ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์

ประชาคมอาเซียน

สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน

กลไกระงับข้อพิพาทในอาเซียน

โดย : จินห์ มโนธรรม

1 บทนำ

หนึ่งในเป้าหมายหลักของการก่อตั้งอาเซียน คือ การรักษาสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว การดำเนินการสำคัญอย่างหนึ่ง คือ การแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี ซึ่งกลไกระงับข้อพิพาทเป็นวิธีหนึ่ง ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป

ตลอดเวลา 44 ปีที่ผ่านมา ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ ร่วมกันพัฒนากลไกระงับข้อพิพาทขึ้นหลายกลไก จนมาถึงการ จัดทำกฎบัตรอาเซียน ซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญขององค์กร และมีบทเฉพาะเกี่ยวกับการแก้ไขข้อพิพาท กฎบัตรอาเซียนได้ ระบุให้อาเซียนจัดตั้งกลไกการระงับข้อพิพาทสำหรับทุกสาขา ความร่วมมือของอาเซียน และทำให้ระบบการระงับข้อพิพาท ของอาเซียนมีความสอดคล้องและชัดเจนมากขึ้น เอกสารของ อาเซียนที่สำคัญเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาท ได้แก่ สนธิสัญญา มิตรภาพและความร่วมมือแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พิธีสารว่า ด้วยกลไกระงับข้อพิพาทด้านเศรษฐกิจของอาเซียน (ASEAN Protocol on Enhanced ASEAN Dispute Settlement Mechanism) และพิธีสารของกฎบัตรอาเซียนว่าด้วยกลไก ระงับข้อพิพาท

2. สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia - TAC)

ผู้นำอาเซียนร่วมลงนามสนธิสัญญา TAC เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2519 โดยถือเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกของอาเซียน ที่ได้จัดตั้งกลไกระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐสมาชิกขึ้น สนธิสัญญา TAC ห้ามมิให้รัฐสมาชิกคุกคามหรือใช้กำลังต่อกันและกัน และ ระบุให้รัฐสมาชิกระงับข้อพิพาทอย่างฉันมิตรผ่านการเจรจาตกลงกัน หากไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ รัฐสมาชิกคู่กรณีอาจร่วมกัน ยื่นขอให้คณะมนตรีของสภาสูง (High Council) ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนระดับรัฐมนตรีของรัฐภาคีของ TAC ทั้งหมด พิจารณาเสนอ แนะแนวทางหรือมาตรการที่เหมาะสม เพื่อระงับข้อพิพาท โดยคณะมนตรีของสภาสูงอาจเสนอตัวที่จะทำหน้าที่เป็นคนกลางที่ น่าเชื่อถือ (good offices) ประนีประนอม (mediation) ไต่สวน (inquiry) หรือไกล่เกลี่ย (conciliation) เองได้ ปัจจุบัน นอกจากรัฐสมาชิกทั้งสิบของอาเซียนแล้ว ยังมีประเทศนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าร่วมเป็นภาคีของ สนธิสัญญา TAC จำนวน 18 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บังคลาเทศ จีน สาธารณรัฐเกาหลี ฝรั่งเศส อินเดีย ญี่ปุ่น มองโกเลีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี ตุรกี แคนาดา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี รัสเซีย ศรีลังกา ติมอร์เลสเต และ สหรัฐอเมริกา อันเป็นการช่วยเสริมสร้างความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาคให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ได้มีการลงนาม พิธีสารแนบท้ายฉบับที่ 3 แล้วเพื่อให้สหภาพยุโรปสามารถเข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญา TAC ได้ โดยกำลังรอให้พิธีสารฯ มีผลบังคับใช้

3. พิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทด้านเศรษฐกิจของอาเซียน

( ASEAN Protocol on Enhanced ASEAN Dispute Settlement Mechanism (EDSM) )

พิธีสาร EDSM เป็นสนธิสัญญาที่กำหนดกลไกระงับข้อพิพาททางเศรษฐกิจโดยเฉพาะ จัดทำขึ้นในปี 2547 (ค.ศ. 2004) เพื่อทดแทนพิธีสารว่าด้วยการระงับข้อพิพาท ฉบับปี 2539 (ค.ศ. 1996) หัวใจสำคัญของพิธีสาร EDSM ฉบับปี 2547 คือ การจัดตั้งคณะพิจารณา (Panels) และองค์กรอุทธรณ์ (Appellate Body) ให้สอดคล้องกับกระบวนการภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ทั้งนี้ พิธีสาร EDSM สนับสนุนให้รัฐสมาชิกหาทางระงับข้อพิพาทระหว่างกัน โดยวิธีปรึกษาหารือ หรือการใช้คนกลางที่ น่าเชื่อถือ การประนีประนอม และการไกล่เกลี่ย ก่อนที่จะเลือกใช้วิธีการระงับข้อพิพาทอย่างเป็นทางการของคณะพิจารณาและ องค์กรอุทธรณ์

เมื่อคณะพิจารณาหรือองค์กรอุทธรณ์มีข้อตัดสินและข้อเสนอแนะออกมาแล้ว รัฐสมาชิกจะต้องปฏิบัติตามข้อตัดสินและ ข้อเสนอแนะนั้น โดยหากไม่ปฏิบัติตาม รัฐที่เป็นฝ่ายเสียหาย อาจขอให้มีการชดใช้ค่าเสียหายหรือขอที่จะระงับการให้สิทธิพิเศษ ทางการค้ากับรัฐคู่กรณีของตน

4. กลไกระงับข้อพิพาทภายใต้กฎบัตรอาเซียน หมวด 8 ของกฎบัตรอาเซียน ทำให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับระบบการระงับข้อพิพาทของอาเซียนทั้งหมด โดยมี การกำหนดอย่างชัดเจนว่า เอกสารแต่ละฉบับของอาเซียนที่ได้จัดตั้งกลไกระงับข้อพิพาทขึ้น จะใช้กับข้อพิพาทประเภทใด ดังนี้

(1) พิธีสารกฎบัตรอาเซียนว่าด้วยเรื่องกลไกระงับข้อพิพาท ใช้กับข้อพิพาทระหว่างรัฐสมาชิก เกี่ยวกับการตีความ หรือการใช้กฎบัตรอาเซียน และตราสารอาเซียนอื่นๆ

(2) พิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทด้านเศรษฐกิจของอาเซียน (ASEAN Protocol on Enhanced ASEAN Dispute Settlement Mechanism)

(3) สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือแห่งเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ใช้กับข้อพิพาทระหว่างรัฐสมาชิกอาเซียน ที่มิได้เกี่ยวข้องกับการตีความหรือการใช้ตราสารอาเซียนใดๆ

(4) หากตราสารอาเซียนฉบับใดฉบับหนึ่ง ได้กำหนด กลไกระงับข้อพิพาทไว้เฉพาะ ให้ใช้กลไกระงับข้อพิพาทนั้น กับข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับตราสารอาเซียนฉบับนั้น พิธีสารของกฎบัตรอาเซียนว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาท หรือ Protocol to the ASEAN Charter on Dispute Settlement Mechanisms (DSMP) ตามข้อ (1) เป็นเอกสาร ที่จัดทำขึ้นตามกฎบัตรอาเซียน โดยผู้นำอาเซียนได้ลงนามใน

พิธีสารฯ ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 16 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2553 (และอยู่ระหว่าง รอให้ประเทศสมาชิกให้สัตยาบันจนครบ ก่อนที่จะมีผลบังคับใช้) เนื้อหาสาระสำคัญของพิธีสารฯ คือ การระบุอย่างละเอียดถึง ขั้นตอนและกระบวนการของแต่ละกลไกระงับข้อพิพาทภายใต้ กฎบัตรอาเซียน ได้แก่ การใช้คนกลางที่น่าเชื่อถือ การประนี- ประนอม การไกล่เกลี่ย รวมถึงการใช้อนุญาโตตุลาการด้วย รัฐคู่กรณีสามารถขอให้ประธานอาเซียนหรือเลขาธิการอาเซียน ทำหน้าที่เป็นคนกลางที่น่าเชื่อถือ ประนีประนอม หรือไกล่เกลี่ยได้ นอกจากนี้ ในกรณีที่การแก้ไขข้อพิพาทโดยวิธีข้างต้นทั้งหมด ไม่สามารถบรรลุผลได้ รัฐคู่กรณีสามารถนำเรื่องเสนอต่อที่ ประชุมสุดยอดอาเซียน ซึ่งเป็นกลไกการตัดสินใจสูงสุดของ อาเซียนได้ เช่นเดียวกันในกรณีที่รัฐคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ ปฏิบัติตามคำตัดสิน (non-compliance) รัฐคู่กรณีอีกฝ่าย สามารถยื่นเรื่องต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียนให้พิจารณาได้

DSMP ประกอบด้วยเอกสารแนบท้าย 6 ฉบับ ได้แก่

- กฎว่าด้วยการใช้คนกลางที่น่าเชื่อถือ (Rules of Good Offi ces)
- กฎว่าด้วยการไกล่เกลี่ย (Rules of Mediation)
- กฎว่าด้วยการประนีประนอม (Rules of Conciliation)
- กฎว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ (Rules of Arbitration)
- กฎระเบียบว่าด้วยการเสนอข้อพิพาทที่มิอาจระงับได้ให้ที่ประชุม สุดยอดอาเซียนพิจารณา (Rules for Reference of Unresolved Disputes to the ASEAN Summit)
- กฎสำหรับการเสนอเรื่องการไม่ปฏิบัติตามให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ตัดสิน (Rules for Reference of Non-compliance to the ASEAN Summit) อย่างไรก็ดี DSMP ยังไม่มีผลใช้บังคับ เนื่องจากต้องให้รัฐสมาชิกอาเซียน ทั้งหมดให้สัตยาบันก่อน

5. บทสรุป ณ ปี 2554 อาเซียนได้บรรลุก้าว สำคัญก้าวหนึ่งของการสร้างประชาคม อาเซียนที่มีกติกาและกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน โดยมีกฎบัตรอาเซียน และเอกสารอื่นๆ ตามข้อ 2–4 ที่กำหนดขั้นตอนและ กระบวนการอย่างละเอียดของกลไกระงับ ข้อพิพาทแบบต่างๆที่มา : กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ

» ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» แถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (เอเอชอาร์ดี)

» ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» แผนงานการจัดตั้ง ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

» ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

» ปฏิญญาชะอำ หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน (2552-2558)

» ความตกลงสำคัญเรื่องความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในกรอบอาเซียน

» แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียนปี 2547

» กลไกระงับข้อพิพาทในอาเซียน

» สิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องต้องใช้เวลา

» เงินสกุลอาเซียน ความฝันที่ใกล้เป็นจริง

» 7 ปรากฏการณ์ Social Network ในอาเซียน

» คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» ความร่วมมือของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์

» ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด

» ความร่วมมือทางทะเลในกรอบอาเซียน

» การบริหารจัดการภัยพิบัติ (พลเรือน)

» คณะกรรมาธิการอาเซียนเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก

» ความร่วมมือด้านการศึกษาอาเซียน

» ความร่วมมืออาเซียนด้านสาธารณสุข

» ASEAN-India Car Rally ครั้งที่ 2 ฉลองครบรอบ 20 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย

» การประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 47 ณ กรุงฮานอย เวียดนาม

» ประชาคมอาเซียนกับนวัตกรรม

» ความไว้เนื้อเชื่อใจ กุญแจที่ขาดหายไปในทะเลจีนใต้

» ASEAN Gay Rights บทบาทรุกหรือรับ

» จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

» รายชื่อโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน

» การขับเคลื่อนโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

» อินโดนีเซียคาดเศรษฐกิจขยายตัวเร็วขึ้น,ยอดขาดดุลงบประมาณลดลงในปี 2556

» กบง.เล็งถกด่วนวันนี้ ลดเก็บเงินเข้ากองทุนฯ อีกระลอกหลังค่าการตลาดลดต่ำ

» พาณิชย์ขนทัพปาล์ม-ยาง-ไม้เปิดตลาดพม่า

» เอกชนจี้รัฐแก้ภาษีซ้อนเออีซีดันเปิดสาขาแบงก์ไทยในพม่า

» 45 ปีอาเซียน

» เพลงประจำอาเซียน

» ครึ่งทางสู่ AEC ปี 2015

» ความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา รุดหน้าถกแผนเศรษฐกิจ 3 ปี

» พาณิชย์จัดประชุม JTC กระชับความสัมพันธ์การค้าการลงทุน ไทย-กัมพูชา

» อาเซียน (ASEAN)

» สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)

» กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)

» ประเทศสมาชิกอาเซียน

» ธงชาติอาเซี่ยน

» ไทยกับอาเซียน

» แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)

» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ บูรณาการอาเซียน

» อาเซียน +3

» การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

» ปัญหาในการรวมกลุ่มและความก้าวหน้าของอาเซียน

» ความสัมพันธ์อาเซียน-ยุโรป

» สาระน่ารู้เกี่ยวกับอาเซียน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย