ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์
ประชาคมอาเซียน
สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
ปัจจุบัน สภาพแวดล้อมทางการเมืองระหว่างประเทศที่ปรับเปลี่ยนไปอย่าง รวดเร็ว ได้นำมาซึ่งทั้งโอกาสและความท้าทายที่อาเซียนต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นโอกาส ในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนให้แข็งแกร่ง ยิ่งขึ้น หรือการเผชิญกับภัยคุกคามที่มาในรูปแบบใหม่ อาทิ การก่ออาชญากรรมและ การก่อการร้ายข้ามชาติ ภัยพิบัติทางธรรมชาติและโรคระบาด เป็นต้น
ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนจึงได้เห็นชอบให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยมีการจัดตั้งประชาคม การเมืองและความมั่นคงอาเซียน เป็นหนึ่งในสามเสาความร่วมมือสำคัญของประชาคม อาเซียน
การเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้าง สันติภาพและความมีเสถียรภาพทางการเมืองของภูมิภาคอันถือเป็นพื้นฐานสำคัญ ของการพัฒนาด้านต่างๆ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกัน ของอาเซียนในด้านต่างๆ เสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญกับภัย คุกคามความมั่นคงทั้งในรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ บนพื้นฐานของหลักการว่าด้วย ความมั่นคงของมนุษย์ และให้ประชาคมอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสร้างสรรค์ กับประชาคมโลก โดยให้อาเซียนมีบทบาทนำในภูมิภาค
กระบวนการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มีรากฐาน มาจากการนำความร่วมมือและความตกลงของอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ที่ได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว มาต่อยอดให้มีผลเป็นรูปธรรมและมีความเป็น แบบแผนมากยิ่งขึ้น อาทิ ข้อบทต่างๆ ภายใต้สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia-- TAC) ปฏิญญาว่าด้วยเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพและความเป็นกลาง (Zone of Peace, Freedom and Neutrality Declaration--ZOPFAN) และสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธ นิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty on the Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone--SEANWFZ) รวมถึงการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้าน การเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ASEAN Regional Forum--ARF) ซึ่ง ในปี 2552 มีสมาชิกเข้าร่วมการประชุม 26 ประเทศ รวมถึงประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศและกลุ่มประเทศสำคัญอื่นๆ เช่นสหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย และ 1 กลุ่มประเทศกล่าวคือสหภาพยุโรปเป็นต้น
นอกจากการมีเสถียรภาพทางการเมืองของภูมิภาคแล้ว ผลลัพธ์ประการสำคัญที่ จะเกิดขึ้นจากการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ก็คือ การที่ประเทศ สมาชิกอาเซียนจะมีกลไกและเครื่องมือที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพในการแก้ไข ปัญหาที่เกี่ยวกับความมั่นคงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความขัดแย้งด้านการเมือง ระหว่างรัฐสมาชิกด้วยกันเอง (หากรัฐสมาชิกต้องการ)ซึ่งจะต้องแก้ไขโดยสันติวิธี หรือ ปัญหาภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งประเทศใดประเทศหนึ่งไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพัง เช่น การก่อการร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด ปัญหาโจรสลัด และอาชญากรรมข้าม ชาติ เป็นต้น
ในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่ อ. ชะอำ อ. หัวหิน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ที่ประชุมผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับรองแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมือง ความมั่นคงอาเซียน ซึ่งกำหนดกรอบและกิจกรรมที่จะทำให้อาเซียนบรรลุเป้าหมาย การเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงที่เน้นความสำคัญของความปลอดภัยของ ประชาชนภายในปี 2558
» ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» แถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (เอเอชอาร์ดี)
» ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» แผนงานการจัดตั้ง ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
» ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
» ปฏิญญาชะอำ หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน (2552-2558)
» ความตกลงสำคัญเรื่องความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในกรอบอาเซียน
» แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียนปี 2547
» สิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องต้องใช้เวลา
» เงินสกุลอาเซียน ความฝันที่ใกล้เป็นจริง
» 7 ปรากฏการณ์ Social Network ในอาเซียน
» คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» ความร่วมมือของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
» ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
» ความร่วมมือทางทะเลในกรอบอาเซียน
» การบริหารจัดการภัยพิบัติ (พลเรือน)
» คณะกรรมาธิการอาเซียนเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก
» ความร่วมมือด้านการศึกษาอาเซียน
» ความร่วมมืออาเซียนด้านสาธารณสุข
» ASEAN-India Car Rally ครั้งที่ 2 ฉลองครบรอบ 20 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย
» การประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 47 ณ กรุงฮานอย เวียดนาม
» ความไว้เนื้อเชื่อใจ กุญแจที่ขาดหายไปในทะเลจีนใต้
» ASEAN Gay Rights บทบาทรุกหรือรับ
» จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
» รายชื่อโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
» การขับเคลื่อนโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
» อินโดนีเซียคาดเศรษฐกิจขยายตัวเร็วขึ้น,ยอดขาดดุลงบประมาณลดลงในปี 2556
» กบง.เล็งถกด่วนวันนี้ ลดเก็บเงินเข้ากองทุนฯ อีกระลอกหลังค่าการตลาดลดต่ำ
» พาณิชย์ขนทัพปาล์ม-ยาง-ไม้เปิดตลาดพม่า
» เอกชนจี้รัฐแก้ภาษีซ้อนเออีซีดันเปิดสาขาแบงก์ไทยในพม่า
» ความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา รุดหน้าถกแผนเศรษฐกิจ 3 ปี
» พาณิชย์จัดประชุม JTC กระชับความสัมพันธ์การค้าการลงทุน ไทย-กัมพูชา
» สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
» กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)
» แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)
» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ บูรณาการอาเซียน
» การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน