ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์

ประชาคมอาเซียน

สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน

ความร่วมมือของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์

1. สถานการณ์ในอาเซียน

อาเซียนเป็นภูมิภาคที่ประสบปัญหาการค้ามนุษย์มากที่สุดภูมิภาคหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการ มนุษย์ภายในภูมิภาค การเปิดพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงทำให้การเดินทางข้ามแดนเป็นไปได้ สะดวกขึ้น และในปัจจุบัน หลายประเทศในอาเซียน เป็นทั้งต้นทาง ทางผ่าน และปลายทางในการค้า มนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สตรีและเด็ก

2. การดำเนินการของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์

ปัญหาการค้าสตรีและเด็กได้รับการกล่าวถึงครั้งแรก โดยผู้นำอาเซียนในการประชุมผู้นำอาเซียน อย่างไม่เป็นทางการ ในปี พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) และได้มีการเรียกร้องให้มีมาตรการที่เข้มงวดในการ ต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งรวมถึงการค้าสตรีและเด็ก ซึ่งในการประชุมครั้งนั้นได้มีการรับรอง วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 ซึ่งได้กำหนดให้มีแนวปฏิบัติ และมาตรการความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาของ ภูมิภาค ซึ่งรวมถึงการค้าสตรีและเด็ก

ในปี พ.ศ. 2541 (1998) ผู้นำอาเซียนได้รับรองแผนปฏิบัติการฮานอย เพื่อเป็นแผนแม่บทสำหรับ อาเซียนในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมภายหลังวิกฤตการณ์ทางการเงิน โดยแผนดังกล่าวเรียกร้องให้มี การเสริมสร้างความร่วมมือในการต่อต้านการค้าและการกระทำรุนแรงต่อสตรีและเด็ก

ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ที่เวียงจันทน์ ได้ให้การ รับรองปฎิญญาอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (ASEAN Declaration Against Trafficking in Persons Particularly Women and Children) ซึ่งกำหนด แนวทางความร่วมมือระหว่างหน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองของประเทศอาเซียน และได้รับรองแผนปฏิบัติ การเวียงจันทน์ (Vientaine Action Programme – VAP) ซึ่งประกอบด้วยแผนการดำเนินงานใน 3 เสา หลักอาเซียน (ประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและ วัฒนธรรมอาเซียน) ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการดังกล่าวยังได้ครอบคลุมถึงการส่งเสริมความร่วมมือในการ ต่อต้านการค้ามนุษย์ด้วย

3. กลไกของอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการค้ามนุษย์

3.1 การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ (ASEAN Ministerial Meeting on Transnational Crime – AMMTC) การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ (Senior Officials Meeting on Transnational Crime – SOMTC) โดยมีสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลัก

3.2 คณะกรรมการอาเซียนด้านสตรี (ASEAN Committee on Women) โดยมีสำนักกิจการสตรี และสถาบันครอบครัว เป็นหน่วยงานหลัก

3.3 การประชุมผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมิอง และหัวหน้าฝ่ายกงสุล กระทรวงการ ต่างประเทศของอาเซียน (Meeting of the ASEAN Directors-General of Immigration Department and Heads of Consular Affairs Divisions of the Ministries of Foreign Affairs – DGCIM) โดยมีสำนักงาน ตรวจคนเข้าเมือง และกรมการกงสุลเป็นหน่วยงานหลัก

4. การดำเนินการในกรอบ SOMTC/AMMTC

ที่ประชุม SOMTC ครั้งที่ 2 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2545 ได้เห็นชอบ แผนการดำเนินงานตามแผนปฎิบัติการเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ (Work Programme to Implement the ASEAN Plan of Action to Combat Transnational Crime) ซึ่งระบุความร่วมมือในการ ต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ 8 ด้าน ซึ่งการต่อต้านการค้ามนุษย์ เป็นหนึ่งในความร่วมมือ 8 ด้านนั้น โดย ได้มีการระบุถึงความร่วมมือในด้านต่างๆ อาทิ การแลกเปลี่ยนข่าวสาร ความร่วมมือทางด้านกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย การฝึกอบรม การเสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กร และความร่วมมือกับ ประเทศภายนอก เป็นต้น

5. บทบาทของไทยในกรอบอาเซียน

ไทยให้ความสำคัญต่อปัญหาการค้ามนุษย์ และได้แสดงบทบาทและเข้าร่วมในกี่ประชุมในกรอบ อาเซียนอย่างสม่ำเสมอ ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนว่าด้วยอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 6 (พฤศจิกายน 2550) ได้ตกลงใจที่จะพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการค้ามนุษย์ (ASEAN Convention) ต่อมา ที่ประชุม SOMTC ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนมิถุนายน 2551 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ได้เห็นชอบในหลักการที่จะร่วมกันพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะจัดทำอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วย การค้ามนุษย์ (ASEAN Convention on Trafficking in Persons) อันเป็นข้อเสนอของอินโดนีเซียโดย มอบหมายให้ฟิลิปปินส์ ในฐานะ Lead Shepherd ด้านการค้ามนุษย์พิจารณาจัดการประชุมเพื่อหารือถึง ความเป็นไปได้ในการจัดทำอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการค้ามนุษย์ข้างต้น ต่อมา ในที่ประชุม SOMTC ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน – 4 กรกฎาคม 2552 ณ เมืองเนปิดอว์ สหภาพพม่า ที่ประชุมมีมติ ให้ส่งความเห็นเรื่องการเจรจาความเป็นไปได้เรื่องการจัดทำอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้า มนุษย์ให้กับสำนักเลขาธิการอาเซียนต่อไป ซึ่งประเทศสมาชิกเห็นชอบในหลักการในการจัดทำอนุสัญญา ดังกล่าว และอนุสัญญา ฯ ควรส่งเสริมการดำเนินงานของกฎหมายภายในประเทศในเรื่องการค้ามนุษย์ ใน ส่วนของกระทรวง ฯ ไม่มีข้อขัดข้องต่อการจัดทำอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการค้ามนุษย์ดังกล่าว หากการ ดำเนินการไม่ซ้ำซ้อนและสอดคล้องกับมาตรการและพันธกรณีที่ไทยมีอยู่ (โดยเฉพาะพ.ร.บ.ป้องกันและ ปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551) ทั้งนี้ ควรรวมถึงการดำเนินมาตรการเชิงป้องกัน การคุ้มครอง การ ปราบปราม และการคุ้มครองด้วย

ที่มา : กองอาเซียน 1 กรมอาเซียน สิงหาคม 2555

» ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» แถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (เอเอชอาร์ดี)

» ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» แผนงานการจัดตั้ง ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

» ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

» ปฏิญญาชะอำ หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน (2552-2558)

» ความตกลงสำคัญเรื่องความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในกรอบอาเซียน

» แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียนปี 2547

» กลไกระงับข้อพิพาทในอาเซียน

» สิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องต้องใช้เวลา

» เงินสกุลอาเซียน ความฝันที่ใกล้เป็นจริง

» 7 ปรากฏการณ์ Social Network ในอาเซียน

» คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» ความร่วมมือของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์

» ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด

» ความร่วมมือทางทะเลในกรอบอาเซียน

» การบริหารจัดการภัยพิบัติ (พลเรือน)

» คณะกรรมาธิการอาเซียนเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก

» ความร่วมมือด้านการศึกษาอาเซียน

» ความร่วมมืออาเซียนด้านสาธารณสุข

» ASEAN-India Car Rally ครั้งที่ 2 ฉลองครบรอบ 20 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย

» การประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 47 ณ กรุงฮานอย เวียดนาม

» ประชาคมอาเซียนกับนวัตกรรม

» ความไว้เนื้อเชื่อใจ กุญแจที่ขาดหายไปในทะเลจีนใต้

» ASEAN Gay Rights บทบาทรุกหรือรับ

» จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

» รายชื่อโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน

» การขับเคลื่อนโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

» อินโดนีเซียคาดเศรษฐกิจขยายตัวเร็วขึ้น,ยอดขาดดุลงบประมาณลดลงในปี 2556

» กบง.เล็งถกด่วนวันนี้ ลดเก็บเงินเข้ากองทุนฯ อีกระลอกหลังค่าการตลาดลดต่ำ

» พาณิชย์ขนทัพปาล์ม-ยาง-ไม้เปิดตลาดพม่า

» เอกชนจี้รัฐแก้ภาษีซ้อนเออีซีดันเปิดสาขาแบงก์ไทยในพม่า

» 45 ปีอาเซียน

» เพลงประจำอาเซียน

» ครึ่งทางสู่ AEC ปี 2015

» ความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา รุดหน้าถกแผนเศรษฐกิจ 3 ปี

» พาณิชย์จัดประชุม JTC กระชับความสัมพันธ์การค้าการลงทุน ไทย-กัมพูชา

» อาเซียน (ASEAN)

» สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)

» กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)

» ประเทศสมาชิกอาเซียน

» ธงชาติอาเซี่ยน

» ไทยกับอาเซียน

» แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)

» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ บูรณาการอาเซียน

» อาเซียน +3

» การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

» ปัญหาในการรวมกลุ่มและความก้าวหน้าของอาเซียน

» ความสัมพันธ์อาเซียน-ยุโรป

» สาระน่ารู้เกี่ยวกับอาเซียน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย