ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์

ประชาคมอาเซียน

สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน

45 ปีอาเซียน

รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คอลัมน์ “กระบวนทรรศน์” หนังสือพิมพ์ไทยโพส ฉบับวันที่ 9 สิงหาคม 2555

การผงาดขึ้นมาของอาเซียน

ประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ของประเทศสมาชิกก่อตั้งอาเซียน และเป็นจุดกำเนิดของอาเซียน โดยไทยมีบทบาทอย่างแข็งขันมาโดยตลอด ในช่วง 45 ปีที่ผ่านมา

ในปัจจุบัน อาเซียนนับว่ามีความสำคัญต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก ขณะนี้อาเซียนเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย ประมาณ 60-70 % ของ GDP ไทย มาจากการส่งออก ดังนั้น เศรษฐกิจไทยจึงเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจของอาเซียนเป็นอย่างมาก

หากอาเซียนเป็นประเทศ อาเซียนจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก โดยมี GDP รวมกันสูงถึงกว่า 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือ ADB ได้ทำการศึกษาถึงแนวโน้มเศรษฐกิจของอาเซียนในปี 2030 พบว่า ในปีดังกล่าว GDP ของอาเซียนจะขยายเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว คือจะมี GDP อยู่ประมาณ 7-8 ล้านล้านเหรียญ ซึ่งจะทำให้อาเซียนมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ดังนั้น จากแนวโน้มดังกล่าว จะเห็นได้ว่า อาเซียนกำลังจะผงาดขึ้นมาเป็นขั้วเศรษฐกิจโลก เป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจโลกในอนาคต ซึ่งไทยจะได้ประโยชน์อย่างมาก จากการเป็นสมาชิกของอาเซียน

นอกจากนี้ อาเซียนกำลังเป็นสถาบันหลักในภูมิภาค เป็นเวทีพหุภาคีทางการทูตที่สำคัญที่สุดในภูมิภาค สัจธรรมของการเมืองและเศรษฐกิจโลก คือ “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” ประเทศใหญ่ได้เปรียบ ประเทศเล็กเสียเปรียบอยู่ตลอดเวลา ประเทศไทยเป็นประเทศเล็ก ไทยจะเสียเปรียบเป็นอย่างมาก หากเราอยู่เพียงตัวคนเดียว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ไทยจะต้องรวมกลุ่มกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค เพื่อสร้างอำนาจการต่อรอง และนี่ก็เป็นเหตุผลที่สำคัญ ที่ไทยจะต้องให้ความสำคัญกับอาเซียน และต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมสู่การจัดตั้งประชาคมอาเซียน

ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ด้วยความจำเป็นดังกล่าว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงริเริ่มตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขึ้น ในช่วงปลายปีที่แล้ว โดยมีผมเป็นผู้อำนวยการก่อตั้งศูนย์ฯ เพื่อเป็นกลไกหลักของการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน และเป็นศูนย์กลางในการศึกษาวิจัย และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนสู่สาธารณชน รวมทั้งเป็นคลังสมองด้านอาเซียนศึกษา และสนับสุนนกิจกรรมต่างๆและบทบาทของไทยในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน

ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เริ่มดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่ในช่วงต้นปีนี้ โดยได้มีการจัดประชุมระดมสมองครั้งที่ 1 เรื่อง “Roadmap สู่ประชาคมอาเซียน” ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และได้ดำเนินโครงการเป็นที่ปรึกษาให้กับ ก.พ.ในการจัดทำแผน 4 ปี เพื่อเตรียมพร้อมบุคลากรภาครัฐสู่ประชาคมอาเซียน และขณะนี้ศูนย์ฯก็กำลังดำเนินโครงการให้กับ ก.พ.ร. ในโครงการ “ขับเคลื่อนภาครัฐในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” โดยกำลังจะมีการจัดทำตัวชี้วัด เพื่อติดตามประเมินผลความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานราชการต่างๆของไทย รวมทั้งจัดทำ Roadmap หรือแผนแม่บทการเตรียมความพร้อมของภาคราชการไทย

โครงการต่างๆ ที่ศูนย์ฯกำลังดำเนินการอยู่ และที่จะดำเนินการต่อไปในอนาคต ก็มีมากมายหลายโครงการ ทั้งโครงการวิจัย โครงการเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานราชการต่างๆ โครงการฝึกอบรม โครงการจัดประชุมในรูปแบบต่างๆ และโครงการจัดประชุมนานาชาติ

นอกจากนี้ ศูนย์ฯได้จัดทำเว็บไซด์ของศูนย์ฯขึ้น โดยมีชื่อว่า www.castu.org เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลด้านอาเซียนศึกษาของประเทศ โดยในเว็บไซด์ของศูนย์ฯจะมีข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนในทุกๆด้าน ผลงานวิจัยและผลงานการศึกษาของศูนย์ฯ และหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน รายละเอียดเกี่ยวกับการมีบทบาทในการเป็นคลังสมองของประเทศ รวมทั้งสิ่งพิมพ์ในรูปแบบต่างๆที่สามารถดาวน์โหลดได้ อาทิ บทความ บทวิเคราะห์ หนังสือ Press Release เป็นต้น

ศูนย์ฯ ตั้งเป้าหมายว่า จะพัฒนาไปเป็นศูนย์อาเซียนศึกษาในระดับชาติ และในระดับภูมิภาคต่อไป

เหลียวหลัง แลหน้า 45 ปีอาเซียน

กิจกรรมล่าสุดของศูนย์อาเซียนศึกษาก็คือ การจัดสัมมนา เมื่อวันอังคารที่ 7 สิงหาคม ที่ผ่านมานี้เอง ในโอกาสของการครบรอบ 45 ปีของการก่อตั้งอาเซียน ซึ่งก็คือวันที่ 8 สิงหาคม ซึ่งเราเรียกว่าเป็นวันอาเซียนหรือวันเกิดของอาเซียน นับเป็นโอกาสอันสำคัญที่ได้มี “การเหลียวหลัง” คือ การวิเคราะห์ ประเมินความสำเร็จในรอบ 45 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งสิ่งท้าทายต่างๆ และ “การแลหน้า” คือ การวิเคราะห์ เสนอแนะ วิสัยทัศน์และ Roadmap ของอาเซียนในอนาคต ซึ่งการสัมมนาในวันนั้น ได้เป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมงานสัมมนา ทั้งต่อภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และนักศึกษา และเป็นประโยชน์สำหรับการเตรียมความพร้อมของไทยสู่ประชาคมอาเซียนด้วย

สำหรับข้อสรุปของการประเมินความสำเร็จของอาเซียนนั้น ตลอดเวลา 45 ปีที่ผ่านมา อาเซียนมีวิวัฒนาการเรื่อยมา และมีบทบาทสำคัญ ในยุคสงครามเย็นอาเซียนเป็นแนวร่วมของไทยในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ และต่อมาในยุคหลังสงครามเย็น อาเซียนเดินหน้าบูรณาการทางเศรษฐกิจ จนมาถึงปี 2003 ได้มีข้อตกลงที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้น ภายในปี 2015 ขณะนี้อาเซียนกำลังวุ่นอยู่กับการเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน

อย่างไรก็ตาม อาเซียนยังมีสิ่งท้าทาย อุปสรรค และขวากหนาม อยู่ไม่น้อยสำหรับเดินทางการเดินไปสู่ประชาคมอาเซียน อุปสรรคสำคัญคือ ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศสมาชิก ความไม่วางใจซึ่งกันและกัน ช่องว่างระหว่างประเทศรวยกับประเทศจน ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญทำให้อาเซียนไม่สามารถบูรณาการทางเศรษฐกิจในเชิงลึกได้ นอกจากนั้น อาเซียนยังขาดอัตลักษณ์ร่วม ทำให้อาเซียน 600 ล้านคน ยังไม่รู้สึกเป็นพวกเดียวกัน นำไปสู่ความแตกแยก ไม่เป็นเอกภาพ และไม่สามัคคีกันในอาเซียน

ปัญหาล่าสุด คือ การแตกแยกกันในกรณีทะเลจีนใต้ โดยอาเซียนแตกออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งถือหางสหรัฐ และต้องการให้แถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน มีข้อความโจมตีจีน ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่ง ถือหางจีน (โดยเฉพาะกัมพูชา) จึงทำให้ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศครั้งล่าสุด ที่กรุงพนมเปญ อาเซียนไม่สามารถมีแถลงการณ์ร่วมออกมาได้ นับเป็นครั้งแรกในรอบ 45 ปีของอาเซียนที่อาเซียนไม่มีแถลงการณ์ร่วม

เหตุการณ์ดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า อาเซียนยังมีสิ่งท้าทาย อุปสรรค ขวากหนามอีกมาก ในการที่จะพัฒนาไปเป็นประชาคมอาเซียนที่สมบูรณ์แบบ

ดังนั้น ประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศ รวมทั้งประเทศไทย จะต้องร่วมมือกันอย่างเต็มที่ในการฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆเหล่านี้ เพื่อทำให้อาเซียนสามารถพัฒนาไปเป็นประชาคมที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริงในอนาคตและจะทำให้อาเซียนผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจโลกได้ในอนาคต รวมทั้งจะทำให้อาเซียนสามารถดำรงการเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมในภูมิภาค และเป็นเวทีพหุภาคีทางการทูตที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคต่อไปได้

» ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» แถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (เอเอชอาร์ดี)

» ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» แผนงานการจัดตั้ง ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

» ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

» ปฏิญญาชะอำ หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน (2552-2558)

» ความตกลงสำคัญเรื่องความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในกรอบอาเซียน

» แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียนปี 2547

» กลไกระงับข้อพิพาทในอาเซียน

» สิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องต้องใช้เวลา

» เงินสกุลอาเซียน ความฝันที่ใกล้เป็นจริง

» 7 ปรากฏการณ์ Social Network ในอาเซียน

» คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» ความร่วมมือของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์

» ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด

» ความร่วมมือทางทะเลในกรอบอาเซียน

» การบริหารจัดการภัยพิบัติ (พลเรือน)

» คณะกรรมาธิการอาเซียนเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก

» ความร่วมมือด้านการศึกษาอาเซียน

» ความร่วมมืออาเซียนด้านสาธารณสุข

» ASEAN-India Car Rally ครั้งที่ 2 ฉลองครบรอบ 20 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย

» การประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 47 ณ กรุงฮานอย เวียดนาม

» ประชาคมอาเซียนกับนวัตกรรม

» ความไว้เนื้อเชื่อใจ กุญแจที่ขาดหายไปในทะเลจีนใต้

» ASEAN Gay Rights บทบาทรุกหรือรับ

» จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

» รายชื่อโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน

» การขับเคลื่อนโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

» อินโดนีเซียคาดเศรษฐกิจขยายตัวเร็วขึ้น,ยอดขาดดุลงบประมาณลดลงในปี 2556

» กบง.เล็งถกด่วนวันนี้ ลดเก็บเงินเข้ากองทุนฯ อีกระลอกหลังค่าการตลาดลดต่ำ

» พาณิชย์ขนทัพปาล์ม-ยาง-ไม้เปิดตลาดพม่า

» เอกชนจี้รัฐแก้ภาษีซ้อนเออีซีดันเปิดสาขาแบงก์ไทยในพม่า

» 45 ปีอาเซียน

» เพลงประจำอาเซียน

» ครึ่งทางสู่ AEC ปี 2015

» ความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา รุดหน้าถกแผนเศรษฐกิจ 3 ปี

» พาณิชย์จัดประชุม JTC กระชับความสัมพันธ์การค้าการลงทุน ไทย-กัมพูชา

» อาเซียน (ASEAN)

» สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)

» กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)

» ประเทศสมาชิกอาเซียน

» ธงชาติอาเซี่ยน

» ไทยกับอาเซียน

» แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)

» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ บูรณาการอาเซียน

» อาเซียน +3

» การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

» ปัญหาในการรวมกลุ่มและความก้าวหน้าของอาเซียน

» ความสัมพันธ์อาเซียน-ยุโรป

» สาระน่ารู้เกี่ยวกับอาเซียน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

🍁 การแพทย์แผนโบราณ
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้ค้นพบบันทึกว่า มีระบบการจัดหายาที่ชัดเจนสำหรับราษฏร มีแหล่งจำหน่ายยาและสมุนไพรหลายแห่งทั้งในและ นอกกำแพงเมือง

🍁 หลักธรรมในการอยู่ร่วมกันในสังคม
พระพุทธศาสนาได้สอนไว้ว่านักปกครองที่ดีนั้นควรมีคุณธรรม 10 ประการ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม

🍁 สมถะวิปัสสนา
ตามแนวพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ (เถรวาท) ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)

🍁 พุทธธรรมขั้นพื้นฐาน
ไม่มีมนุษย์คนใดที่จะสามารถมีชีวิตอยู่ได้ลำพังตนเองโดยไม่ติดต่อสัมพันธ์กับคนอื่น เพราะการดำรงชีวิตอยู่ของคนเราจำเป็นจะต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน

🍁 พระสูตรของท่านเว่ยหลาง
สูตรของท่านเว่ยหล่างล้วนแต่เป็นเรื่องของการใช้ปัญญาเพื่อค้นหาหนทางแห่งความเป็นพุทธะ และเพื่อความหลุดพ้นไปจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงในโลกนี้

🍁 พุทธศาสนสุภาษิต
สุภาษิตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดำรัสไว้ ซึ่งมีคุณค่าสูงส่ง สามารถใช้ได้ทั้งเป็นแนวทางดำเนินชีวิต เตือนใจ หาคำตอบที่ดีสำหรับปัญหาที่สงสัย

🍁 โอวาทสี่ของเหลี่ยวฝาน
แบบฉบับในการประพฤติดี ปฏิบัติชอบ เพื่อหยุดยั้งกระแสแห่งวัฒนธรรมตะวันตกและอนุรักษ์ความเป็นคนจีนดั้งเดิม

🍁 สาเหตุการเกิดมลภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกในปัจจุบัน สังเกตุได้จากอุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้น

🍁 แนวคิดและหลักการทางวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ คือ องค์ความรู้ของธรรมชาติและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการสืบเสาะหาความรู้

🍁 จักรวาล
“จักรวาล” และ “เอกภพ” เป็นคำๆ ที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “Universe” ซึ่งหมายถึง ทุกสรรพสิ่งทั้งหมดทั้งปวง

🍁 ปัญญาประดิษฐ์
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI) หมายถึง ความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิตเป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก

🍁 มัทนะพาธา
บทละครเรื่องมัทนะพาธาได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรประกาศยกย่องให้เป็นหนังสือที่แต่งดีใช้คำฉันท์เป็นบทละครพูด ที่มีตัวละครและฉากสอดคล้องกับวัฒนธรรมภารตะโบราณ

🍁 คู่มือพระสังฆาธิการ
ส่วนหนึ่งของหลักสูตรถวายความรู้ แด่พระสังฆาธิการ หมวดวิชาพื้นฐานทั่วไป ซึ่งพระสังฆาธิการจำเป็นจะต้องรับทราบ และถือปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทาง ในการบริหารการปกครองวัด

🍁 หุ่นยนต์
หุ่นยนต์มีความแตกต่างจากเครื่องจักรกลแบบอื่น ๆ ตรงที่มันสามารถเคลื่อนไหวโครงสร้างได้ หุ่นยนต์แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ตรงที่มันสามารถนำผลที่ได้จากการประมวลมา ปฏิบัติให้เกิดงานในทางกายภาพได้ขณะที่คอมพิวเตอร์ไม่มี

🍁 ข้อคิดจากนิทานไทย
นิทานเป็นเรื่องเล่าที่สืบทอดมาแต่โบราณ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการพาเด็กและเยาวชนไปสู่โลกกว้างของการเรียนรู้ชีวิตจริง

🐍 โปรดระวังงูฉก

มนุษย์ก็เหมือนสสารชนิดหนึ่ง
ที่รอวันร่วงโรยแตกดับ

อยู่ไปนานวันเข้าก็เริ่มสูญเสียความสมดุล
ระบบการทำงานของร่ายกายก็ช้าลงไปเรื่อยๆ

หลีกหนีไม่พ้นความตายในที่สุด

ร่างกายเน่าเปื่อยผุผัง
ไม่เที่ยงแท้แน่นอน
ไม่มั่นคงยั่งยืน
กลับคืนสภาพเดิมได้ยาก

จากธรรมชาติสู่ธรรมชาติ
ทั้งในสถานะของแข็งของเหลวและก๊าซ

มันเป็นอนิจจัง

รู้แล้วเหยียบไว้
อย่าได้ทำเป็นตื่นตูม.

🐍 งูเขียว หางบอบช้ำ : เขียน

เชิญแวะอ่านสักนิดสักหน่อยก็ยังดี...

🌿 ขอเป็นตาแก่ขี้บ่นในหัวใจเธอ
สง่างามแบบมนุษย์ๆ ไม่ขี้โกงเอารัดเอาเปรียบกัน ไม่นินทากันลับหลัง ไม่เหยียบย่ำทำลายกัน นั่นย่อมประเสริฐแล้ว

🌿 ฝ่าเท้าเย้ยพิภพ
ปรัชญาเถื่อน โดย :: สารถี แห่งลุ่มแม่น้ำเพชร
อหังการ์แห่งมนุษยชาติ ก้าวเท้ากดลึกลงบนผิวดวงจันทร์ บริวารเก่าแก่ดวงเดียวของโลก ซึ่งครั้งหนึ่ง บรรพชนเคยนมัสการกราบไหว้

🌿 ความทรงจำที่เศร้าหมอง
จอมยุทธ : กรีดสาย
กับความอาดูรที่สูญสิ้น บางสิ่งบางอย่างไม่อาจหวนคืน ใครคนหนึ่งเก็บตัวเงียบเหมือนสัตว์ป่าหายาก

🌿 ธรรมนูญนรก
ปรัชญาเถื่อน โดย :: สารถี แห่งลุ่มแม่น้ำเพชร
และแล้วชีวิตก็จากไป จากไปอย่างไร้ร่องรอย คงทิ้งไว้แต่เพียงเรือนร่างร้างที่เคยสิงสถิต ซากศพผู้จงรักภักดี

ยังมีอีก »


ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
ภูจอมยุทธ | Podcast

ชีวิตในแบบฉบับของตัวเอง หิวก็กินง่วงก็นอน อยากทำอะไรก็ทำ เบียดเบียนสภาพแวดล้อมแต่พองาม ประสบการณ์แบ่งปันผู้คน มากบ้างน้อยบ้าง วัดกับร้านเหล้าถือเป็นสถานอโคจร ที่ต้องรักษาระยะห่าง คลิกดู👆