ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์
ประชาคมอาเซียน
สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน
การบริหารจัดการภัยพิบัติ (พลเรือน)
1. ภูมิหลัง
-
คณะรัฐมนตรีอาเซียนได้ริเริ่มความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติภายใต้กรอบของปฏิญญากรุงเทพฯ
ค.ศ.1967 โดยร่วมกันจัดตั้ง ASEAN Permanent Committee on Socio-Cultural
Activities หรือคณะกรรมการ อาเซียนด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรม
ซึ่งรวมเรื่องการจัดการภัยพิบัติ ต่อมา ในเดือน กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ.1976 ที่
บาหลี อินโดนีเซีย ผู้นำอาเซียน ได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือใน
อาเซียน (The Declaration of ASEAN Concord or Bali Concord I)
โดยประเด็นที่เกี่ยวกับการจัดการภัย พิบัติได้ถูกบรรจุไว้เป็นหลักการ
ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และภัยอื่น ๆ สามารถเป็นปัจจัยที่
ฉุดรั้งการก้าวเดินของการพัฒนาของประเทศสมาชิกได้ ดังนั้น
ประเทศสมาชิกจะให้ความช่วยเหลือบรรเทา ทุกข์แก่ประเทศที่ประสบภัย
ตามกำลังและขีดความสามารถที่มีอยู่ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ประเทศสมาชิก
อาเซียนได้มีการพัฒนาความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติ
โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการอาเซียนด้าน การจัดการภัยพิบัติ (ASEAN Committee on
Disaster Management- ACDM) พร้อมทั้งกำหนดหลักการ มาตรการ และกลไกต่างๆ
เพื่อสนับสนุนความร่วมมือให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ปัจจุบัน การบริหารจัดการด้านภัยพิบัติของไทยในระดับภูมิภาคส่วนใหญ่จะผ่านกลไกของ ACDM โดยอยู่บนพื้นฐานของความตกลงอาเซียนว่าด้วยการบริหารจัดการภัยพิบัติและการตอบสนองต่อสถานการณ์ ฉุกเฉิน (ASEAN Agreement on Disaster Management and Emergency Response: AADMER) เพื่อ เตรียมทรัพยากรที่จำเป็นในการจัดตั้งระบบเตรียมความพร้อมในปฏิบัติการร่วมอาเซียนเพื่อให้ความช่วยเหลือ ระหว่างกันในกรณีภัยพิบัติและสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานอาเซียนในการให้ความช่วยเหลือ ด้านมนุษยธรรม (ASEAN Coordinating Centre for Humanitarian Assistance: AHA Centre)
2. คณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ (ASEAN Committee on Disaster Management - ACDM)
- คณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ หรือ ACDM
เป็นคณะทำงานที่เปลี่ยนสถานะมาจาก คณะผู้เชี่ยวชาญของอาเซียน (ASEAN Experts
Group on Disaster Management : AEGDM) ซึ่งตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2003
มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้มีการดำเนินการในเชิงรุก (Proactive)
ในการจัดการภัยพิบัติภายใต้ กรอบความร่วมมือของภูมิภาคอาเซียน
และกำหนดให้มีการประชุมเป็นประจำทุกปีอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยมีพันธกิจ คือ
การส่งเสริมความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติทุกด้านอย่างครบวงจร ได้แก่
การป้องกัน การเตรียมความพร้อม การตอบโต้ การบรรเทาและฟื้นฟู
โดยผ่านกิจกรรมที่ดำเนินการร่วมกันเพื่อลดผลกระทบจากภัยพิบัติต่อการพัฒนา
ด้านสังคมและเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียน
- สมาชิกของ ACDM คือหัวหน้าหน่วยงานระดับชาติของประเทศสมาชิกอาเซียนที่ดูแลรับผิดชอบ เกี่ยวกับงานด้านการจัดการภัยพิบัติ ปัจจุบันมีการประชุมไปแล้วจำนวน 19 ครั้ง โดยประธาน ACDM จะมาจากประเทศสมาชิกซึ่งจะเวียนกันเป็นเจ้าภาพตามลำดับตัวอักษร ในปี 2555 นี้ ประเทศไทยได้รับหน้าที่เป็น ประธาน ACDM (ได้มีการส่งมอบตำแหน่งจากสิงคโปร์เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2555 ในการประชุม ACDM ครั้งที่ 19)
3. ความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน (ASEAN Agreement on Disaster Management and Emergency Response: AADMER)
- ACDM
ได้ร่วมกันจัดทำความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์
ฉุกเฉิน (ASEAN Agreement on Disaster Management and Emergency Response:
AADMER) ขึ้น
เพื่อเป็นกลไกในการดำเนินความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
โดยในส่วน ของประเทศไทย คณะรัฐมนตรีได้มีมติวันที่ 19 กรกฎาคม 2548
เห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศลงนามในความตกลงฯ
และมอบหมายให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงมหาดไทย
เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดำเนินการตามความตกลงฯ ดังกล่าว
โดยมีอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยเป็นผู้ประสานงานหลัก (Focal Point)
ของ ACDM ทั้งนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้มีการร่วม ลงนามใน AADMER
เรียบร้อยแล้วในการประชุม ครั้งที่ 38 เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2548 ณ
กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2552
- AADMER
มีลักษณะเป็นความตกลงที่มีพันธกรณีที่ประเทศภาคีสมาชิกจะต้องปฏิบัติตาม โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อจัดหากลไกที่มีประสิทธิภาพที่สามารถลดความเสียหายจากภัยพิบัติต่อชีวิต
และทรัพย์สิน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของภาคี
และเพื่อร่วมกันตอบโต้ภัยพิบัติฉุกเฉิน ประกอบด้วย 11 ส่วน และ 36 มาตรา
โดยกำหนดกรอบความร่วมมือและการจัดตั้งกลไกด้านการจัดการภัยพิบัติของอาเซียนในลักษณะครบ
วงจรของการบริหารจัดการภัยพิบัติ ครอบคลุมทั้งในยามปกติ ก่อนเกิดภัย
(การกำหนดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การเฝ้าระวัง การแจ้งเตือนภัย การป้องกัน
การเตรียมความพร้อม) ในขณะเกิดภัย (การตอบโต้สถานการณ์ ฉุกเฉิน การบรรเทาทุกข์)
ภายหลังเกิดภัย (เช่น การบูรณะฟื้นฟู) ตลอดจนความร่วมมือทางด้านวิชาการ
การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถ เป็นต้น ทั้งนี้
โดยเน้นหลักการที่ให้แต่ละประเทศสมาชิกได้ช่วยเหลือ ตนเองให้เต็มที่ก่อน
และหากเกินขีดความสามารถจึงใช้กลไกที่กำหนดไว้ใน AADMER ในการช่วยเหลือต่อไป
- ไทยเป็นประเทศนำ (lead shepherd) ในด้าน (1)Working Group on Prevention and Mitigation ร่วมกับลาว (2)Implementing National Action Plans on Disaster Risk Reduction and Strengthening Legal and Institutional Frameworks และ (3)Outreach and Mainstreaming ภายในกรอบของ AADMER Work Programme 2010-2015
4. ศูนย์ประสานงานอาเซียนในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม (ASEAN Coordinating Centre for Humanitarian Assistance: AHA Centre)
- AADMER ข้อ 20 ได้มีการระบุให้จัดตั้ง AHA Centre
ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศอาเซียน
ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2554 ศูนย์ฯ มีที่ตั้งที่
กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
- AHA Center
จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานของภาคีกับองค์การสหประชาชาติ/
องค์กรระหว่างประเทศ
และจะดำเนินงานบนพื้นฐานความเข้าใจว่าภาคีจะดำเนินการก่อนเพื่อจัดการภัยพิบัติ
- ในกรณีร้องขอความช่วยเหลือนอกจากจะขอโดยตรงไปยังผู้ให้ความช่วยเหลือแล้ว
อาจจะผ่าน AHA Centre เพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งคำขอดังกล่าว
- ที่ประชุม ACDM ครั้งที่ 19 ได้เห็นชอบให้มีการแต่งตั้งนาย Said Faisal ชาวอินโดนีเซีย ให้ดำรง ตำแหน่ง Executive Director ของศูนย์ฯ
5. สถานะล่าสุด
- ในปี 2555 ไทย (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย) เป็นประธาน ACDM และ ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ACDM ครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 23-25 ส.ค. 2555 ณ กรุงเทพฯ
ที่มา : กองอาเซียน 4 กรมอาเซียน สิงหาคม 2555
» ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» แถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (เอเอชอาร์ดี)
» ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» แผนงานการจัดตั้ง ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
» ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
» ปฏิญญาชะอำ หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน (2552-2558)
» ความตกลงสำคัญเรื่องความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในกรอบอาเซียน
» แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียนปี 2547
» สิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องต้องใช้เวลา
» เงินสกุลอาเซียน ความฝันที่ใกล้เป็นจริง
» 7 ปรากฏการณ์ Social Network ในอาเซียน
» คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» ความร่วมมือของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
» ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
» ความร่วมมือทางทะเลในกรอบอาเซียน
» การบริหารจัดการภัยพิบัติ (พลเรือน)
» คณะกรรมาธิการอาเซียนเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก
» ความร่วมมือด้านการศึกษาอาเซียน
» ความร่วมมืออาเซียนด้านสาธารณสุข
» ASEAN-India Car Rally ครั้งที่ 2 ฉลองครบรอบ 20 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย
» การประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 47 ณ กรุงฮานอย เวียดนาม
» ความไว้เนื้อเชื่อใจ กุญแจที่ขาดหายไปในทะเลจีนใต้
» ASEAN Gay Rights บทบาทรุกหรือรับ
» จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
» รายชื่อโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
» การขับเคลื่อนโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
» อินโดนีเซียคาดเศรษฐกิจขยายตัวเร็วขึ้น,ยอดขาดดุลงบประมาณลดลงในปี 2556
» กบง.เล็งถกด่วนวันนี้ ลดเก็บเงินเข้ากองทุนฯ อีกระลอกหลังค่าการตลาดลดต่ำ
» พาณิชย์ขนทัพปาล์ม-ยาง-ไม้เปิดตลาดพม่า
» เอกชนจี้รัฐแก้ภาษีซ้อนเออีซีดันเปิดสาขาแบงก์ไทยในพม่า
» ความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา รุดหน้าถกแผนเศรษฐกิจ 3 ปี
» พาณิชย์จัดประชุม JTC กระชับความสัมพันธ์การค้าการลงทุน ไทย-กัมพูชา
» สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
» กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)
» แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)
» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ บูรณาการอาเซียน
» การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน