สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ
ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจหมายถึง การศึกษาความเป็นมาของแนวคิด หรือหลักการทั้งหมดที่บรรดานักคิดทางเศรษฐศาสตร์ได้คิดขึ้นมา เพื่อใช้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอันใดอันหนึ่ง หรือเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติแก่การผลิต การบริโภค การแลกเปลี่ยน และการแจกจ่ายแบ่งปันแห่งผลผลิตที่สังคมผลิตขึ้นมาได้ นอกจากนี้การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจจะช่วยชี้ให้เห็นว่าทฤษฎีเศรษฐศาสตร์นั้นมีการเคลื่อนไหว และเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และยังมีส่วนทำให้เข้าใจแนวคิดหรือทฤษฎีที่มีอยู่ในปัจจุบันดียิ่งขึ้น
ประวัติลัทธิเศรษฐกิจ เป็นการศึกษาถึงบทบาท ความจำเริญก้าวหน้าของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญ ตลอดจนบรรดาทฤษฎีและข้อเสนอทางนโยบายของแต่ละ "สำนักคิด" และคุณูปการที่สำคัญของนักคิดแต่ละคนภายใต้บริบทของสำนักเศรษฐกิจ ขณะที่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จะเน้นที่การสร้างเครื่องมือและเทคนิคสำหรับการวิเคราะห์เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในขณะใดขณะหนึ่ง
การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ จะต้องมีความรู้พื้นฐานของบริบททางสังคมเศรษฐกิจที่เกิดแนวคิดนั้นๆ ขึ้น
การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ แบ่งออกเป็น 3 แบบได้แก่ แบบเลือกศึกษาเฉพาะลัทธิเศรษฐกิจการเมืองที่สำคัญๆ แบ่งเป็นแบบ "สำนักคิด" ตามลำดับเวลาของการพัฒนาและแบบยึดตัวบุคคลเป็นหลัก
แนวคิดเกี่ยวกับวิชาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ
การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจทำให้มองเห็นว่าทฤษฎีเศรษฐศาสตร์นั้น
มีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอจากยุคหนึ่งสู่อีกยุคหนึ่ง
และยังทำให้เกิดความเข้าใจต่อแนวคิดหรือทฤษฎีที่มีอยู่ในปัจจุบันดีขึ้น
ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กับประวัติลัทธิเศรษฐกิจ
ประวัติลัทธิเศรษฐกิจ ไม่เพียงแต่ศึกษาถึงคุณูปการที่สำคัญของนักคิดแต่ละคน
ตลอดจนทฤษฎี และข้อเสนอแนะทางนโยบายของแต่ละสำนักคิด ยังศึกษาถึงบทบาท
และความเจริญก้าวหน้าของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญอีกด้วย
วิธีการศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ
การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจมี 3 แบบ
ได้แก่ แบบเลือกศึกษาเฉพาะลัทธิเศรษฐกิจการเมืองที่สำคัญ แบบแบ่งเป็นสำนักคิด
ตามลำดับเวลาของการพัฒนาการ และ แบบยึดตัวบุคคลเป็นหลัก
ความสัมพันธ์ระหว่างประวัติศาสตร์เศรษฐกิจกับประวัติลัทธิเศรษฐกิจ
สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจของสังคมในอดีต เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการค้นคิดแนวคิดหรือหลักการทางเศรษฐกิจ
แนวคิดหรือหลักการทางเศรษฐกิจ ช่วยให้เราเข้าใจถึงปัญหาทางเศรษฐกิจที่สังคมเผชิญหน้าในแต่ละช่วงที่ผ่านมา และนำไปสู่ประเด็นใหม่ๆ ในการศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจด้วย
บทบาทของประวัติศาสตร์เศรษฐกิจที่มีต่อประวัติลัทธิเศรษฐกิจ
ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจซึ่งเป็นการอธิบายสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในอดีตนั้น
เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดแนวคิด หรือหลักการทางเศรษฐกิจ ที่มุ่งวิเคราะห์
และแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
บทบาทของประวัติลัทธิเศรษฐกิจที่มีต่อประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
นอกจากแนวคิดหรือประวัติลัทธิเศรษฐกิจ จะช่วยอธิบายถึงความเป็นไป
และปัญหาของชีวิตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในอดีต ยังนำไปสู่ประเด็นใหม่ ๆ
ในการศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจอีกด้วย
» การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
» การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ
» การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง
» ชนชั้นกระฎุมพีกับสังคมศักดินา
» สภาพเศรษฐกิจและสังคมระหว่างสงครามโลก
» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1
» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
» วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาหลังทศวรรษ 1960
» วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกหลังทศวรรษ 1970
» ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว
» การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสู่สมัยใหม่ในเอเชีย
» สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชนิยม
» แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม
» แนวคิดคลาสสิกของโรเบิร์ท มัลธัส
» แนวคิดของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์