ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์
ประชาคมอาเซียน
สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน
ASEAN-India Car Rally
ครั้งที่ 2 ฉลองครบรอบ 20 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย
ในโอกาสที่ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย ครบรอบ 20 ปี ในปี 2555 กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนและอินเดีย จัด ASEAN-India Car Rally ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน ถึง 17 ธันวาคม 2555 เพื่อสำรวจเส้นทางจากอาเซียนไปยังแคว้นอัสสัมของอินเดียและ ส่งเสริมการเชื่อมโยงระหว่างกัน อันจะเป็นพื้นฐานในการเพิ่มพูนโอกาสความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การ ท่องเที่ยว และความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของทั้งสองฝ่าย หลังจากที่ได้เคยจัดแรลลี่จากอินเดียมาสู่ อาเซียนแล้วเมื่อปี 2547 ขบวนแรลลี่ของอาเซียนและอินเดียในครั้งนี้จะเริ่มออกเดินทางจากเมืองยอกยา การ์ตาในอินโดนีเซีย-สิงคโปร-มาเลเซีย-ไทย (ครั้งที่ 1)-กัมพูชา-เวียดนาม-ลาว-ไทย (ครั้งที่ 2)-เมียนมาร์- เข้าอินเดียที่พรมแดน Tamu-Moreh และไปสิ้นสุดที่เมืองกุวาฮาติในแคว้นอัสสัมของอินเดีย
สำหรับเส้นทางแรลลี่ในประเทศไทยนั้น ขบวนแรลลี่จะผ่านประเทศไทย 2 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน ถึง 3 ธันวาคม 2555 ขบวนแรลลี่จะเข้าสู่ประเทศ ไทยจากมาเลเซียทางด่านสะเดา-หาดใหญ่-ภูเก็ต-กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ และต่อไปยังกัมพูชา เวียดนาม ลาว
ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 10-11 ธันวาคม 2555 ขบวนแรลลี่จะเข้าสู่ประเทศไทยจากลาวทาง สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 จังหวัดหนองคาย-อุดรธานี-ขอนแก่น-พิษณุโลก-แม่สอด และต่อไปยัง เมียนมาร์และแคว้นอัสสัมของอินเดียโดยใช้เส้นทาง East West Economic Corridor
ระหว่างเส้นทางแรลลี่ที่ผ่านเมืองสำคัญ อาเซียนและอินเดียจะจัด market events ประกอบด้วย กิจกรรมทางวัฒนธรรม กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว และการส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าการลงทุนที่ สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างอาเซียนและอินเดีย สำหรับประเทศไทยจะจัด market events ใน 3 เมือง ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ภูเก็ต สัมมนาเรื่องโอกาสด้านการค้าการ ลงทุนจากการเชื่อมโยงในภูมิภาคที่กรุงเทพฯ และการแสดงแสงและเสียง ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย นอกจากนั้น ยังมีพิธีต้อนรับและส่งขบวนแรลลี่ในเมืองสำคัญ เช่น งานต้อนรับที่อำเภอ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา งานต้อนรับที่แยกอินโดจีน จังหวัดพิษณุโลก และงานต้อนรับที่จังหวัดหนองคาย การส่งขบวนแรลลี่ที่อรัญประเทศ และการส่งขบวนที่ด่านแม่สอด จังหวัดตาก
ในการนี้ อินเดียได้เชิญผู้นำประเทศอาเซียนเป็นผู้ทำพิธีปล่อยขบวนแรลลี่อย่างเป็นทางการ สำหรับประเทศไทย นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ ดร.สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นประธานพิธีดังกล่าวในวันที่ 2 ธันวาคม 2555 เวลา 15.00- 16.00 น. ณ บริเวณถนนสนามไชยระหว่างพระบรมมหาราชวังและพระราชวังสราญรมย์
ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดียเป็นความสัมพันธ์อย่างรอบด้านในฐานะหุ้นส่วนบนพื้นฐานของ ASEAN-India Partnership for Peace, Progress and Shared Prosperity เป็นแนวทางการดำเนินความ ASEAN-India Car Rally ครั้งที่ 2 ฉลองครบรอบ 20 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย ร่วมมือด้านการเมือง เศรษฐกิจ และความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโดยมีแผนปฏิบัติการรองรับ รวมทั้งได้ตั้ง กองทุน ASEAN-India เพื่อสนับสนุนความร่วมมือดังกล่าว ปัจจุบันอยู่ภายใต้แผนปฏิบัติการฉบับปี 2553- 2558
ความร่วมมือระหว่างอาเซียนและอินเดียมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องในทุกมิติ กล่าวคือ
ด้านการเมืองและความมั่นคง
อินเดียได้เข้าร่วม ASEAN Regional Forum (ARF) ในปี 2539 โดยมีบทบาทอย่างแข็งขันในเรื่องความร่วมมือทางทะเล และได้ภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพ และความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อปี 2546 อีกทั้งเข้าเป็นสมาชิก East Asia Summit (EAS) ในปี 2548 และมีบทบาทเด่นในการสนับสนุนความร่วมมือการจัดการความมั่นคงรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะ ความมั่นคงทางทะเลเพื่อส้รางความปลอดภัยของเส้นทางเดินเรือในมหาสมุทรอินเดีย
ด้านเศรษฐกิจ
อาเซียนและอินเดียได้ลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทาง เศรษฐกิจอย่างรอบด้านเมื่อปี 2546 และลงนามความตกลงด้านการค้าสินค้าเมื่อเดือนสิงหาคม 2552 ซึ่งมี ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ปัจจุบันทั้งสองฝ่ายกำลังเจรจาความตกลงด้านการค้าบริการและ การลงทุน โดยมีเป้าหมายจะเจรจาให้เสร็จสิ้นก่อนการประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย สมัยพิเศษที่จะมีขึ้น ในเดือนธันวาคม 2555 ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนสนับสนุนให้อินเดียเข้าร่วม FTA++ ภายใต้กรอบ หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอย่างรอบด้านในภูมิภาค หรือ Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) ด้วย สูงกว่าเป้าหมายที่ผู้นำตั้งไว้ในปี 2558 ถึง 6,442 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2554 อาเซียนและ อินเดียมีมูลค่าการค้าสองฝ่ายประมาณ 76,442.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ด้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนา
อินเดียส่งเสริมความร่วมมือกับอาเซียนในสาขาที่ อินเดียมีศักยภาพ เช่น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งการแพทย์และเภสัชกรรม อินเดียได้ตั้งกองทุน ASEAN-India Green Fund เพื่อส่งเสริมการปรับตัวและลดผลกระทบจากการ เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ และกองทุน ASEAN-India Science & Technology Fund เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับอาเซียน อินเดียยังให้ความสำคัญกับการลด ช่องว่างการพัฒนาในอาเซียน โดยเฉพาะประเทศสมาชิกใหม่ (CLMV) โดยจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรม ภาษาอังกฤษ IT ในประเทศดังกล่าว นอกจากนั้น ยังให้ความสำคัญกับการบริการทางการแพทย์ รวมถึง ความร่วมมือด้านทรัพยากรมนุษย์ และโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน นักการทูตและเยาวชน รวมถึงสมาชิกรัฐสภา
ด้านการเชื่อมโยงกับอาเซียน
อินเดียให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงแบบรอบด้านตาม แผนแม่บทว่าด้วยการเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน โดยทางทะเล อินเดียพยายามเชื่อมโยงกับอาเซียน ด้านทะเลอันดามันโดยมีทะวายเป็นประตูสำคัญ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจแม่โขง- อินเดีย หรือ Mekong-India Economic Corridor (โฮจิมินห์-พนมเปญ-กรุงเทพ-ทวาย-เจนไน) เพื่อเป็น เส้นทางเชื่อมโยงภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกับอินเดียตะวันออก สำหรับทางอากาศ ได้มีการเจรจาความตกลงว่า ด้วยความร่วมมือการเดินอากาศระหว่างอาเซียน-อินเดีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเปิดน่านฟ้าของ อินเดีย ส่วนทางบก อินเดียได้สนับสนุนการสร้างทางหลวงสามฝ่าย ไทย-เมียนมาร์-อินเดีย และการขยาย เส้นทางต่อไปยังลาว และกัมพูชา รวมทั้งการพัฒนาทางหลวงสายใหม่เชื่อมโยงอินเดีย-เมียนมาร์-ลาว- เวียดนาม-กัมพูชา
อาเซียนกับอินเดียเริ่มต้นความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการในปี 2535 ในลักษณะคู่เจรจาเฉพาะด้าน และยกระดับขึ้นเป็นคู่เจรจาอย่างสมบูรณ์ในปี 2538 ต่อมา ได้พัฒนาความสัมพันธ์ไปสู่ระดับการประชุม สุดยอดครั้งแรกเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2545 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา อาเซียนและอินเดียจะมีการ ประชุมสุดยอดสมัยพิเศษ ระหว่างวันที่ 20-21 ธันวาคม 2555 ที่กรุงนิวเดลี เพื่อเป็นการฉลองโอกาส ครบรอบความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดียด้วย
ในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน ถึง 11 ธันวาคมนี้ จะเป็นโอกาสที่ชาวไทยเราจะได้ ต้อนรับขบวนแรลลี่จากเพื่อนบ้านอาเซียน 9 ประเทศ และจากอินเดีย การจัดแรลลี่จากอาเซียนไปอินเดีย เป็นเครื่องหมายสะท้อนถึงสายสัมพันธ์อันยาวนานของประเทศในภูมิภาคนี้กับประเทศที่เป็นบ่อเกิด อารยธรรมตะวันออกนอกเหนือจากจีน และที่สำคัญ แรลลี่ครั้งนี้อาจจะเป็นแรงกระตุ้นให้อาเซียนและ อินเดียเร่งพัฒนาถนนหนทางในการไปมาหาสู่ค้าขายเชื่อมโยงกันได้ดียิ่งขึ้น
กองอาเซียน 3 กรมอาเซียน พฤศจิกายน 2555
» ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» แถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (เอเอชอาร์ดี)
» ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» แผนงานการจัดตั้ง ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
» ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
» ปฏิญญาชะอำ หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน (2552-2558)
» ความตกลงสำคัญเรื่องความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในกรอบอาเซียน
» แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียนปี 2547
» สิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องต้องใช้เวลา
» เงินสกุลอาเซียน ความฝันที่ใกล้เป็นจริง
» 7 ปรากฏการณ์ Social Network ในอาเซียน
» คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» ความร่วมมือของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
» ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
» ความร่วมมือทางทะเลในกรอบอาเซียน
» การบริหารจัดการภัยพิบัติ (พลเรือน)
» คณะกรรมาธิการอาเซียนเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก
» ความร่วมมือด้านการศึกษาอาเซียน
» ความร่วมมืออาเซียนด้านสาธารณสุข
» ASEAN-India Car Rally ครั้งที่ 2 ฉลองครบรอบ 20 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย
» การประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 47 ณ กรุงฮานอย เวียดนาม
» ความไว้เนื้อเชื่อใจ กุญแจที่ขาดหายไปในทะเลจีนใต้
» ASEAN Gay Rights บทบาทรุกหรือรับ
» จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
» รายชื่อโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
» การขับเคลื่อนโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
» อินโดนีเซียคาดเศรษฐกิจขยายตัวเร็วขึ้น,ยอดขาดดุลงบประมาณลดลงในปี 2556
» กบง.เล็งถกด่วนวันนี้ ลดเก็บเงินเข้ากองทุนฯ อีกระลอกหลังค่าการตลาดลดต่ำ
» พาณิชย์ขนทัพปาล์ม-ยาง-ไม้เปิดตลาดพม่า
» เอกชนจี้รัฐแก้ภาษีซ้อนเออีซีดันเปิดสาขาแบงก์ไทยในพม่า
» ความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา รุดหน้าถกแผนเศรษฐกิจ 3 ปี
» พาณิชย์จัดประชุม JTC กระชับความสัมพันธ์การค้าการลงทุน ไทย-กัมพูชา
» สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
» กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)
» แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)
» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ บูรณาการอาเซียน
» การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน