ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์

ประชาคมอาเซียน

สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน

สิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องต้องใช้เวลา

โดย : ภาโณตม์ ปรีชญานุต

เมื่อ 20 ปีที่แล้ว คงมีน้อยคนที่จะเชื่อว่าการมีองค์กรหรือกลไกเรื่องสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ สืบเนื่องจากการที่หลายประเทศในอาเซียนอาจมีทัศนะทางการเมืองที่ไม่ได้ เอื้ออำนวยให้เรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นประเด็นหลักในการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ในทางตรงข้าม อาจมองว่าเป็นเรื่อง ที่ทำให้รัฐบาลในประเทศอาเซียนบางประเทศถูกโจมตีจากสังคมภายนอกได้ จนกระทั่งอาเซียนเองไม่ยอมให้ถ้อยคำ เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนปรากฏในเอกสารทางการของอาเซียนมาเป็นเวลาหลายปี

การตื่นตัวในเรื่องสิทธิมนุษยชน นอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นการบรรลุความตกลง ด้านสิทธิมนุษยชนในปฏิญญาและแผนปฏิบัติการเวียนนา หรือการก่อตั้งองค์กรระหว่างประเทศในเรื่องสิทธิมนุษยชน ในภูมิภาคอื่นๆ ได้ส่งผลให้รัฐบาลประเทศสมาชิกอาเซียนตระหนักถึงความสำคัญที่จะส่งเสริมเรื่องสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ทั้งนี้ ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 26 ในเดือนมิถุนายน 2536 ได้จุดประกายในเรื่องนี้ขึ้น โดยที่ประชุมมีมติ ให้อาเซียนจัดตั้งกลไกด้านสิทธิมนุษยชนขึ้น แต่อย่างไรก็ดีการผลักดันเรื่องความร่วมมือในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีใน อาเซียน และการรับประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนได้บดบังและเลื่อนการจัดตั้งกลไกด้านสิทธิมนุษยชนออกไป จนกระทั่งในช่วงการทำแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ในปี 2544 และในการจัดทำกฎบัตรอาเซียนในปี 2548-2551 ที่ทำให้เรื่องสิทธิมนุษยชนได้กลับมาปรากฏอีกครั้ง ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 42 เมื่อเดือน กรกฎาคม 2552 ได้เสนอให้จัดตั้งองค์กรระดับภูมิภาคด้านสิทธิมนุษยชนที่เรียกว่า คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียน ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights-AICHR) ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ นี้ ได้ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 ที่อำเภอชะอำ-หัวหิน เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2552 โดยการประกาศจัดตั้งองค์กรดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงที่ไทยเป็นประธานอาเซียนซึ่งได้มีบทบาทสำคัญมากในการ ประนีประนอมให้ทุกประเทศสมาชิกที่มีความเห็นหลากหลายในเรื่องนี้ ยอมรับการจัดตั้ง AICHR ได้ในที่สุด

ในถ้อยคำตอนหนึ่งของปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ที่ผู้นำอาเซียนประกาศเนื่องในโอกาสการจัดตั้ง AICHR ซึ่งระบุไว้ว่า AICHR เป็น“จุดหมายสำคัญทางประวัติศาสตร์ในกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียน และ(เป็น)พาหนะที่จะนำไปสู่ การพัฒนาสังคมที่ก้าวหน้าและยุติธรรม (รวมทั้ง) การบรรลุอย่างเต็มที่ซึ่งศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และการมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนอาเซียน” เป็นการกล่าวถึงเจตนารมณ์ของประเทศสมาชิกอาเซียนที่จะดำเนินการในเรื่องนี้ ในขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างความมุ่งหวังอย่างสูงแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ต้องการผลักดันประเด็นสิทธิมนุษยชน ในทุกประเด็นที่ตนสนใจ

ในช่วงเกือบสองปีที่ผ่านมา หลังการจัดตั้ง AICHR สาธารณชนเริ่มตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการทำงานของ AICHR ทั้งในด้านที่ว่า AICHR ไม่ได้มีกิจกรรมส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เป็นรูปธรรม หรือการที่ AICHR อาจดูเสมือน เป็นเสือกระดาษที่ไม่ได้มีอำนาจจัดการกับผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ ผู้ที่เข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง จะต้องเข้าใจว่า เรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและการผลักดันการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนใน ภูมิภาคอาจต้องใช้วิธีการอย่างค่อยเป็นค่อยไป หากเปรียบกับการรักษาคนไข้ก็ต้องมีแพทย์ผู้รักษาที่เข้าใจถึงลักษณะ และรูปแบบของแผลให้ทั่วถึงก่อนที่จะหายาและวิธีรักษาที่เหมาะสม ซึ่งในช่วงสองปีที่ผ่านมา แพทย์ส่วนใหญ่ยังคงใช้ ยาแผนโบราณอย่างเดียวในการรักษา ในขณะเดียวกันแพทย์แผนสมัยใหม่ก็ยังไม่สามารถอธิบายให้คนไข้เข้าใจถึง ประสิทธิภาพของยาที่คนไข้ไม่เคยลองใช้ ซึ่งแพทย์คงจะต้องใช้เวลาอธิบายถึงสรรพคุณของยาแก่คนไข้ทั้งนี้ คนไข้เองก็จะ ต้องเปิดใจรับการใช้ยาและวิธีการรักษาแบบใหม่ด้วย

การดำเนินงานในเรื่องสิทธิมนุษยชนในอาเซียนจะต้องใช้เวลา และเป็นเรื่องค่อยเป็นค่อยไป ในปี 2555 AICHR จะดำเนินการร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้แล้วเสร็จ ซึ่งถือเป็นก้าวที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งของอาเซียน โดยใน ช่วงเวลาร่างปฏิญญาฉบับนี้ ทุกประเทศควรใช้โอกาสที่มีอยู่อธิบายให้ประชาชนของตนเข้าใจและตระหนักถึงสิทธิ ขั้นพื้นฐาน สิทธิที่พึงมี รวมทั้งจูงใจให้ประชาชนเคารพในสิทธิและหน้าที่ของตนเองและของผู้อื่น ในขณะเดียวกัน การดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปของทุกภาคส่วนจะเป็นการสร้างพื้นฐานที่แข็งแรงต่ออาเซียนในเรื่องสิทธิมนุษยชน เพื่อก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนที่มั่นคง ต่อไปที่มา : กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ

» ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» แถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (เอเอชอาร์ดี)

» ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» แผนงานการจัดตั้ง ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

» ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

» ปฏิญญาชะอำ หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน (2552-2558)

» ความตกลงสำคัญเรื่องความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในกรอบอาเซียน

» แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียนปี 2547

» กลไกระงับข้อพิพาทในอาเซียน

» สิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องต้องใช้เวลา

» เงินสกุลอาเซียน ความฝันที่ใกล้เป็นจริง

» 7 ปรากฏการณ์ Social Network ในอาเซียน

» คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» ความร่วมมือของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์

» ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด

» ความร่วมมือทางทะเลในกรอบอาเซียน

» การบริหารจัดการภัยพิบัติ (พลเรือน)

» คณะกรรมาธิการอาเซียนเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก

» ความร่วมมือด้านการศึกษาอาเซียน

» ความร่วมมืออาเซียนด้านสาธารณสุข

» ASEAN-India Car Rally ครั้งที่ 2 ฉลองครบรอบ 20 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย

» การประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 47 ณ กรุงฮานอย เวียดนาม

» ประชาคมอาเซียนกับนวัตกรรม

» ความไว้เนื้อเชื่อใจ กุญแจที่ขาดหายไปในทะเลจีนใต้

» ASEAN Gay Rights บทบาทรุกหรือรับ

» จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

» รายชื่อโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน

» การขับเคลื่อนโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

» อินโดนีเซียคาดเศรษฐกิจขยายตัวเร็วขึ้น,ยอดขาดดุลงบประมาณลดลงในปี 2556

» กบง.เล็งถกด่วนวันนี้ ลดเก็บเงินเข้ากองทุนฯ อีกระลอกหลังค่าการตลาดลดต่ำ

» พาณิชย์ขนทัพปาล์ม-ยาง-ไม้เปิดตลาดพม่า

» เอกชนจี้รัฐแก้ภาษีซ้อนเออีซีดันเปิดสาขาแบงก์ไทยในพม่า

» 45 ปีอาเซียน

» เพลงประจำอาเซียน

» ครึ่งทางสู่ AEC ปี 2015

» ความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา รุดหน้าถกแผนเศรษฐกิจ 3 ปี

» พาณิชย์จัดประชุม JTC กระชับความสัมพันธ์การค้าการลงทุน ไทย-กัมพูชา

» อาเซียน (ASEAN)

» สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)

» กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)

» ประเทศสมาชิกอาเซียน

» ธงชาติอาเซี่ยน

» ไทยกับอาเซียน

» แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)

» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ บูรณาการอาเซียน

» อาเซียน +3

» การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

» ปัญหาในการรวมกลุ่มและความก้าวหน้าของอาเซียน

» ความสัมพันธ์อาเซียน-ยุโรป

» สาระน่ารู้เกี่ยวกับอาเซียน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย