ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์

ประชาคมอาเซียน

สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน

เงินสกุลอาเซียน ความฝันที่ใกล้เป็นจริง

โดย : อรวรรณ เพิ่มพูลในช่วงที่ประเทศยุโรปเตรียมความพร้อมไปสู่การใช้เงินยูโร ซึ่งเป็นเงินสกุลใหม่ของโลกที่เกิดขึ้นในปี 2542 นั้น นักวิชาการก็เริ่มมองหา ‘optimum currency area’ แห่งอื่นในโลกที่จะสามารถใช้เงินสกุลเดียวร่วมกันได้ เป็นที่ต่อไป ซึ่งอาเซียนก็เป็นหนึ่งในเขตที่ได้รับความสนใจและมีการศึกษาความเป็นไปได้อย่างแพร่หลาย

Optimum currency area (OCA) คืออะไร กล่าวง่ายๆ คือ อาณาเขตที่มีความเหมาะสมกับการ ใช้เงินสกุลเดียวกัน ซึ่งจะเป็นการประหยัดต้นทุนธุรกรรมในการแลกเปลี่ยนเงิน ถ้าจะมองภาพง่ายๆ ว่า มีมูลค่าเท่าใดก็อาจจะพิจารณาจากรายได้ของธนาคารในการปริวรรตเงินตรา รวมถึงค่าธรรมเนียม ในการประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เช่นการซื้อขายอนุพันธ์เงินตราอย่าง option ที่มีมูลค่า หลายหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ดังนั้น เงินก็จะทำหน้าที่ในการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (medium of exchange) และหน่วยวัดค่า (numeraire) ได้ดีขึ้น ผลที่จะตามมาก็คือ จะมีการค้าการลงทุน ระหว่างประเทศมากขึ้น ผู้ที่สนับสนุนการค้าเสรีก็คงจะชื่นชอบเพราะจะทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในสินค้ามากขึ้นด้วยราคาที่ถูกลง

เราจะพิจารณาความเหมาะสมในการใช้เงินสกุลเดียวได้ อย่างไร ตามหลักทฤษฎีแล้ว พื้นที่เศรษฐกิจที่ใช้เงินสกุลเดียวกันหมาย ความว่าใช้นโยบายการเงินเดียวกันด้วย ซึ่งจะถูกกำหนดโดยธนาคารกลาง ผู้ควบคุมปริมาณเงินสกุลนั้น ดังนั้น เขตเศรษฐกิจเหล่านี้จึงควร จะต้องมีวงจรเศรษฐกิจที่ไปในทิศทางเดียวกันในระดับหนึ่ง (synchronized business cycle) กล่าวคือ หากเศรษฐกิจในพื้นที่ หนึ่งอยู่ในภาวะตกต่ำ แต่ในอีกเขตหนึ่งอยู่ในภาวะขยายตัว การใช้ นโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในที่หนึ่งก็จะทำให้เกิดเงินเฟ้อ ในอีกที่หนึ่งได้ อย่างไรก็ตาม แต่ละเขตเศรษฐกิจก็สามารถใช้นโยบาย การคลังของตนเองเพื่อปรับสภาพเศรษฐกิจตามความเหมาะสมไปพร้อมกัน กลุ่มประเทศสกุลเงินยูโรก็มีเกณฑ์ของ Maastricht Treaty ซึ่งเป็นข้อกำหนดด้านเศรษฐกิจสำหรับประเทศที่จะเข้าร่วมใช้เงินยูโรจะต้องทำให้ได้

นอกจากนั้น การไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนระหว่าง 2 ประเทศ ย่อมหมายถึง การขาดกลไกทางการเงินที่จะปรับสมดุล ทางเศรษฐกิจระหว่างกัน ในกรณีที่อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหว ได้อย่างเสรี ประเทศที่เศรษฐกิจตกต่ำ ค่าเงินจะอ่อนตัวลง อันจะเป็นการช่วยกระตุ้นการส่งออกของประเทศนั้นและเป็น ปัจจัยเสริมในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เมื่อไม่มีกลไกทางการเงิน ย่อมหมายความว่า การปรับตัวต้องเกิดในภาคเศรษฐกิจจริง เช่น การเคลื่อนย้ายแรงงานและฐานการผลิต ซึ่งมีความยุ่งยากและ ใช้เวลานานกว่า แต่ทั้งนี้ การเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรีได้ กลายมาเป็นเกณฑ์อีกข้อหนึ่งในการพิจารณาความเหมาะสม ของการใช้เงินสกุลเดียวกัน อย่างไรก็ตาม หากเศรษฐกิจมีลักษณะ เปิดมาก หรืออีกนัยหนึ่ง ภาคต่างประเทศอันมีสินค้านำเข้าและ ส่งออกเป็นหลัก มีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับภาคเศรษฐกิจโดยรวม เมื่อค่าเงินอ่อนตัวลงจะทำให้สินค้านำเข้ามีราคาสูงขึ้น และเงิน เฟ้อเพิ่มขึ้นตามลำดับ เป็นผลให้ราคาสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นลบ ล้างผลที่เกิดจากการปรับตัวของอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้น การไม่มี อัตราแลกเปลี่ยนไว้ปรับสมดุลเศรษฐกิจ จึงไม่เป็นต้นทุนที่สูงนัก สำหรับประเทศที่มีสัดส่วนการค้าสูง ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นประเทศ ขนาดเล็ก

กระนั้นก็ตาม แม้ว่าจะยังไม่เข้าเกณฑ์ข้างต้นก็ยัง ไม่เป็นไร เนื่องจากเป้าหมายสุดท้ายของการจัดการระบบเศรษฐกิจ ก็เพื่อความอยู่ดีกินดีของผู้บริโภค ดังนั้น แม้ว่าสภาพเศรษฐกิจ จะยังคงทางใครทางมัน แต่หากประชาชนในแต่ละที่มีการ บริโภคที่ไม่ผันแปรตามสภาพเศรษฐกิจ ก็ยังอนุโลมให้ใช้เงิน สกุลเดียวได้อยู่ ปัจจัยสำคัญในที่นี้คือ เขตเศรษฐกิจเหล่านี้ต้องมี การรวมตัวทางการเงิน (financial integration) ที่ผู้บริโภค สามารถป้องกันความเสี่ยงได้ (ex ante) อาทิ เมื่อรายได้ลดลงตาม สภาพเศรษฐกิจ ก็ยังมีเงินปันผลจากหุ้นของบริษัทที่อยู่ใน ประเทศที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้นมาชดเชย ในที่นี้ การที่ ประเทศใน OCA มีสภาพเศรษฐกิจที่แตกต่างกันกลับเป็นผลดี ในการสร้างเสถียรภาพทางรายได้ให้ผู้ถือหุ้น (กรณีนี้ถือว่าเป็นสิ่ง ที่เป็นไปเอง (natural hedge) ไม่ต้องมีการใช้นโยบายปรับสมดุล จากทางการ ดังเช่นในกรณี synchronized business cycle ข้างต้น) รวมทั้ง สามารถรักษาระดับการบริโภคได้ตามต้องการ ด้วยการกู้ยืมหรือให้กู้ในตลาดทุนภายหลังมีสิ่งมากระทบ(ex post) การเชื่อมโยงของตลาดหลักทรัพย์ในอาเซียนและ การสร้างตลาดพันธบัตร ในภูมิภาคที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของการรวมตัวทางการเงิน

มาถึงจุดนี้ เขตเศรษฐกิจไหนที่ยังไม่เข้า เกณฑ์ทั้งหมดเสียทีเดียวก็ยังคงมีความหวังอยู่ เพราะการใช้เงิน สกุลเดียวกันก็ส่งผลให้ประเทศที่เข้าร่วมปรับตัวให้เข้าเกณฑ์ไปเอง หรือเรียกว่า endogenous OCA โดยเงินสกุลเดียวจะช่วยเพิ่ม ปริมาณการค้า ซึ่งเป็นกลไกส่งผ่านสิ่งที่มากระทบเศรษฐกิจ (หรือ shocks) ไปยังประเทศอื่น (ตัวอย่างง่ายๆ คือ เมื่อเศรษฐกิจใด ถดถอย หากไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนช่วยปรับสมดุล ประเทศคู่ค้า ก็จะส่งออกได้น้อยลง เศรษฐกิจก็จะซบเซาตามไปด้วย) ทำให้ เศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มเป็นไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น นอกจากนั้น การประหยัดต้นทุนปริวรรตเงินตรายังจะกระตุ้น ธุรกรรมในตลาดทุน และช่วยให้ประเทศขนาดเล็กมีช่องทาง ที่จะระดมเงินจากตลาดทุนต่างประเทศได้มากขึ้น จากเดิมที่เป็น การยากในการที่จะออกตราสารเพื่อกู้ยืมในเงินสกุลของตนเอง (original sin) สหรัฐอเมริกาซึ่งมีเขตเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน ทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ในย่าน Mid-West และเกษตรกรรม ในตอนกลางและใต้เป็นตัวอย่างของ OCA ที่มีการคลังส่วนกลาง (fiscal federation) ซึ่งมีการปรับตัวมาเป็นระยะเวลากว่า 200 ปี แนวคิด endogenous OCA นี้ ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญ อีกประการหนึ่ง คือ ความมุ่งมั่นทางการเมือง ซึ่งตัวเลขกลุ่ม ประเทศยูโรตามเกณฑ์ Maastricht ในขณะนั้น ก็อยู่ในระดับกลางๆ สำหรับประเทศในยุโรปแล้ว เหตุผลเบื้องหลังประการหนึ่ง คือ การใช้เงินยูโรจะทำให้ผลประโยชน์จากการรวมกลุ่มมีมากจน แน่ใจว่าจะไม่เกิดสงครามขึ้น (unthinkable) ประเทศที่ไม่ สามารถทำตามเกณฑ์ได้ในขณะนั้น ก็พยายามจะเข้าร่วม เพราะ เกรงว่าจะกลายเป็นพลเมืองชั้นสอง (second class citizen) ในสหภาพยุโรปไป นอกจากนั้น การละทิ้งเงินสกุลตนมาใช้เงิน สกุลร่วมยังได้ผลดีจากความน่าเชื่อถือในแง่ของการประกันว่า ประเทศจะผูกกับอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ตลอดไป (irreversible fi x) อันหมายถึง การรับวินัยด้านเศรษฐกิจจากภายนอก และจะได้ รับความช่วยเหลือจากธนาคารกลาง ซึ่งมีเงินทุนสำรองของ ประเทศในกลุ่มทั้งหมด

สำหรับอาเซียน ผลการศึกษาที่ผ่านมาส่วนใหญ่ยัง “ไม่คงที่” (not robust) โดยเปลี่ยนแปลงตามเทคนิคทาง เศรษฐมิติที่ใช้ และงานวิจัยส่วนใหญ่ศึกษาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของอาเซียน +3 (จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี) เนื่องจาก ภายใน อาเซียนยังไม่มีประเทศซึ่งเป็นผู้นำ (hegemony) อย่างชัดเจน ดังเช่น เยอรมัน ซึ่งมีบทบาทเป็นแกนหลักของเงินยูโร เนื่องจาก มีวินัยทาง การเงินเป็นเลิศ และเงิน Deutsche Mark ที่เป็นเงินสกุลหลักมีเสถียรภาพสูง ในขณะที่ความสอดคล้องของเศรษฐกิจของอาเซียน ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มของประเทศสมาชิกที่มีขนาดใหญ่

นอกจากนี้ การรวมตัวทางการเงินในภูมิภาคยังอยู่ในระดับต่ำ และที่สำคัญ ประเทศในอาเซียน ยังมีความเป็นอธิปไตยสูง จึงน่าจะเป็นไปได้ยากว่า ประเทศในภูมิภาคจะยอมยกเลิกการใช้เงินตรา ของตน ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของประเทศ และยอมให้นโยบายการเงินกำหนดจาก ภายนอก อีกทั้ง เจตนารมณ์ทางการเมืองของประเทศในอาเซียนต่อแนวคิดการใช้เงิน สกุลเดียว ยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับแรงผลักดันของประเทศกลุ่มยูโร ในช่วงที่ไปสู่การใช้เงินยูโร ทั้งนี้ ปัญหาวิกฤตหนี้ของบางประเทศในยุโรปได้ชี้ให้ เห็นแล้วว่า แม้ความตั้งใจทางการเมืองจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการใช้เงินสกุล เดียว แต่ปัจจัยทางเศรษฐกิจต่างหาก ที่จะเป็นตัวกำหนดว่าเงินสกุลดังกล่าว จะคงอยู่ในระยะยาวได้หรือไม่ที่มา : กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ

» ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» แถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (เอเอชอาร์ดี)

» ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» แผนงานการจัดตั้ง ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

» ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

» ปฏิญญาชะอำ หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน (2552-2558)

» ความตกลงสำคัญเรื่องความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในกรอบอาเซียน

» แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียนปี 2547

» กลไกระงับข้อพิพาทในอาเซียน

» สิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องต้องใช้เวลา

» เงินสกุลอาเซียน ความฝันที่ใกล้เป็นจริง

» 7 ปรากฏการณ์ Social Network ในอาเซียน

» คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» ความร่วมมือของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์

» ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด

» ความร่วมมือทางทะเลในกรอบอาเซียน

» การบริหารจัดการภัยพิบัติ (พลเรือน)

» คณะกรรมาธิการอาเซียนเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก

» ความร่วมมือด้านการศึกษาอาเซียน

» ความร่วมมืออาเซียนด้านสาธารณสุข

» ASEAN-India Car Rally ครั้งที่ 2 ฉลองครบรอบ 20 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย

» การประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 47 ณ กรุงฮานอย เวียดนาม

» ประชาคมอาเซียนกับนวัตกรรม

» ความไว้เนื้อเชื่อใจ กุญแจที่ขาดหายไปในทะเลจีนใต้

» ASEAN Gay Rights บทบาทรุกหรือรับ

» จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

» รายชื่อโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน

» การขับเคลื่อนโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

» อินโดนีเซียคาดเศรษฐกิจขยายตัวเร็วขึ้น,ยอดขาดดุลงบประมาณลดลงในปี 2556

» กบง.เล็งถกด่วนวันนี้ ลดเก็บเงินเข้ากองทุนฯ อีกระลอกหลังค่าการตลาดลดต่ำ

» พาณิชย์ขนทัพปาล์ม-ยาง-ไม้เปิดตลาดพม่า

» เอกชนจี้รัฐแก้ภาษีซ้อนเออีซีดันเปิดสาขาแบงก์ไทยในพม่า

» 45 ปีอาเซียน

» เพลงประจำอาเซียน

» ครึ่งทางสู่ AEC ปี 2015

» ความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา รุดหน้าถกแผนเศรษฐกิจ 3 ปี

» พาณิชย์จัดประชุม JTC กระชับความสัมพันธ์การค้าการลงทุน ไทย-กัมพูชา

» อาเซียน (ASEAN)

» สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)

» กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)

» ประเทศสมาชิกอาเซียน

» ธงชาติอาเซี่ยน

» ไทยกับอาเซียน

» แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)

» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ บูรณาการอาเซียน

» อาเซียน +3

» การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

» ปัญหาในการรวมกลุ่มและความก้าวหน้าของอาเซียน

» ความสัมพันธ์อาเซียน-ยุโรป

» สาระน่ารู้เกี่ยวกับอาเซียน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

🍁 การแพทย์แผนโบราณ
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้ค้นพบบันทึกว่า มีระบบการจัดหายาที่ชัดเจนสำหรับราษฏร มีแหล่งจำหน่ายยาและสมุนไพรหลายแห่งทั้งในและ นอกกำแพงเมือง

🍁 หลักธรรมในการอยู่ร่วมกันในสังคม
พระพุทธศาสนาได้สอนไว้ว่านักปกครองที่ดีนั้นควรมีคุณธรรม 10 ประการ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม

🍁 สมถะวิปัสสนา
ตามแนวพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ (เถรวาท) ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)

🍁 พุทธธรรมขั้นพื้นฐาน
ไม่มีมนุษย์คนใดที่จะสามารถมีชีวิตอยู่ได้ลำพังตนเองโดยไม่ติดต่อสัมพันธ์กับคนอื่น เพราะการดำรงชีวิตอยู่ของคนเราจำเป็นจะต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน

🍁 พระสูตรของท่านเว่ยหลาง
สูตรของท่านเว่ยหล่างล้วนแต่เป็นเรื่องของการใช้ปัญญาเพื่อค้นหาหนทางแห่งความเป็นพุทธะ และเพื่อความหลุดพ้นไปจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงในโลกนี้

🍁 พุทธศาสนสุภาษิต
สุภาษิตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดำรัสไว้ ซึ่งมีคุณค่าสูงส่ง สามารถใช้ได้ทั้งเป็นแนวทางดำเนินชีวิต เตือนใจ หาคำตอบที่ดีสำหรับปัญหาที่สงสัย

🍁 โอวาทสี่ของเหลี่ยวฝาน
แบบฉบับในการประพฤติดี ปฏิบัติชอบ เพื่อหยุดยั้งกระแสแห่งวัฒนธรรมตะวันตกและอนุรักษ์ความเป็นคนจีนดั้งเดิม

🍁 สาเหตุการเกิดมลภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกในปัจจุบัน สังเกตุได้จากอุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้น

🍁 แนวคิดและหลักการทางวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ คือ องค์ความรู้ของธรรมชาติและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการสืบเสาะหาความรู้

🍁 จักรวาล
“จักรวาล” และ “เอกภพ” เป็นคำๆ ที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “Universe” ซึ่งหมายถึง ทุกสรรพสิ่งทั้งหมดทั้งปวง

🍁 ทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา
ผู้เรียนเป็นฝ่ายสร้างความรู้ขึ้นด้วยตนเอง มิใช่ได้มาจากครูและในการสร้างความรู้นั้น ผู้เรียนจะต้องลงมือสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา

🍁 ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน
มิติทางวิชาการหลายมิติที่ซ้อนทับ เคลื่อนไหว และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน รวมทั้งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจในทุกบริบทที่เกี่ยวข้อง

🍁 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทย
สังคมทุกสังคมย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ ตราบใดที่สังคมนั้นยังต้องมีการติดต่อและสัมพันธ์กับสังคมอื่น การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างหนึ่ง

🍁 ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ
เมื่อบุคคลปรารถนาที่จะได้รับความพึงพอใจและเมื่อบุคคลได้รับความพึงพอใจในสิ่งหนึ่งแล้วก็จะยังคงเรียกร้องความพึงพอใจสิ่งอื่นๆ ต่อไป ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะของมนุษย์

🍁 กำเนิดโลกและสิ่งมีชีวิต
ทำไมโลกซึ่งแต่เดิมเป็นลูกไฟดวงหนึ่ง ไม่ได้ต่างจากดาวเคราะห์ดวงอื่น จึงเอื้อต่อสิ่งมีชีวิตได้มากมายเช่นนี้

🍁 โรคสัตว์สู่คน

🍁 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม

🍁 โรคอารมณ์สองขั้ว

🍁 คู่มือ อสม.กับการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

🍁 การจัดการกับอารมณ์และความเครียด

🍁 ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจ

🍁 การจูงใจ

🍁 การแกว่งแขน รักษาโรค

🍁 ประวัติขนมไทย

🍁 กัญชา

🐍 โปรดระวังงูฉก

ชีวิตคือการเดินทาง

ส่วนหนึ่งของการเดินทางเริ่มต้น
เมื่อตอนที่เราลืมตาขึ้นมาดูโลก
ตั้งแต่ตอนที่เราเกิด...

จากอดีตข้ามมาถึงปัจจุบัน
และกำลังจะไปสู่อนาคต
เพื่อที่จะเปลี่ยนมันให้กลายเป็นอดีต

วนเวียนเป็นวัฏจักรแห่งกาลเวลา
ที่ไม่สามารถย้อนกลับคืนไปได้
และเป็นอยู่อย่างนั้น

จนกว่าจะสิ้นสุดการเดินทาง
ที่ไหนสักแห่งบนโลกนี้
ที่ซึ่งเรามา

จากความว่างเปล่าสู่ความว่างเปล่า.

🐍 งูเขียว หางบอบช้ำ : เขียน

เชิญแวะอ่านสักนิดสักหน่อยก็ยังดี...

🌿 ฉายเดี่ยว (รวมงานเขียน)
อย่ารอให้ผีปู่ผีย่าต้องลุกขึ้นมาเอากระโถนน้ำหมากเขกกบาล สยามของท่านให้เราอยู่กิน ไม่ได้ให้มางี่เง่ากันเยี่ยงนี้

🌿 ตำนานบันลือโลก
เรื่องสั้น : เกรียงไกร รักมิตร : เขียน
ตาเฒ่านักเล่านิทานจากไปอย่างไร้ร่องรอย คงทิ้งไว้เพียงเรื่องราว ของกระต่ายกับเต่า กับความเพ้อฝันของนักเผชิญโชค ในโลกแห่งความจริง

🌿 บันทึกทรราชย์
เรื่องสั้น : เกรียงไกร รักมิตร : เขียน
โลกยังคงหมุนตัวเองรอบดวงอาทิตย์กับบาดแผลร้าวรานที่เกิดจากการกระทำอันเป็นปิตุฆาตของมวลมนุษย์

🌿 ผมเกือบได้เป็นนักแต่งเพลงชื่อดังเสียแล้ว
เรื่องสั้น : ภูเกรียงไกร หน่อรักมิตร : เขียน
ไปไม่ถึงตึกแกรมมี่ แบบไม่มีสิ่งใดให้ต้องกังวล ที่เหลือคือความทรงจำที่ลางเลือนเต็มที ผมเกือบได้เป็นนักแต่งเพลงชื่อดังเสียแล้ว

ยังมีอีก »


ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
ภูจอมยุทธ | Podcast

ชีวิตในแบบฉบับของตัวเอง หิวก็กินง่วงก็นอน อยากทำอะไรก็ทำ เบียดเบียนสภาพแวดล้อมแต่พองาม ประสบการณ์แบ่งปันผู้คน มากบ้างน้อยบ้าง วัดกับร้านเหล้าถือเป็นสถานอโคจร ที่ต้องรักษาระยะห่าง คลิกดู👆