สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
แนวคิดนีโอคลาสสิก
เศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิก กำเนิดขึ้นในทศวรรษ 1870 โดยพัฒนาแนวความคิดการใช้หลักการหน่วยสุดท้ายและทฤษฎีอรรถประโยชน์ของ เจวอนส์ เมนเกอร์ และวาลราส เข้ามาในการวิเคราะห์เศรษฐกิจ
เศรษฐศาสตร์สำนักโลซาน ประกอบด้วยเศรษฐศาสตร์ของวาลราสและเศรษฐศาสตร์ของพาเรโต เศรษฐศาสตร์สำนักเคมบริดจ์ ประกอบด้วยเศรษฐศาสตร์ของมาร์แชล และเศรษฐศาสตร์ของพิกู
ความเป็นมาของ เศรษฐศาสตร์ นีโอคลาสสิก
การปฏิวัติหน่วยสุดท้ายคือ จุดกำเนิดของนีโอคลาสสิก สาระสำคัญของการปฏิวัติหน่วยสุดท้ายคือ การใช้หลักการหน่วยสุดท้ายและทฤษฎีอรรถประโยชน์เข้ามาในการวิเคราะห์เศรษฐกิจ ซึ่งเป็นแนวการวิเคราะห์ใหม่ที่แตกต่างไปจากสำนักคลาสสิกโดยสิ้นเชิง
วิทยาหรือวิธีคิดของเศรษฐศาสตร์ นีโอคลาสสิก มีพื้นฐานทางทฤษฎีที่สำคัญคือ หลักการหน่วยสุดท้าย พฤติกรรมตรรกยะ และดุลยภาพตลาด
หลักหน่วยสุดท้ายหมายถึง การใช้คณิตศาสตร์แคลคูลัสและอนุพันธ์มาวิเคราะห์พฤติกรรมทางเศรษฐกิจ พฤติกรรมตรรกยะ หมายถึงพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ที่มีเหตุผลในการเลือกสิ่งที่คุ้มค่าที่สุดอยู่เสมอ หลักดุลยภาพตลาด หมายถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะอยู่ในภาวะดุลภาพหรือระดับที่อุปสงค์เท่ากับอุปทานเสมอ
อิทธิพลของแนวคิดนีโอคลาสสิกที่มีต่อทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ คือ
- การพัฒนาทฤษฎีดุลยภาพทั่วไปในเชิง ตรรกยะและคณิตศาสตร์
- ประยุกต์และวิเคราะห์เศรษฐกิจที่มีลักษณะนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
- เป็นรากฐานที่สำคัญของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค โดยเฉพาะในเรื่องของทฤษฎีดุลยภาพตลาด ทฤษฎีการบริโภค และทฤษฎีการผลิต
การปฏิวัติหน่วยสุดท้าย
สาระสำคัญของการปฏิวัติหน่วยสุดท้ายคือ
การนำแนวความคิดหลักการหน่วยสุดท้ายและทฤษฎีอรรถประโยชน์เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์เศรษฐกิจ
วิธีวิทยาของเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิก
วิธีวิทยาของเศรษฐศาสตร์ นีโอคลาสสิกมีพื้นฐานทางทฤษฎีที่สำคัญคือ
- หลักหน่วยสุดท้าย
- พฤติกรรมตรรกะ
- ดุลยภาพตลาด โดยที่หลักสุดท้ายหมายถึงการใช้คณิตศาสตร์แคลคูลัส และอนุพันธ์มาวิเคราะห์พฤติกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วยเศรษฐกิจ พฤติกรรมตรรกะ หมายถึง พฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ที่มีเหตุผลในการเลือกเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงขึ้น และหลักดุลยภาพตลาด หมายถึงกิจกรรมและพฤติกรรมทางเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับภาวะดุลยภาพอันได้แก่ ระดับอุปสงค์เท่ากับอุปทานเสมอ
อิทธิพลของแนวคิดนีโอคลาสสิกที่มีต่อทฤษฎีเศรษฐศาสตร์
การพัฒนาทฤษฎีดุลยภาพทั่วไปในเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ที่มีความเข้มงวดพัฒนาโมเดลที่ค่อนข้างจะเป็นนามธรรมสูงให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นในการอธิบายเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น
เป็นแนวทางประยุกต์โมเดลดุลยภาพทั่วไปเข้ากับทฤษฎีเศรษฐกิจสังคมนิยม นอกจากนี้ยังเป็นรากฐานที่สำคัญของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคโดยเฉพาะในเรื่องทฤษฎีดุลยภาพตลาดและอื่น ๆ
» การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
» การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ
» การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง
» ชนชั้นกระฎุมพีกับสังคมศักดินา
» สภาพเศรษฐกิจและสังคมระหว่างสงครามโลก
» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1
» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
» วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาหลังทศวรรษ 1960
» วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกหลังทศวรรษ 1970
» ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว
» การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสู่สมัยใหม่ในเอเชีย
» สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชนิยม
» แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม
» แนวคิดคลาสสิกของโรเบิร์ท มัลธัส
» แนวคิดของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์