ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์
ประชาคมอาเซียน
สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ บูรณาการอาเซียน
โดย วันเพ็ญ หรูจิตตวิวัฒน์
Roadmap to an ASEAN Economic Community
เป็นแผนบูรณาการทางเศรษฐกิจของอาเซียนไปสู่การเป็นประชาคมทางเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN
Economic Community หรือ AEC) ซึ่งการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเมื่อเดือนพฤศจิกายน
2545 ที่กัมพูชา ได้ตกลงร่วมกันที่
จะมุ่งบรรลุผลสำเร็จตามแผนให้ได้ตามวิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ. 2020 หรือ พ.ศ. 2563
โดยนำ กลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งต่อมาเป็น ประชาคมยุโรป(EEC) มาเป็นกรณีศึกษา
สำหรับ Roadmap for Integration of ASEAN หรือ RIA
เป็นแผนการบูรณาการของอาเซียนที่เริ่มรณรงค์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544
ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่บรูไน
AEC มุ่งการบูรณาการเป็นตลาดเดียว (single market) และพื้นฐานทางการผลิตเสรีด้านการเคลื่อนย้ายสินค้า การค้าบริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมือ ขณะที่ RIA เป็นความพยายามบรรลุความร่วมมือโดยรวมมากขึ้น และลดช่องว่างความแตกต่างระหว่างกันในทุกด้านของประเทศสมาชิก ซึ่งก่อนหน้า RIA ก็มีความริเริ่มเพื่อการบูรณาการของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration หรือ IAI) จากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการที่สิงคโปร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 ที่มุ่งการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน และทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การพัฒนาศักยภาพทางการผลิต เพื่อการบูรณาการทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาชาติของประเทศสมาชิก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนที่ประกอบด้วยกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม หรือ (CLMV) ด้วยการจัดอบรมในด้านต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาทางการค้า การส่งเสริมการ ส่งออก การพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ ธุรกิจการเกษตรและอาหาร การท่องเที่ยว อีกทั้งการให้ทุนการศึกษาและการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและเยาวชน เป็นต้น
AEC เป็นหนึ่งในสามขั้วของการรวมเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) โดยอีกสองขั้ว คือ ประชาคมความมั่นคงแห่งอาเซียน (ASEAN Security Community) และประชาคม วัฒนธรรมทางสังคมแห่งอาเซียน (AEAN Socio-cultural Community) ขณะที่ RIA ก็มีสามขั้ว เช่นกัน ประกอบด้วย การพัฒนาการเพื่อการลดช่องว่างระหว่างกัน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเชิงลึก และการปรับปรุงบูรณาการทางเศรษฐกิจ โดยขั้วที่สองเป็นความร่วมมือในด้านต่าง ๆ เช่น พลังงาน ท่องเที่ยว ขนส่งและโทรคมนาคม เป็นต้น
สำหรับขั้วที่สามเป็นการเร่งดำเนินการตามกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียน เช่น เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area หรือ AFTA) เขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area หรือ AIA) กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการค้าบริการ (ASEAN Framework Agreement on Services หรือ AFAS) ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN) โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (ASEAN Industrial Cooperation Scheme หรือ AICO) เป็นต้น
Roadmap to an AEC มีวิสัยทัศน์ คือ ความตั้งใจบรรลุ AEC ภายในปี 2563 โดยมีภารกิจหรือพันธกิจที่ต้องดำเนินการมากมาย ได้แก่
- การเคลื่อนย้ายเสรี (free movement) ของสินค้า การค้า การบริการ การลงทุน และเงินทุน รวมถึงการบรรลุผลสำเร็จของเขตการค้าเสรีที่มีอัตราอากรขาเข้าเป็นศูนย์ และขจัดอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิ่ใช่ภาษี
- การพัฒนารูปแบบการผลิตในภูมิภาค ที่ดึงดูดการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ
- การเคลื่อนย้ายเสรีของแรงงานมีฝีมือ และผู้เชี่ยวชาญ
- การเคลื่อนย้ายเสรีของนักท่องเที่ยวจากทุกประเทศสมาชิกอาเซียน
- การประสานและเชื่อมโยงเครือข่ายกระบวนการศุลกากร และการลดขั้นตอนกระบวนการด้านศุลกากร
- การประสานและเชื่อมโยงมาตรฐาน ไปสู่มาตรฐานระหว่างประเทศ
-
การพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานเชิงกฎหมายและเพื่อเอื้อและอำนวยประโยชน์ในการบูรณาการทางเศรษฐกิจของอาเซียน
ทั้ง 7 ภารกิจเป็นการนำ AEC เข้าสู่การเตรียมความพร้อมสู่เขตการค้าเสรีที่ จะผนวกความร่วมมือกับประเทศอื่นนอกกลุ่มอาเซียน ต่อไป อย่างไรก็ดี Roadmap to an AEC ยังขาดเป้าหมาย หรือกำหนดเส้นตาย (deadline) ที่ชัดเจนในการบรรลุวิสัยทัศน์ ซึ่งผู้เขียนขอนำเสนอข้อคิดเห็นให้อาเซียนแยกเป้าหมายเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย
-ระยะสั้น บรรลุภายในปี 2550
-ระยะปานกลาง บรรลุภายในปี 2555
-ระยะยาว บรรลุภายในปี 2560
-ระยะยาวพิเศษ บรรลุภายในปี 2563
ทั้งนี้เพื่อการบูรณาการเป็น AEC และ RIA ควรที่จะเพิ่มการบูรณาการในเรื่องดังต่อไปนี้ด้วย ได้แก่ - การเชื่อมโยงระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิก ส์ในทุกประเภทของการค้า การค้าบริการ การขนส่งโทรคมนาคม การสาธารณสุข การท่องเที่ยว และด้านอื่น ๆ
- ยกเว้นการตรวจลงตราการตรวจคนเข้าเมือง ด้วยระบบการเชื่อมโยงข้อมูลเครือข่าย
- การใช้เงินสกุลเดียวกัน ทำนองเดียวกับเงินยูโร
- มีกองกำลังพันธมิตรทางการทหาร ทำนองเดียวกับกองกำลังพันธมิตรป้องกันแอตแลน-ติกเหนือ (NATO) และ
- การจัดตั้งศาลอาเซียน
สำหรับในระยะสั้นคาดว่าโครงการที่น่าจะบรรลุได้ คือ AFTA AIA และ AICO ระยะกลาง ได้แก่ AFAS ภารกิจ ข้อ 1 - 4 ส่วน ข้อ 5 - 9 คาดว่าจะแล้วเสร็จในระยะยาว ส่วน โครงการที่ต้องการใช้เวลายาวพิเศษ และต้องใช้ความพยายามสูงอย่างยิ่ง ได้แก่ ข้อ 10 - 12
สำหรับ กลยุทธ์ ที่จะต้องนำมาใช้เพื่อไปสู่เป้าหมายนั้น ควรมุ่งไปที่ การลดช่องว่างของความแตกต่างระหว่างกลุ่มสมาชิกเดิม (ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโด- นีเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน) และสมาชิกใหม่ (CLMV) ซึ่งอาเซียนก็ดำเนินการอยู่แล้วตาม IAI
- แต่งตั้งคณะกรรมาธิการอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับการบูรณาการด้านความยากจน โดยประกอบด้วยรัฐมนตรีจากประเทศสมาชิก (a Ministerial level ASEAN Committee on the Poverty Implications of Integration (ACPII)
- จัดตั้งองค์กรหลักเพื่อดำเนินการกำกับ จัดการ ปฏิบัติงาน และประสานงานในเรื่องของ AEC และ RIA โดยรวม
- ก่อตั้งองค์กรกลาง หรือธนาคารกลางของอาเซียน เพื่อดำเนินการกำกับ จัดการ ประกอบการ และประสานงานในเรื่องของเงินสกุลเดียว
- ก่อตั้งกองกำลังพันธมิตรอาเซียน ศาลอาเซียน และองค์กรสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง
ในส่วนของ แผนปฏิบัติการ ทุกประเทศสมาชิกสามารถดำเนินการในทุกโครงการพร้อมกัน เนื่องจากต้องใช้เวลาในการดำเนินการมาก-น้อยต่างกัน ได้แก่
- การฝึกอบรม ฝึกฝน ให้ความช่วยเหลือทางเทคนิควิชาการ เพื่อการพัฒนาความรู้ความสามารถแก่สมาชิกในกลุ่ม CLMV
- การพัฒนาปรับปรุงคุณภาพ และศักยภาพของทรัพยากรบุคคลด้วยการให้การศึกษา และฝึกฝนสร้างความชำนาญ โดยมุ่งเน้นที่ภาคอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมในท้องถิ่นนั้น ๆ
- วัดระดับความแตกต่างของระดับรายได้และมาตรฐานการครองชีพของประชากรในประเทศสมาชิก ซึ่งอาจจำเป็นต้องมี ACPII กำกับดูแล และปฏิบัติงาน เพื่อวางแผนการดำเนินการในการพัฒนาแก้ไขให้ตรงเป้าหมายต่อไป
- เร่งผลักดันความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ที่มีอยู่เดิม ได้แก่ AFTA AIA AICO หรือความร่วมมือใหม่ด้านอื่น ๆ ได้แก่ AFAS ให้บรรลุผลเร็วยิ่งขึ้น โดยการพิจารณาถึงปัญหา ข้อติดขัดต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการมาแล้ว และที่จะดำเนินการต่อไป รวมถึงอุปสรรคปัญหาภายในที่ต้องเร่งแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อจำกัดทางกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กฎหมายส่งเสริมการลงทุน กฎหมายสรรพากร-ศุลกากร กฎหมายส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งต้องใช้เวลายาวนาน
- เร่งพัฒนาปรับปรุงสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุความร่วมมือในแต่ละเรื่อง ได้แก่ กรณี e-ASEAN จำเป็นต้องก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อการเชื่อมโยงเครือข่ายทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบไฟฟ้าที่เข้าถึงทั่วประเทศ มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่แพร่หลาย ประชากรสามารถซื้อหาได้ และมาตรฐานค่าครองชีพ
- การเปิดเสรีการลงทุน การค้า การบริการ จำเป็นต้องสร้างความแข็งแกร่งภายในประเทศ โดยพัฒนามาตรฐานและศักยภาพภายในให้สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การฝึกฝน อบรม การไปดูงานในต่างประเทศที่มีประสิทธิภาพ
- การนำระบบการเชื่อมโยงด้วยอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในทุกระบบงาน เพื่อลดงาน ย่นระยะเวลาที่ใช้ เพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร เพื่อรองรับ e-ASEAN ที่จะมีการเชื่อมโยงเครือข่ายกันทั้งอาเซียน
- สร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อการเชื่อมโยงเครือข่ายภายในประเทศและระหว่าง อาเซียน รวมถึงระบบการขนส่งโทรคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ เช่น ท่ารถ ท่าเรือ ท่าอากาศยาน เคเบิล และระบบการเชื่อมโยงไร้สายอื่น ๆ เป็นต้น
- สร้างระเบียบวินัยประชาชนในชาติ มีการอบรมสั่งสอนที่ลงไปถึงต้นตอตั้งแต่วัยเยาว์ สร้างจิตสำนึกในความร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาชาติ เคลื่อนย้ายเสรีของแรงงานมีฝีมือ และทุกแผนงานที่มีร่วมกันในอาเซียน
อนึ่ง กรณียกเว้นการตรวจลงตราการตรวจคนเข้าเมืองด้วยระบบการเชื่อมโยงข้อมูลเครือข่าย ปัจจุบันเริ่มมีความร่วมมือในเรื่องการไม่ต้องใช้วีซ่าเข้าประเทศกับหลายประเทศแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วีซ่าราชการในกลุ่มอาเซียนบางประเทศ แต่ยังไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลเครือข่ายที่เป็นระบบเดียวกัน ความร่วมมือนี้จะมีพัฒนาได้มากยิ่งขึ้น หากมีระบบการเชื่อมโยงข้อมูลเครือข่ายที่จะช่วยให้การควบคุมระหว่างอาเซียนมีประสิทธิผล ซึ่งการเชื่อมโยงนี้เกี่ยวเนื่องกับสาธารณูปโภคพื้นฐานภายในประเทศสมาชิกอาเซียนที่ต้องมีการพัฒนาเสียก่อน
ขณะเดียวกัน พัฒนาการของโครงการนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัญหาภายในของแต่ละประเทศสมาชิกด้วย ไทยมีปัญหาเรื่องคนต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองจำนวนมาก หรือคนไทยที่ชอบข้ามไปเล่น การพนันในประเทศเพื่อนบ้าน การลักลอบขนส่งยาเสพติดจากประเทศเพื่อนบ้าน ปัญหาผู้ก่อการร้ายข้ามชาติ ฯลฯ ซึ่งระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยลดปัญหาเหล่านี้
ส่วน การรวมสกุลเงินจะเกิดขึ้นได้หากแผนปฏิบัติการข้างต้นประสบผลสำเร็จ ช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกเดิมและใหม่จะไม่มี หรือเหลือน้อยที่ กรณีศาลอาเซียนนั้น น่าจะได้เข้ามาดำเนินการในเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึง ข้อขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งอาจดูตัวอย่างจากศาลของ EEC ที่ได้มีการจัดตั้งแล้ว อย่างไรก็ดีอาจเป็นเรื่องยากที่จะมีการจัดตั้งขึ้น เนื่องจากทุกประเทศยังคงหวงแหนอธิปไตยทางการศาลเป็นอย่างยิ่ง
สำหรับกรณี กองกำลังพันธมิตรอาเซียนก็อาจไม่เกิดเช่นกัน หากเป็นองค์กรมีอำนาจหน้าที่ช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ถูกรุกรานอย่าง NATO และมีอำนาจหน้าที่ครอบคลุมถึงการรักษาความสงบสุขภายในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากแต่ละประเทศ อาทิ พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปินส์ ต่างมีความขัดแย้งภายใน ซึ่งประเทศเหล่านี้คงไม่ต้องการให้ ผู้ใด หรือกองกำลังใดเข้ามาแทรกแซง เมื่อกองกำลังพันธมิตรอาเซียนไม่สามารถเข้าไปดำเนินการใดข้างต้น ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะจัดตั้ง เพราะเป็นเสือกระดาษโดยสิ้นเชิง
อย่างไรก็ตาม สูตร 2 + X ของอาเซียน กรณีประเทศสมาชิกอาเซียนตั้งแต่สองประเทศมีความพร้อมในเรื่องใดก่อน ก็สามารถร่วมมือกันได้ก่อน เป็นสูตรที่ทำให้ความร่วมมือมีความคืบหน้า ชัดเจน ช่วยเร่งให้ความร่วมมือโดยรวมบรรลุผลได้เร็วยิ่งขึ้น รวมถึงสูตร ASEAN plus ที่ขยายความร่วมมือออกนอกกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในก้าวแรกที่ออกไปสู่เพื่อนบ้านอย่างจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และที่จะขยายต่อไปถึงออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ก็จะยิ่งสนับสนุนส่งเสริมให้การจัดตั้งประชาคมทางเศรษฐกิจของอาเซียน และการบูรณาการอาเซียนประสบผลได้เร็วยิ่งขึ้น
ปัจจัยสำคัญที่สุดต่อความสำเร็จตามแผนการบูรณาการทางเศรษฐกิจของอาเซียน ไปสู่การเป็นประชาคมทางเศรษฐกิจอาเซียน และแผนบูรณาการอาเซียน ไม่ใช่อยู่ที่แผนปฏิบัติการที่เลิศหรู วิสัยทัศน์ที่สวยงาม แต่เป็นความตั้งใจมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกอาเซียนที่พร้อมจะก้าวไปสู่เป้าหมาย และวิสัยทัศน์ร่วมกันอย่างแท้จริง
» ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» แถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (เอเอชอาร์ดี)
» ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» แผนงานการจัดตั้ง ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
» ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
» ปฏิญญาชะอำ หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน (2552-2558)
» ความตกลงสำคัญเรื่องความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในกรอบอาเซียน
» แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียนปี 2547
» สิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องต้องใช้เวลา
» เงินสกุลอาเซียน ความฝันที่ใกล้เป็นจริง
» 7 ปรากฏการณ์ Social Network ในอาเซียน
» คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» ความร่วมมือของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
» ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
» ความร่วมมือทางทะเลในกรอบอาเซียน
» การบริหารจัดการภัยพิบัติ (พลเรือน)
» คณะกรรมาธิการอาเซียนเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก
» ความร่วมมือด้านการศึกษาอาเซียน
» ความร่วมมืออาเซียนด้านสาธารณสุข
» ASEAN-India Car Rally ครั้งที่ 2 ฉลองครบรอบ 20 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย
» การประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 47 ณ กรุงฮานอย เวียดนาม
» ความไว้เนื้อเชื่อใจ กุญแจที่ขาดหายไปในทะเลจีนใต้
» ASEAN Gay Rights บทบาทรุกหรือรับ
» จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
» รายชื่อโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
» การขับเคลื่อนโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
» อินโดนีเซียคาดเศรษฐกิจขยายตัวเร็วขึ้น,ยอดขาดดุลงบประมาณลดลงในปี 2556
» กบง.เล็งถกด่วนวันนี้ ลดเก็บเงินเข้ากองทุนฯ อีกระลอกหลังค่าการตลาดลดต่ำ
» พาณิชย์ขนทัพปาล์ม-ยาง-ไม้เปิดตลาดพม่า
» เอกชนจี้รัฐแก้ภาษีซ้อนเออีซีดันเปิดสาขาแบงก์ไทยในพม่า
» ความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา รุดหน้าถกแผนเศรษฐกิจ 3 ปี
» พาณิชย์จัดประชุม JTC กระชับความสัมพันธ์การค้าการลงทุน ไทย-กัมพูชา
» สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
» กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)
» แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)
» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ บูรณาการอาเซียน
» การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน