ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์
ประชาคมอาเซียน
สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน
ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
ภูมิหลัง
1. เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2541 รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ได้ร่วมกันลงนามใน ปฏิญญาร่วมสำหรับการเป็นเขตปลอดยาเสพติดอาเซียน ภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) เพื่อเป็น การยืนยันพันธะผูกพันของประเทศสมาชิกอาเซียนที่จะขจัดการผลิต กระบวนการแปรรูป การ ลักลอบค้า และการใช้ยาเสพติดที่ผิดกฎหมายในภูมิภาคอาเซียน ภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) ต่อมาในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 33 เมื่อปี 2543 (ค.ศ. 2000) ได้ เห็นชอบที่จะร่นระยะเวลาของปีเป้าหมายของการเป็นเขตปลอดยาเสพติดเร็วขึ้น จากปี 2563 (ค.ศ. 2020) เป็นปี 2558 (ค.ศ. 2015) เพื่อให้เป้าหมายของการเป็นเขตปลอดยาเสพติด สอดคล้องกับปีเป้าหมายของการเป็นประชาคมอาเซียน ทั้งนี้ เรื่องอาเซียนปลอดยาเสพติด ได้ถูก บรรจุอยู่ในแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน และแผนงานการจัดตั้ง ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนด้วย
2. เลขาธิการอาเซียนได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเสนอให้บรรจุ เรื่อง Realizing Drug-Free ASEAN 2015 เป็นหัวข้อการหารือของผู้นำอาเซียนในการประชุมสุดยอด อาเซียน ครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 3-4 เมษายน 2555 เนื่องจากเห็นว่า ผู้นำอาเซียนจำเป็นต้องให้ แรงกระตุ้นทางการเมือง (political impetus) แก่องค์กรเฉพาะสาขา (Sectoral Bodies) ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการให้อาเซียนเป็นประชาคมที่ปลอดจากยาเสพติดภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตาม เป้าหมายที่กำหนดไว้
3. ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 20 เมื่อวันที่ 2-4 เมษายน 2555 ที่กรุง พนมเปญ ทุกประเทศได้ให้การสนับสนุนปฏิญญาอาเซียนดังกล่าว และเห็นว่า ยาเสพติดเป็นความ ท้าทายร่วมของภูมิภาค ทั้งนี้ เมียนมาร์แจ้งว่า จะเร่งดำเนินการให้เมียนมาร์ปลอดยาเสพติดในปี 2557 (ค.ศ. 2014) ในส่วนของไทย ได้ขอให้ทุกประเทศให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหา ยาเสพติดเป็นวาระสำคัญของอาเซียน และได้เสนอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนวาระ พิเศษว่าด้วยเรื่องยาเสพติดภายในปี 2555
4. ประเทศไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) กำหนดจะจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนวาระพิเศษว่าด้วยเรื่องยาเสพติด ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม 1 กันยายน 2555 ที่โรงแรมแชกรีล่า กรุงเทพ ฯ
กรอบความร่วมมือของอาเซียนในด้านยาเสพติด
กลไกของอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านยาเสพติด ซึ่งอยู่ภายใต้ที่ประชุมระดับรัฐมนตรี ด้านอาชญากรรมข้ามชาติ (ASEAN Ministerial Meeting on Transnational Crime AMMTC) มี ดังนี้
1. การประชุมประจำปีของเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านยาเสพติด (ASEAN Senior Officials on Drug Matters ASOD) โดยเริ่มมีการประชุมเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2519 โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการต่อต้านยาเสพติด และแสวงหามาตรการต่างๆ ทั้งใน ด้านการปราบปราม การป้องกัน และการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยประเทศสมาชิกจะ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพเรียงตามลำดับตัวอักษร ทั้งนี้ การประชุมในกรอบนี้ จัดมาแล้ว 32 ครั้ง และประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ครั้งที่ 27 ระหว่างวันที่ 1-2 สิงหาคม 2549
2. การประชุมประจำปีของเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนว่าด้วยอาชญากรรมข้ามชาติ (ASEAN Senior Officials on Transnational Crime SOMTC) ซึ่งจะดูแลภาพรวมด้านอาชญากรรม ข้ามชาติทั้งหมด ทั้งนี้ ที่ประชุม AMMTC ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2540 ได้ร่วมลงนามในปฏิญญาอาเซียน ว่าด้วยอาชญากรรมข้ามชาติ (ASEAN Declaration on Transnational Crime) และต่อมาในการ ประชุม AMMTC ครั้งที่ 3 เมื่อปี 2544 ได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อต่อต้านอาชญากรรม ข้ามชาติ (Work Programme to Implement the ASEAN Plan of Action to Combat Transnational Crime) โดยกำหนดความร่วมมือในด้านการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติทั้งหมด 8 ด้าน โดยเรื่องการลักลอบค้ายาเสพติดเป็น 1 ใน 8 ความร่วมมือ นั้น และไทยได้รับมอบหมายให้ เป็นผู้รับผิดชอบหลัก (Lead Shepherd) ด้านการปราบปรามยาเสพติด โดยมีสำนักงานป้องกันและ ปราบปรามยาเสพติดเป็นหน่วยงานหลัก และสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นหน่วยงานสนับสนุน
3. การประชุมผู้อำนวยการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง หัวหน้ากรมการกงสุลของกระทรวง การต่างประเทศ (ASEAN Directors of Immigration Departments and Heads of Consular Affairs Divisions on the Ministries of Foreign Affairs DGCIM) ซึ่งเป็นการประชุมประสานงาน หน่วยปฎิบัติในด้านการต่อต้านยาเสพติด
4. การประชุมประจำปีในกรอบ ARF Inter-Sessional Meeting on Counter Terrorism and Transnational Crime (ARF on ISM-CTTC) เป็นการหารือและติดตามผลการดำเนินการ ภายใต้ ARF CTTC Work Plan โดยไทยได้รับมอบหมายให้เป็น Lead Country ด้านการต่อต้าน ยาเสพติดที่มา : กองอาเซียน 1 กรมอาเซียน สิงหาคม 2555
» ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» แถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (เอเอชอาร์ดี)
» ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» แผนงานการจัดตั้ง ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
» ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
» ปฏิญญาชะอำ หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน (2552-2558)
» ความตกลงสำคัญเรื่องความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในกรอบอาเซียน
» แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียนปี 2547
» สิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องต้องใช้เวลา
» เงินสกุลอาเซียน ความฝันที่ใกล้เป็นจริง
» 7 ปรากฏการณ์ Social Network ในอาเซียน
» คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» ความร่วมมือของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
» ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
» ความร่วมมือทางทะเลในกรอบอาเซียน
» การบริหารจัดการภัยพิบัติ (พลเรือน)
» คณะกรรมาธิการอาเซียนเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก
» ความร่วมมือด้านการศึกษาอาเซียน
» ความร่วมมืออาเซียนด้านสาธารณสุข
» ASEAN-India Car Rally ครั้งที่ 2 ฉลองครบรอบ 20 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย
» การประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 47 ณ กรุงฮานอย เวียดนาม
» ความไว้เนื้อเชื่อใจ กุญแจที่ขาดหายไปในทะเลจีนใต้
» ASEAN Gay Rights บทบาทรุกหรือรับ
» จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
» รายชื่อโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
» การขับเคลื่อนโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
» อินโดนีเซียคาดเศรษฐกิจขยายตัวเร็วขึ้น,ยอดขาดดุลงบประมาณลดลงในปี 2556
» กบง.เล็งถกด่วนวันนี้ ลดเก็บเงินเข้ากองทุนฯ อีกระลอกหลังค่าการตลาดลดต่ำ
» พาณิชย์ขนทัพปาล์ม-ยาง-ไม้เปิดตลาดพม่า
» เอกชนจี้รัฐแก้ภาษีซ้อนเออีซีดันเปิดสาขาแบงก์ไทยในพม่า
» ความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา รุดหน้าถกแผนเศรษฐกิจ 3 ปี
» พาณิชย์จัดประชุม JTC กระชับความสัมพันธ์การค้าการลงทุน ไทย-กัมพูชา
» สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
» กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)
» แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)
» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ บูรณาการอาเซียน
» การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน