สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ลัทธิเศรษฐกิจ

ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว

         ประเทศสหรัฐอเมริกาพัฒนามาจากประเทศอาณานิคมจนเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจภายใต้ระบบทุนนิยม เริ่มเปลี่ยนจากประเทศเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรมก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และได้เป็นผู้นำทาง อุตสาหกรรมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ประเทศสหภาพโซเวียตรุสเซียพัฒนามาจากประเทศเกษตรกรรมในระบบศักดินาค่อนข้างล้าหลังต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นระบบสังคมนิยมภายใต้เศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลางจนถึงการล่มสลายไปในปี ค.ศ. 1991


สหรัฐอเมริกา

อเมริกาในสมัยอาณานิคม ต้องดำเนินการทางเศรษฐกิจเพื่อผลประโยชน์ของเมืองแม่ ดำเนินการเกษตรและอุตสาหกรรมเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบ และเป็นตลาดสินค้าอุตสาหกรรมของเมืองแม่

หลังสงครามกลางเมืองเป็นช่วงที่อัตราความเจริญทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างรวดเร็วทั้งด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ต่อมามีปัญหาด้านแรงงานและการรวมตัวกันทางธุรกิจจนทำให้เกิดสหภาพแรงงาน และกฏหมายต่อต้านการผูกขาดขึ้น

หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปลาย ค.ศ. 1929 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งยิ่งใหญ่ รัฐบาลได้ใช้นโยบายการดำเนินการแบบใหม่เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจน้อยกว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 เนื่องจากมีการเตรียมการที่ดีกว่า นอกจากนี้อเมริกาได้ให้เงินช่วยเหลือแก่ต่างประเทศเป็นจำนวนมากภายใต้โครงการมาร์แชลและหน่วยงานต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติ

สภาพเศรษฐกิจสมันอาณานิคมจนถึงสมันสงครามกลางเมือง ประเทศสหรัฐอเมริกา
ลักษณะทั่วไปของการเกษตรในสมัยอาณานิคม ส่วนมากเป็นการผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเอง โดยใช้เครื่องมือที่นำมาจากยุโรป และความรู้ที่ได้จากอินเดียนแดง ปลูกข้าว ข้าวโพด ยาสูบ ถั่ว แตงโม มีการผลิตเพื่อการค้าบ้างทางไต ทำการปลูกข้าว ยาสูบและคราม

ข้อแตกต่างระหว่างการค้าต่างประเทศของอาณานิคมตอนไต้กับอาณานิคมนิวอิงแลนด์ คือ ทางไต้ - ซื้อขายแลกเปลี่ยนกับอังกฤษ นิวอิงแลนด์ - ทำการค้ากับหลายประเทศ กับยุโรปตอนไต้และอาณานิคมอื่น ๆ และดำเนินการทางด้านการขนส่งสินค้า

หลักการสำคัญของ พ.ร.บ. ต่างๆ เป็น กฎหมาย ที่อังกฤษเรียกเก็บภาษีจากอาณานิคมอเมริกา

  • พ.ร.บ. น้ำตาล - เก็บภาษีเพิ่มขึ้นจาก น้ำตาล ผ้าลินิน ไวน์ และอื่น ๆ
  • พ.ร.บ. แสตมป์ - เก็บจากเอกสารต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์
  • พ.ร.บ. - เทาน์เซนด์ เก็บภาษีขาเข้าจากแก้ว สี กระดาษ และชา

สาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายเหนือและฝ่ายไต้ คือ ความรู้สึกเป็นชาติ และเหตุผลทางเศรษฐกิจที่ถูกเอาเปรียบจากประเทศอังกฤษ ผลของสงครามกลางเมืองทำให้ ระบบทาสถูกทำลายไป เกิดเงินเฟ้อ และมีการพัฒนาอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมขนานใหญ่

สภาพเศรษฐกิจหลังสงครามกลางเมืองจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1
พัฒนาการของเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมของอเมริการะหว่างหลังสงครามกลางเมืองจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการใช้เทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม อเมรกาในช่วงนี้ได้เปลี่ยนจากชาติเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม สำหรับเกษตรกรรมที่มีปัญหาเรื่องราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และควบคุมการผลิตสินค้าได้ยาก จึงได้มีความเคลื่อนไหวเป็นองค์การต่างๆ เพื่อเรียกร้องทางเศรษฐกิจ

การรวมกลุ่มของธุรกิจมีผลดี คือ ทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหาร ต้นทุนต่อหน่วยต่ำ ลดการแข่งขันลงได้ และสามารถให้เงินอุดหนุนวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้น ส่วนผลเสียได้แก่ การผูกขาดอาจทำให้ราคาสูงขึ้น เกิดการแข่งขันที่ไม่ยุติธรรม บริษัทใหญ่ทำลายบริษัทเล็ก การเก็งกำไรโดยการปั่นหุ้น

ความเคลื่อนไหวของกรรมกรในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการรวมตัวกันเรียกร้องเรื่อง ค่าจ้างแรงงาน ชั่วโมงการทำงาน สวัสดิการ และสภาพการทำงาน ตัวอย่างเช่น สหภาพแรงงานแห่งชาติ อัศวินแรงงาน สหพันธ์แรงงานอเมริกัน

เศรษฐกิจสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงทศวรรษ 1980
สาเหตุของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เพราะรายได้เกษตรกรต่ำลง การลงทุนน้อยลง ความต้องการสินค้าและบริการมีน้อยลง นโยบายนิวดีน เป็นนโยบายที่รัฐบาลเข้าไปมีบทบาทในทางเศรษฐกิจมากขึ้น ทั้งในด้านการเกษตรกรรม การอุตสาหกรรม การเงินและการธนาคาร การสร้างงาน การประกันสังคม หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งยิ่งใหญ่ เนื่องจากเกิดปัญหาในการปรับตัวของเศรษฐกิจภายหลังสงคราม ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดภาวะเงินเฟ้อแต่ไม่รุนแรงนัก

สหภาพโซเวียตรุสเซีย

สภาพเศรษฐกิจในสมัยแรกเริ่มส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรม ซึ่งการผลิตค่อนข้างล้าหลังและการจัดระบบเศรษฐกิจเป็นรัฐทรราชย์ตะวันออก มีซาร์เป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมดในรัสเซียทำให้ชาวนาเป็นไพร่ของรัฐ แต่ในทางปฏิบัติ ชุมชนชาวนาจะเป็นผู้ครอบครองที่ดินและแบ่งปันให้ชาวนาไปใช้ประโยชน์

ใน ค.ศ. 1861 ได้มีการประกาศเลิกทาส และประเทศพัฒนาด้านอุตสาหกรรมทำให้เกิดชนชั้นนายทุน และชนชั้นแรงงานในขณะเดียวกันความคิดเสรีนิยมเริ่มแพร่หลายในหมู่ประชาชน ภายหลังสงครมโลกครั้งที่ 1 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและเงินเฟ้อ ทำให้ชนชั้นชาวนาและกรรมกรอดหยาก ก่อการจราจลเนืองๆ ในที่สุดได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบทุนนิยมเป็นสังคมนิยมใน ค.ศ. 1917

ภายหลังการปฏิวัติบอลเชวิค ปลาย ค.ศ. 1917 รัฐบาลโซเวียตโดยพรรคบอลเชวิคเป็นพรรคที่มีเสียงข้างมาก ซึ่งมีเลนินเป็นผู้นำ ได้มีมาตรการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ นโยบายสงครามคอมมิวนิสต์ และนโยบายเศรษฐกิจใหม่

นโยบายสงครามคอมมิวนิสต์ เป็นนโยบายที่ยกเลิกกรรมสิทธิ์ต่างๆของเอกชนส่วนใหญ่มาเป็นของรัฐ และบังคับเกณฑ์เอาผลิตผลส่วนเกินทางการเกษตรจากชาวนามาเป็นของรัฐ และแบ่งผลิตผลอุตสาหกรรมของรัฐไปให้แก่ ชาวนา ยกเลิกระบบเงินตราหันไปใช้วิธีปันส่วนจากรัฐบาล ส่วนนโยบายเศรษฐกิจใหม่ เป็นนโยบายที่ยอมรับการดำเนินของระบบตลาดเข้ามาประยุกต์ใช้กับระบบสังคมนิยม หันมาใช้ระบบเงินตรา และได้ยินยอมให้เอกชนมีโอกาสเป็นเจ้าของโรงงานขนาดเล็ก

สหภาพโซเวียตรุสเซียได้เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ ค.ศ. 1928 โดยมีแผน 5 ปี ฉบับที่ 1 ถึงฉบับที่ 6 แผนฉบับที่ 7 มีระยะเวลา 7 ปี และต่อมาได้มีแผน 5 ปี จนถึงแผน 5 ปีฉบับที่ 11 ซึ่งมีระยะเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1981-1985

แผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปี ฉบับแรกๆ เน้นความสำคัญของอุตสาหกรรมหนักเพื่อปูทางสำหรับการพัฒนา อุตสาหกรรม ฉบับหลังๆ ได้เน้นถึงอุตสาหกรรมประเภทอุปโภคและบริโภคมากขึ้นเพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของประชาชน

ใน ค.ศ. 1985 ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจใหม่ในยุดของกอรณบาชอฟเรียกว่าการปฏิรูปเปเรสตรอยกา ต่อมาใน ค.ศ. 1991 ได้มีการประกาศยกเลิกสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการและได้เริ่มต้นเครือจักรภพรัฐอิสระภายใต้การนำของเยลด์ซิน โดยมีการปฏิรูปไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด

สภาพเศรษฐกิจทั่วไปก่อนการปฏิวัติ
ลักษณะของการเกษตรกรรมของรุสเซียก่อนการปฏิวัติ ใช้ระบบนา 3 ทุ่ง แบบยุโรปตะวันตก และการเพราะปลูกใช้วิธีการล้าหลังอยู่ ไม่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ หลักการของพรรคการเมืองที่นิยมในความคิดของมาร์ก ได้แก่พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย มีความเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงในระบบทุนนิยมมาเป็นสังคมนิยมนั้นจะต้องมีการปฏิวัติระบบนายทุนโดยชนชั้นกรรมมาชีพ แต่ต่อมาได้แยกออกเป็น เมนเชวิค และบอลเชวิค

การเปลี่ยนผ่านสู่ ระบบสังคมนิยม
นโยบายสงครามคอมมิวนิสต์ เน้นการบังคับเอาผลิตผลจากชาวนา ในขณะที่นโยบายเศรษฐกิจใหม่ยอมให้มีระบบตลาด และหันไปใช้วิธีเก็บภาษีจากผลิตผลแทน เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเมื่อมีการใช้นโยบายเศรษฐกิจใหม่ ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น แต่ทำให้ราคาผลิตผลเกษตรกรรมลดลง ในขณะที่ราคาผลิตผลอุตสาหกรรมสูงขึ้น และท้ายที่สุดนำไปสู่วิกฤตการณ์กรรไกร

เศรษฐกิจภายใต้การวางแผน
การใช้ระบบนารวมในสหภาพโซเวียต เป็นการจัดระบบเกษตรกรรมเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการผลิตสูงขึ้น ใช้เครื่องมือเครื่องจักรในการผลิตมากขึ้น โดยทำการรวมนาให้เป็นที่ดินผืนใหญ่ ซึ่งแแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ นารวม และ นารัฐ นารวมได้แก่ การรวมนาเล็ก ๆ เข้าด้วยกันในรูปสหกรณ์ ส่วนนารัฐได้แก่ นาที่รัฐเป็นเจ้าของและดำเนินงานโดยตรง

การบุกเบิกที่ดินที่ไม่เคยนำมาใช้ในการเพราะปลูก มีขึ้นในสมัยครุสชอฟ เพื่อที่จะเพิ่มผลิตผลทางการเกษตร แต่ไม่ได้ผลมากนัก เพราะที่ดินแห้งแล้ง ขาดการชลประทาน ไม่เหมาะแก่การเพราะปลูก จึงได้ผลิตผลที่ตกต่ำ

หลักการของ ลิเบอร์มาน ใช้ระบบคำนวณเงินโบนัสตามกำไรแทนความรวดเร็วในการส่งมอบการผลิต และใช้หลักกำไรวัดประสิทธิภาพในการประกอบการ การดำเนินงานตามแผนเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่ประสบความสำเร็จสูงที่สุดในการพัฒนาอุตสาหกรรม คือแผนเศรษฐกิจ 5 ปี ฉบับที่ 2

» การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ

» การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ

» ระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง

» ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์

» การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง

» การก้าวไปสู่ระบบทุนนิยม

» ชนชั้นกระฎุมพีกับสังคมศักดินา

» การปฏิวัติอุตสาหกรรม

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมระหว่างสงครามโลก

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

» วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาหลังทศวรรษ 1960

» วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกหลังทศวรรษ 1970

» ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว

» การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสู่สมัยใหม่ในเอเชีย

» แนวคิดก่อนคลาสสิก

» สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชนิยม

» แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม

» แนวคิดธรรมชาตินิยม

» แนวคิดคลาสสิกของอดัม สมิธ

» แนวคิดคลาสสิกของโรเบิร์ท มัลธัส

» แนวคิดของเดวิด ริคาร์โด

» แนวคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์

» แนวคิดสังคมนิยม

» แนวคิดสังคมนิยมแบบมาร์ก

» แนวคิดนีโอคลาสสิก

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักโลซาน

» เศรษฐศาสตร์ของพาเรโต

» แนวคิดของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบัน

» ประวัติแนวคิดและนักคิดการเงินนิยม

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน

» แนวคิดสำนักพึ่งพา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย