

» วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาหลังทศวรรษ 1960

» วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกหลังทศวรรษ 1970

» ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว

» การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสู่สมัยใหม่ในเอเชีย

» แนวคิดก่อนคลาสสิก

» สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชนิยม

» แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม

» แนวคิดธรรมชาตินิยม

» แนวคิดคลาสสิกของอดัม สมิธ

» แนวคิดคลาสสิกของโรเบิร์ท มัลธัส

» แนวคิดของเดวิด ริคาร์โด

» แนวคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์

» แนวคิดสังคมนิยม

» แนวคิดสังคมนิยมแบบมาร์ก

» แนวคิดนีโอคลาสสิก

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักโลซาน

» เศรษฐศาสตร์ของพาเรโต

» แนวคิดของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบัน

» ประวัติแนวคิดและนักคิดการเงินนิยม

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน

» แนวคิดสำนักพึ่งพา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย