สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
สภาพเศรษฐกิจและสังคมระหว่างสงครามโลก
การเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้หลายประเทศแข่งขันกันล่าอาณานิคม มีการกีดกันทางการค้า และการเสาะแสวงหาแหล่งวัตถุดิบและตลาด เพื่อระบายสินค้าทำให้เกิดกรณีพิพาทขึ้น จนทำให้เป็นชนวนของสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างมากทางเศรษบกิจและปัญหาทางสังคมที่ติดตามมา
การเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มาจากหลายสาเหตุ ที่สำคัญได้แก่ การขาดกำลังซื้อ การจำกัดสินเชื่อ การที่ระดับราคาสินค้าพืชผลโดยทั่วไปลดต่ำลง และความยุ่งยากทางการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งรัฐบาลได้เข้าแทรกแซงเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
ปัญหาความไม่สมดุลของการมีทรัพยากร การขาดแคลนวัตถุดิบและแหล่งตลาดสำหรับสินค้าของบางประเทศ ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ จนเป็นชนวนให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างมากแก้ประเทศทั้งที่ชนะและแพ้สงคราม โดยเฉพาะการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หลายประเทศได้ฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น มีการก่อตั้งองค์การหรือสถาบันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศขึ้นหลายแห่ง และมีการโอนกิจการของเอกชนมาเป็นของรัฐในหลายๆประเทศ มีการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาการเทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ช่วยให้หลายประเทศประสบความสำเร็จในด้านการผลิต
» การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
» การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ
» การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง
» ชนชั้นกระฎุมพีกับสังคมศักดินา
» สภาพเศรษฐกิจและสังคมระหว่างสงครามโลก
» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1
» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
» วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาหลังทศวรรษ 1960
» วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกหลังทศวรรษ 1970
» ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว
» การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสู่สมัยใหม่ในเอเชีย
» สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชนิยม
» แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม
» แนวคิดคลาสสิกของโรเบิร์ท มัลธัส
» แนวคิดของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์