ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์
ประชาคมอาเซียน
สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
ปฏิญญาชะอำ หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน (2552-2558)
1 มีนาคม 2552
(Cha-am Hua Hin Declaration on the Roadmap for the ASEAN Community (2009-2015))
------------------------------------
เรา ประมุขรัฐ หรือ หัวหน้ารัฐบาลของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ประกอบด้วย บรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย สหภาพพม่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรฐั สงัคมนยิ มเวยี ดนามในโอกาสการประชมุ สุดยอดอาเซยี น ครัง้ที่ 14 ที่เชียงใหม่ ประเทศไทย;
ระลึกถึง เจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1967 ที่จะสร้างองค์กรที่จะช่วยส่งเสริมให้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีสันติสุข มีอิสรภาพ และความเจริญรุ่งเรือง เพื่อ เหล่าประชาชน
ระลึกถึงด้วย วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 ที่กำหนดทิศทางให้อาเซียนมีวิสัยทัศน์สู่ภายนอก มี สันติสุขและเชื่อมเข้าด้วยกันในการเป็นหุ้นส่วนในสิ่งแวดล้อมของประชาธิปไตยและมีอยู่ร่วมกัน อย่างกลมกลืน การพัฒนาที่มีพลวัตรและการรวมตัวทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดและในสังคมที่เอื้ออาทร ที่ระลึกถึงสายสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ รับรู้มรดกทางวัฒนธรรมที่มีร่วมกันและเชื่อมในอัตลักษณ์ ของภูมิภาค
ยอมรับ ปฏิญญาอาเซียนคอนคอร์ดทู (บาหลี คอนคอร์ด ทู) ที่แสวงในการทำให้วิสัยทัศน์ อาเซียน 2020 เป็นจริง โดยตั้งเป้าหมายในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี ค.ศ. 2020 ประกอบด้วยสามเสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคม สังคมและวัฒนธรรม โดยทั้งสามเสามีความเกี่ยวโยงกันอย่างใกล้ชิดและช่วยส่งเสริมเป้าหมายการ มีสันติสุขอย่างยั่งยืน เสถียรภาพและความเจริญร่วมกัน
ได้รับแรงบันดาลใจ โดยเจตนารมณ์อาเซียนใหม่ตามกฎบัตรอาเซียน ซึ่งเราย้ำถึงพันธกรณี ในการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ประกอบด้วยสามเสาตามที่ระบุข้างต้น เร็วขึ้นห้าปี ตาม ที่ได้ตกลงในเมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ปี ค.ศ. 2007
เน้น การลดช่องว่างในการพัฒนาเป็นภารกิจที่สำคัญที่จะให้ประเทศสมาชิกอาเซียนทุก ประเทศไดรั้บผลประโยชนจ์ ากการรวมตัวของอาเซียนอยา่ งแทจ้ ริง โดยดำเนินการผา่ นขอ้ ริเริ่มเพื่อ การรวมตัวอาเซียนและกรอบความร่วมมือระดับภูมิภาคอื่นๆ
รับทราบ ด้วยความพึงพอใจพัฒนาการภายใต้แผนปฏิบัติงานหรือโครงการที่ได้รับรองที่มุ่ง ไปสู่เป้าหมายวิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ. 2020 เช่น แผนปฏิบัติการฮานอย ข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของ อาเซียน และแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์
รับรู้ ว่าการเปลี่ยนแปลงจากโลกาภิวัตน์จะนำมาซึ่งประโยชน์และความท้าทายส่งผลให้ อาเซียนจะต้องผลักดันตัวเองให้มีความสำคัญและรักษาความเป็นศูนย์กลางและบทบาทในการ ขับเคลื่อนโครงสร้างภูมิภาค
ระลึกถึง การรับรองแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่การประชุมสุดยอด อาเซียน ครั้งที่ 13 ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ที่สิงคโปร์ และการรับรองแผนงานการจัดตั้ง ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และแผนงานข้อริเริ่มเพื่อการตัวของอาเซียน ฉบับที่ 2 ในวันที่ 1 มีนาคม 2552
เรายืนยันที่จะรับรองและประกาศ ดังนี้:
1. ตกลงว่าแผนงานการจัดตั้งประชาคมทั้ง 3 แผนงานและแผนงานข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัว ของอาเซียนระยะสอง ตามเอกสารแนบ ถือเป็นแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน (ปี ค.ศ. 2009- 2015)
2. ตกลงด้วยว่าแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน (ปี ค.ศ. 2009-2015) จะเป็นเอกสาร แทนแผนปฏิบัติงานเวียงจันทน์
3. มอบหมายให้รัฐมนตรีกรอบความร่วมมือรายสาขาที่เกี่ยวข้องและเลขาธิการอาเซียนเป็น ผู้ปฏิบัติปฏิญญานี้ รวมทั้งติดตามพันธกรณีซึ่งจะได้รับการสนับสนุนโดยคณะกรรมการผู้แทนถาวร ประเทศสมาชิกประจำอาเซียนและรายงานความคืบหน้าการดำเนินการกับพวกเราอย่างสม่ำเสมอ ผ่านคณะมนตรีประชาคมอาเซียน
4. มอบหมายด้วยให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและเลขาธิการอาเซียนระดมเงินทุนจากรัฐสมาชิก ประเทศคู่เจรจา ประเทศคู่เจรจาเฉพาะสาขา และหุ้นส่วนการพัฒนาของอาเซียนเพื่อปฏิบัติตาม ปฏิญญานี้
5. สัญญาในความตั้งใจและข้อผูกพันที่จะส่งเสริมให้ประชาชนอาเซียนมีส่วนร่วมและได้รับ ประโยชน์จากการรวมตัวของอาเซียนและกระบวนการการเป็นประชาคมอาเซียน
จัดทำที่ชะอำในวันที่หนึ่งของเดือนมีนาคมในปีคริศตศักราชสองพันเก้าในต้นฉบับเดียวเป็น ภาษาอังกฤษ
» ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» แถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (เอเอชอาร์ดี)
» ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» แผนงานการจัดตั้ง ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
» ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
» ปฏิญญาชะอำ หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน (2552-2558)
» ความตกลงสำคัญเรื่องความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในกรอบอาเซียน
» แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียนปี 2547
» สิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องต้องใช้เวลา
» เงินสกุลอาเซียน ความฝันที่ใกล้เป็นจริง
» 7 ปรากฏการณ์ Social Network ในอาเซียน
» คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» ความร่วมมือของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
» ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
» ความร่วมมือทางทะเลในกรอบอาเซียน
» การบริหารจัดการภัยพิบัติ (พลเรือน)
» คณะกรรมาธิการอาเซียนเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก
» ความร่วมมือด้านการศึกษาอาเซียน
» ความร่วมมืออาเซียนด้านสาธารณสุข
» ASEAN-India Car Rally ครั้งที่ 2 ฉลองครบรอบ 20 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย
» การประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 47 ณ กรุงฮานอย เวียดนาม
» ความไว้เนื้อเชื่อใจ กุญแจที่ขาดหายไปในทะเลจีนใต้
» ASEAN Gay Rights บทบาทรุกหรือรับ
» จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
» รายชื่อโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
» การขับเคลื่อนโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
» อินโดนีเซียคาดเศรษฐกิจขยายตัวเร็วขึ้น,ยอดขาดดุลงบประมาณลดลงในปี 2556
» กบง.เล็งถกด่วนวันนี้ ลดเก็บเงินเข้ากองทุนฯ อีกระลอกหลังค่าการตลาดลดต่ำ
» พาณิชย์ขนทัพปาล์ม-ยาง-ไม้เปิดตลาดพม่า
» เอกชนจี้รัฐแก้ภาษีซ้อนเออีซีดันเปิดสาขาแบงก์ไทยในพม่า
» ความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา รุดหน้าถกแผนเศรษฐกิจ 3 ปี
» พาณิชย์จัดประชุม JTC กระชับความสัมพันธ์การค้าการลงทุน ไทย-กัมพูชา
» สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
» กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)
» แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)
» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ บูรณาการอาเซียน
» การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน