ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์
ประชาคมอาเซียน
สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน
ครึ่งทางสู่ AEC ปี 2015
อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส ด้านเศรษฐกิจของอาเซียน (SEOM) ครั้งที่ 2/43 ระหว่างวันที่ 14-18 พฤษภาคม 2555 ณ ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งในช่วงแรกเป็นการประชุมระหว่างสมาชิกอาเซียน และช่วงหลังเป็นการประชุมกับประเทศภาคีของอาเซียน รวม 8 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย และแคนาดา
นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการประชุม ในช่วงแรกว่าอาเซียนได้พิจารณาเรื่องสำคัญ คือรายงานการประเมินผลการดำเนินการระยะครึ่งทางสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint Mid-Term Review) จัดทำโดยสถาบันวิจัยเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออก (ERIA) รายงานฉบับนี้ใกล้จะเสร็จสมบูรณ์ และมีรายงานผลการศึกษาและสำรวจความเห็นของภาคเอกชนต่อมาตรการต่างๆ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางสำหรับการปรับปรุง
การดำเนินการไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ในช่วงเวลาที่ เหลืออีกราว 3 ปี ก่อนที่ AEC จะบรรลุผลเป็นรูปธรรม จากการศึกษาดังกล่าว พบว่าการดำเนินการไปสู่ AEC คืบหน้ามากในด้านการลดภาษีศุลกากร โดยประเทศ สมาชิกอาเซียนเดิมมีอัตราภาษีเฉลี่ยร้อยละ 0.5 ส่วน CLMV มีอัตราภาษีเฉลี่ยร้อยละ 2.6 ในขณะที่การดำเนินการ บางเรื่อง เช่น การเปิดเสรีและอำนวยความสะดวก ต่อการค้าบริการ และการลงทุน ซึ่งแม้จะคืบหน้า แต่ระดับของ ความคืบหน้ายังมีความแตกต่างกันบ้างระหว่างประเทศสมาชิก สำหรับในส่วนผลลัพธ์ของมาตรการต่างๆของประเทศ สมาชิก การศึกษาของ ERIA พบว่า ไทยได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีด้านการค้าบริการมากเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน รองจากเวียดนาม และกัมพูชาเป็นอันดับ 3 ทั้งนี้ ในภาพรวมพบว่าในกลุ่มประเทศสมาชิกเดิมของอาเซียน ไทยได้ประโยชน์ในด้านการขยายตัวของ GDP มากเป็นอันดับ 3 รองจากอินโดนีเซีย และสิงคโปร์ นอกจากนี้ ยังพบว่า อาเซียนจะได้ประโยชน์มากขึ้น หากมีการเปิด เสรีกับประเทศคู่เจรจาทั้งในกรอบ อาเซียน+3 (13 ประเทศ) และ อาเซียน +6 (16 ประเทศ) แต่การเปิดเสรีในกรอบ อาเซียน+6 จะได้ประโยชน์มากกว่า และไม่ว่าอาเซียนจะเปิดเสรีกับประเทศนอกภูมิภาคในรูปแบบใด ไทยก็จะได้รับ ประโยชน์มากเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน รองจากเวียดนามและกัมพูชา
ส่วนมาตรการที่ภาคเอกชนให้ความสำคัญ ได้แก่ มาตรการด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า เช่น กฎ ว่าด้วยแหล่งกำเนิดของสินค้า กระบวนการด้านศุลกากร การปรับประสานมาตรฐานสินค้า การส่งเสริมและอำนวย ความสะดวกต่อการลงทุน การขนส่งและการสร้างความเชื่อมโยง (connectivity) ภายในภูมิภาค ซึ่งอาเซียนควรจะ ปรับเปลี่ยนกฎหมาย และกฎระเบียบ (Regulatory Reform) อย่างเหมาะสมด้วย เพื่อจะได้รับประโยชน์จาก AEC อย่างเต็มที่ โดยคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน (High Level Task Force on ASEAN Economic Integration: HLTF-EI) ก็มีกำหนดจะเข้าร่วมการสัมมนาและหารือเรื่อง Regulatory Reform ในเดือนกรกฎาคม ศกนี้
และในระหว่างนี้ไทยโดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้เสนอเอกสารแนวคิด เกี่ยวกับ แนวทางสำหรับ Regulatory Reform ในอาเซียนให้ประเทศสมาชิกพิจารณาด้วยแล้ว นางศรีรัตน์ ให้ความเห็นว่าข้อเสนอแนะจากการศึกษา สอดคล้องกับบทบาทและสิ่งที่กรมเจรจาการค้า ระหว่างประเทศ ในฐานะ National AEC Coordinating Agency ของไทย ได้ดำเนินการและผลักดันมาตลอด รวมทั้งเรื่องการสร้างความตระหนักรู้เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์และสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจของภาคส่วนที่ เกี่ยวข้อง ทั้งประชาชนทั่วไป นักธุรกิจและ SME
18 พฤษภาคม 2555 ที่มา : ศูนย์บริการข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Information Center)
» ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» แถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (เอเอชอาร์ดี)
» ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» แผนงานการจัดตั้ง ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
» ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
» ปฏิญญาชะอำ หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน (2552-2558)
» ความตกลงสำคัญเรื่องความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในกรอบอาเซียน
» แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียนปี 2547
» สิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องต้องใช้เวลา
» เงินสกุลอาเซียน ความฝันที่ใกล้เป็นจริง
» 7 ปรากฏการณ์ Social Network ในอาเซียน
» คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» ความร่วมมือของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
» ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
» ความร่วมมือทางทะเลในกรอบอาเซียน
» การบริหารจัดการภัยพิบัติ (พลเรือน)
» คณะกรรมาธิการอาเซียนเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก
» ความร่วมมือด้านการศึกษาอาเซียน
» ความร่วมมืออาเซียนด้านสาธารณสุข
» ASEAN-India Car Rally ครั้งที่ 2 ฉลองครบรอบ 20 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย
» การประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 47 ณ กรุงฮานอย เวียดนาม
» ความไว้เนื้อเชื่อใจ กุญแจที่ขาดหายไปในทะเลจีนใต้
» ASEAN Gay Rights บทบาทรุกหรือรับ
» จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
» รายชื่อโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
» การขับเคลื่อนโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
» อินโดนีเซียคาดเศรษฐกิจขยายตัวเร็วขึ้น,ยอดขาดดุลงบประมาณลดลงในปี 2556
» กบง.เล็งถกด่วนวันนี้ ลดเก็บเงินเข้ากองทุนฯ อีกระลอกหลังค่าการตลาดลดต่ำ
» พาณิชย์ขนทัพปาล์ม-ยาง-ไม้เปิดตลาดพม่า
» เอกชนจี้รัฐแก้ภาษีซ้อนเออีซีดันเปิดสาขาแบงก์ไทยในพม่า
» ความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา รุดหน้าถกแผนเศรษฐกิจ 3 ปี
» พาณิชย์จัดประชุม JTC กระชับความสัมพันธ์การค้าการลงทุน ไทย-กัมพูชา
» สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
» กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)
» แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)
» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ บูรณาการอาเซียน
» การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน