สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ประวัติแนวคิดและนักคิดการเงินนิยม
แนวคิดการเงินนิยม
ได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดของทฤษฎีปริมาณเงินของ วาลราส นิวคอม และฟิชเชอร์
ซึ่งเชื่อว่าระบบเศรษฐกิจหรือระบบตลาดค่อนข้างจะมีเสถียรภาพและถ้าระบบตลาดเป็นระบบแข่งขัน
และบทบาทรัฐมีขอบเขตจำกัดในการแทรกแซงระบบเศรษฐกิจ
ปริมาณเงินจะมีหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คือมีการจ้างงานเต็มที่
ภาวะดุลการชำระเงิน ระดับราคามีเสถียรภาพ
สาระสำคัญของแนวคิดการเงินนิยม
หลักการสำคัญของแนวคิดการเงินนิยม คือ
- ปริมาณเงินเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการกำหนดรายได้ประชาชาติที่เป็นตัวเงิน ถ้าหากปริมาณเงินเพิ่มขึ้นจะส่งให้ระดับรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น
- ในระยะยาว ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นด้วยปัจจัยอื่นที่ไม่ใช่ทางด้านการเงิน เช่น ความขยันในการทำงาน เทคโนโลยี
- การเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยในทางกลับกันระยะสั้น แต่จะเป็นทิศทางเดียวกันในระยะยาว
- ปรากฏการณ์เงินเฟ้อไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากที่ใดจะต้องสืบเนื่องมาจากการเงินเสมอ
- ปริมาณเงินหมายถึง เงินในความหมายกว้าง หรือ M2
- รายได้ตามทรรศนะของการเงินนิยมเป็นรายได้ระยะยาว ซึ่งเป็นรายได้ที่บุคคลคาดว่าตนจะได้รับตลอดชีวิต
ข้อวิจารย์ทฤษฎีการเงินนิยมของฟรีดแมน
ทฤษฎีการเงินของฟรีดแมนที่สำคัญ คือ ฟรีดแมนเน้นบทบาทของปริมาณเงินที่มีต่อระบบเศรษฐกิจมากเกิน ไป อาทิเช่น เงินเฟ้อ เกิดจากการเพิ่มปริมาณเงินเสมอ ที่จริงแล้วอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สาเหตุทางด้านการเงิน เช่น เกิดจากโครงสร้างของระบบตลาดที่เกิดจากการผูกขาด เกิดจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีข้อวิจารณ์ที่สำคัญคือ ปริมาณเงินเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะ ฟรีดแมนใช้ปริมาณเงินมีผลให้การทดสอบสมมุติฐานว่า ความต้องการในการถือเงินจะมีความยืดหยุ่นต่อรายได้ที่แท้จริงมีค่าสูงถึง 1.8 หรือมีค่าสูงกว่าที่ควรจะเป็นนั่นเอง
» การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
» การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ
» การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง
» ชนชั้นกระฎุมพีกับสังคมศักดินา
» สภาพเศรษฐกิจและสังคมระหว่างสงครามโลก
» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1
» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
» วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาหลังทศวรรษ 1960
» วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกหลังทศวรรษ 1970
» ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว
» การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสู่สมัยใหม่ในเอเชีย
» สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชนิยม
» แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม
» แนวคิดคลาสสิกของโรเบิร์ท มัลธัส
» แนวคิดของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์