ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์

ประชาคมอาเซียน

สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน

ความร่วมมือทางทะเลในกรอบอาเซียน

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญของเส้นทางการเดินเรือในภูมิภาค โดยมี ช่องแคบมะละกาที่เชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรอินเดีย ทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นเส้นทาง การเดินเรือที่สำคัญของภูมิภาคและของโลก เมื่อคำนึงว่า การค้าทางทะเลมีสัดส่วนถึงร้อยละ 90 ของ มูลค่าการค้าโลก ในจำนวนนี้ ร้อยละ 40 เป็นการค้าผ่านช่องแคบมะละกา พื้นที่ทะเลในภูมิภาคนี้ นอกจากเป็นเส้นทางคมนาคมหลักแล้ว ยังเป็นแหล่งอุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ เช่น น้ำมันดิบและ ก๊าซธรรมชาติ รัฐบาลไทยได้ดำเนินนโยบายเพื่อรักษาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ จากทะเลให้มากยิ่งขึ้นผ่านการขับเคลื่อนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในประเทศ และดำเนินนโยบาย ส่งเสริมความร่วมมือทางทะเลในอาเซียนผ่านกรอบและกลไกต่างๆ เช่น การประชุมหารืออาเซียนว่าด้วย ประเด็นทางทะเล (ASEAN Maritime Forum – AMF) การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้าน การเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum – ARF) และการประชุม รัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ASEAN Defense Ministers’ Meeting – ADMM)

ความร่วมมือทางทะเลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเน้นการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูล และประสบการณ์ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถและความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน และส่งเสริม ความร่วมมือในการแก้ไขและป้องปรามปัญหาภัยคุกคามที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงและ ผลประโยชน์ทางทะเลของประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ ปัญหาโจรสลัดและการปล้นสดมภ์ การก่อ การร้ายทางทะเล ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติต่างๆ เช่น ยาเสพติด การค้าอาวุธ และการค้ามนุษย์ รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือด้านทรัพยากรทางทะเล การเพิ่มขีด ความสามารถด้านการจัดการประมงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล การ พัฒนาชายฝั่ง การอนุรักษ์แนวปะการัง เพื่อคงความหลากหลายทางชีวภาพและความมั่นคงทาง อาหาร การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายศูนย์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสนับสนุนแนว ทางการแก้ไขปัญหาข้อพิพาททางทะเลโดยการเคารพกฎหมายระหว่างประเทศและกลไกในกรอบ อาเซียน เช่น อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (United Nations Convention on the Law of the Sea - UNCLOS) สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia - TAC) ปฏิญญาว่าด้วยการปฏิบัติของ ภาคีในทะเลจีนใต้ (Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea - DOC) และ โดยสันติวิธี

สรุปผลการประชุมอาเซียนว่าด้วยประเด็นทางทะเล ครั้งที่ 3

ฟิลิปปินส์ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมหารืออาเซียนว่าด้วยประเด็นทางทะเล ครั้งที่ 3 (ASEAN Maritime Forum - AMF3) และการประชุม Expanded ASEAN Maritime Forum ครั้งที่ 1 ระหว่าง วันที่ 3 - 5 ตุลาคม 2555 ที่กรุงมะนิลา ซึ่งที่ประชุมพิจารณาเรื่องสำคัญๆ สรุปได้ ดังนี้

1) ที่ประชุมเห็นควรให้ดำเนินการระงับข้อพิพาทและเขตแดนทางทะเลตามขั้นตอนและกรอบ กฎหมายระหว่างประเทศและกลไกในกรอบอาเซียนโดยปราศจากการใช้ความรุนแรง ที่ประชุมเห็นพ้อง กันว่า อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) เป็นพื้นฐานในการบริหารจัดการ เกี่ยวกับประเด็นความมั่นคงทางทะเล ซึ่งครอบคลุมทั้งในเรื่องเสรีภาพและความปลอดภัยในการเดินเรือ การอนุรักษ์ทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเล ตลอดจนสิทธิและหน้าที่ในกรณีที่เกิดความขัดแย้ง โดย ประเทศที่เป็นภาคีของ UNCLOS ควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงใน ภูมิภาค

2) เส้นทางการขนส่งทางน้ำนับเป็นเส้นทางสำคัญในอาเซียนโดยเฉพาะขนส่งสินค้า ที่ ประชุมเห็นควรขยายความร่วมมือ เช่น การแก้ไขปัญหาโจรสลัด และการปล้นสดมภ์ เพื่อให้การ เดินเรือเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ ที่ประชุมสนับสนุนการขยายความร่วมมือในการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนข้อมูล และประสบการณ์ระหว่างประเทศสมาชิก องค์กรระหว่างประเทศ และผู้มีส่วนได้ เสีย รวมถึงการจัดการอบรมและการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถและความ ไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน

3) ที่ประชุมได้ส่งเสริมและแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีในการรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล การ พัฒนาชายฝั่ง การเพิ่มขีดความสามารถด้านการจัดการประมง เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยใช้ กลไกในระดับภูมิภาคที่มีอยู่ การอนุรักษ์แนวปะการัง เพื่อคงความหลากหลายทางชีวภาพและความ มั่นคงทางอาหาร

ประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญ คือ การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิกในการ ร่วมกันจัดการกับปัญหาที่สำคัญของการสร้างประชาคมอาเซียน การมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรทางทะเลรวมทั้งบทบาทของไทยในการต่อต้านโจรสลัด ในภูมิภาคโดยส่งหน่วยลาดตระเวนร่วมที่ช่องแคบมะละกา ไทยยินดีที่จะมีการประชุม Expanded ASEAN Maritime Forum ครั้งที่ 1 เพื่อขยายความร่วมมือกับประเทศที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอด เอเชียตะวันออก (East Asia Summit - EAS) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจา ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย และ สหรัฐอเมริกา โดยการคงความเป็นศูนย์กลางและบทบาทนำของอาเซียน

ทั้งนี้ ไทยให้ความสำคัญกับการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารและข่าวกรองรวมทั้งการสร้างเครือข่าย ศูนย์ข้อมูลในภูมิภาค ความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ และปัญหาโจรสลัด อันจะ ช่วยส่งเสริมความปลอดภัยในการเดินเรือและการสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาค การปฏิบัติตาม กฎหมายระหว่างประเทศ เช่น UNCLOS และอนุสัญญาของ International Maritime Organization (IMO) ทั้งนี้ ไทยต้องการพัฒนาศักยภาพเกี่ยวกับชุดคุ้มครองเรือสินค้า ทั้งที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและ เอกชนบนเรือ

ที่มา : กองอาเซียน 1 กรมอาเซียน พฤศจิกายน 2555

» ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» แถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (เอเอชอาร์ดี)

» ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» แผนงานการจัดตั้ง ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

» ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

» ปฏิญญาชะอำ หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน (2552-2558)

» ความตกลงสำคัญเรื่องความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในกรอบอาเซียน

» แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียนปี 2547

» กลไกระงับข้อพิพาทในอาเซียน

» สิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องต้องใช้เวลา

» เงินสกุลอาเซียน ความฝันที่ใกล้เป็นจริง

» 7 ปรากฏการณ์ Social Network ในอาเซียน

» คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» ความร่วมมือของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์

» ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด

» ความร่วมมือทางทะเลในกรอบอาเซียน

» การบริหารจัดการภัยพิบัติ (พลเรือน)

» คณะกรรมาธิการอาเซียนเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก

» ความร่วมมือด้านการศึกษาอาเซียน

» ความร่วมมืออาเซียนด้านสาธารณสุข

» ASEAN-India Car Rally ครั้งที่ 2 ฉลองครบรอบ 20 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย

» การประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 47 ณ กรุงฮานอย เวียดนาม

» ประชาคมอาเซียนกับนวัตกรรม

» ความไว้เนื้อเชื่อใจ กุญแจที่ขาดหายไปในทะเลจีนใต้

» ASEAN Gay Rights บทบาทรุกหรือรับ

» จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

» รายชื่อโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน

» การขับเคลื่อนโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

» อินโดนีเซียคาดเศรษฐกิจขยายตัวเร็วขึ้น,ยอดขาดดุลงบประมาณลดลงในปี 2556

» กบง.เล็งถกด่วนวันนี้ ลดเก็บเงินเข้ากองทุนฯ อีกระลอกหลังค่าการตลาดลดต่ำ

» พาณิชย์ขนทัพปาล์ม-ยาง-ไม้เปิดตลาดพม่า

» เอกชนจี้รัฐแก้ภาษีซ้อนเออีซีดันเปิดสาขาแบงก์ไทยในพม่า

» 45 ปีอาเซียน

» เพลงประจำอาเซียน

» ครึ่งทางสู่ AEC ปี 2015

» ความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา รุดหน้าถกแผนเศรษฐกิจ 3 ปี

» พาณิชย์จัดประชุม JTC กระชับความสัมพันธ์การค้าการลงทุน ไทย-กัมพูชา

» อาเซียน (ASEAN)

» สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)

» กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)

» ประเทศสมาชิกอาเซียน

» ธงชาติอาเซี่ยน

» ไทยกับอาเซียน

» แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)

» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ บูรณาการอาเซียน

» อาเซียน +3

» การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

» ปัญหาในการรวมกลุ่มและความก้าวหน้าของอาเซียน

» ความสัมพันธ์อาเซียน-ยุโรป

» สาระน่ารู้เกี่ยวกับอาเซียน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย