ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์
ประชาคมอาเซียน
สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน
การขับเคลื่อนโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาจารย์จันทรา ตันติพงศานุรักษ์
ดร.ชยพร กระต่ายทอง
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดำเนินโครงการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub) โดยมอบหมายให้สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาดำเนินกิจกรรมโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน: Spirit of ASEAN เพื่อเตรียมเยาวชนไทยให้มี ความพร้อมในการเป็นสมาชิกที่ดีของประชาคมอาเซียน สามารถติดต่อสื่อสารและอยู่ร่วมกันได้บนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกัน โดยพัฒนาโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจากทุกภูมิภาค จำนวน 54 โรง แบ่งเป็นโรงเรียน 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) โรงเรียน Sister school จำนวน 30 โรง เป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน เน้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เทคโนโลยี และภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียนอีก 1 ภาษา พหุวัฒนธรรม และ 2) โรงเรียน Buffer School จำนวน 24 โรง เป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน เน้นการเรียนการสอนภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน 1 ภาษา (ภาษาของประเทศที่มีชายแดนติดที่ตั้งของโรงเรียน เช่น ลาว พม่า กัมพูชา และมาเลเซีย) พหุวัฒนธรรม เทคโนโลยี และพัฒนาให้เป็นศูนย์อาเซียนศึกษาที่มีความพร้อมและศักยภาพ ในการจัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนัก รวมทั้งจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และแหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ซึ่งประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ได้แก่
- เสาหลักประชาคมการเมืองและความมั่นคง (ASEAN Political and Security Community)
- เสาหลักประชาคมเศรษฐกิจ (ASEAN Economic Community) และ
- เสาหลักประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio -Cultural Community)
เพื่อเตรียมคนสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 และสร้างความเข้มแข็งให้แก่โรงเรียนในโครงการเป็นต้นแบบในการขยายผลให้โรงเรียนทุกโรงทั่วประเทศขับเคลื่อนการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน สร้างความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนให้แก่ผู้เรียน ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไป รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จำนวน 225 เขตพื้นที่ มีความพร้อมในการเตรียมบุคลากรและโรงเรียนในเขตพื้นที่สู่ประชาคมอาเซียน
ทั้งนี้ ยังมีหน่วยงานอื่น ๆ ได้ดำเนินโครงการเพื่อเตรียมคนสู่ประชาคมอาเซียน เช่น สถาบันสังคมศึกษา ดำเนินโครงการการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน: ASEAN Focus School เพื่อพัฒนา ศูนย์อาเซียนศึกษาและจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 14 โรงเรียน และสำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย ดำเนินโครงการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาให้มีความเป็นเลิศสู่สากลและสามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ และพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน นานาชาติ โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 14 โรงเรียน
นอกจากนี้ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาได้ประสานความร่วมมือกับศูนย์SEAMOLEC ดำเนินโครงการโรงเรียนคู่พัฒนาระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษาของประเทศไทยและสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านการเรียนรู้ร่วมกัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้ วัฒนธรรม และค่านิยมระหว่างกันด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยคัดเลือกโรงเรียนมัธยมศึกษาเข้าร่วมโครงการ จำนวน 23 โรง เป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจและมีค่านิยมที่ดีเกี่ยวกับประเด็นสำคัญของอาเซียน ซึ่งเป็นการเตรียม ความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 สอดคล้องกับกรอบความร่วมมือและกระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในภูมิภาคเอเชียที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้
» ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» แถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (เอเอชอาร์ดี)
» ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» แผนงานการจัดตั้ง ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
» ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
» ปฏิญญาชะอำ หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน (2552-2558)
» ความตกลงสำคัญเรื่องความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในกรอบอาเซียน
» แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียนปี 2547
» สิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องต้องใช้เวลา
» เงินสกุลอาเซียน ความฝันที่ใกล้เป็นจริง
» 7 ปรากฏการณ์ Social Network ในอาเซียน
» คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» ความร่วมมือของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
» ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
» ความร่วมมือทางทะเลในกรอบอาเซียน
» การบริหารจัดการภัยพิบัติ (พลเรือน)
» คณะกรรมาธิการอาเซียนเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก
» ความร่วมมือด้านการศึกษาอาเซียน
» ความร่วมมืออาเซียนด้านสาธารณสุข
» ASEAN-India Car Rally ครั้งที่ 2 ฉลองครบรอบ 20 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย
» การประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 47 ณ กรุงฮานอย เวียดนาม
» ความไว้เนื้อเชื่อใจ กุญแจที่ขาดหายไปในทะเลจีนใต้
» ASEAN Gay Rights บทบาทรุกหรือรับ
» จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
» รายชื่อโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
» การขับเคลื่อนโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
» อินโดนีเซียคาดเศรษฐกิจขยายตัวเร็วขึ้น,ยอดขาดดุลงบประมาณลดลงในปี 2556
» กบง.เล็งถกด่วนวันนี้ ลดเก็บเงินเข้ากองทุนฯ อีกระลอกหลังค่าการตลาดลดต่ำ
» พาณิชย์ขนทัพปาล์ม-ยาง-ไม้เปิดตลาดพม่า
» เอกชนจี้รัฐแก้ภาษีซ้อนเออีซีดันเปิดสาขาแบงก์ไทยในพม่า
» ความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา รุดหน้าถกแผนเศรษฐกิจ 3 ปี
» พาณิชย์จัดประชุม JTC กระชับความสัมพันธ์การค้าการลงทุน ไทย-กัมพูชา
» สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
» กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)
» แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)
» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ บูรณาการอาเซียน
» การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน