ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์
ประชาคมอาเซียน
สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน
ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
Terms of Reference of ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights
คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียน ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
- ความเป็นมาของการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนในอาเซียน
- ปฏิญญาชะอำ-หัวหิน เนื่องในโอกาสการจัดตั้งคณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นทางการ
- คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
บทนำ
การจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยผู้นำอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 ที่อำเภอชะอำ-หัวหิน ประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2552 ตามพันธกรณีในข้อ 14 ของกฎบัตรอาเซียน ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะนำ ไปสู่การสร้างประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 และเป็นผลงานชิ้นสำคัญ ของไทยในฐานะประธานอาเซียน และประเทศที่มีความก้าวหน้าด้าน สิทธิมนุษยชนระดับแนวหน้าของภูมิภาค
ที่ผ่านมา แม้จะมีบางฝ่ายออกมาวิจารณ์ว่า ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมาธิการฯ มีข้อบกพร่องในแง่ที่เน้นการส่งเสริมสิทธิฯ แต่ไม่ได้ ให้อำนาจด้านการคุ้มครองสิทธิฯ แก่คณะกรรมาธิการฯ มากเท่าที่ควร และไม่ได้ให้ความเป็นอิสระอย่างแท้จริงแก่สมาชิกของคณะกรรมาธิการฯ ในการทำงาน แต่หากเราคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า อาเซียนไม่ได้มีลักษณะ เป็นองค์กรเหนือรัฐ และเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องต้องห้ามสำหรับ การหารือในกรอบอาเซียนมาช้านาน การที่อาเซียนสามารถจัดตั้งคณะ กรรมาธิการฯ ขึ้นมาได้ และยังกำหนดในกฎบัตรอาเซียนให้การส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน การส่งเสริม ประชาธิปไตยและหลักธรรมาภิบาลเป็นหนึ่งในวัตถุประสงค์และหลักการ ที่อาเซียนพึงยึดถือและปฏิบัติ ก็น่าจะถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญ ในเชิงความคิดและค่านิยมขององค์กร และเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะนำไป สู่การสร้างประชาคมอาเซียนที่ยึดถือกฎกติกาและผลประโยชน์ของ ประชาชนเป็นที่ตั้งและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน อย่างแท้จริงได้ ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาต่อไปโดยลำดับ และถือเป็นความ รับผิดชอบร่วมกันของทุกฝ่ายทั้งรัฐบาล ภาควิชาการและภาคประชาสังคม ที่จะผลักดันให้ความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชนและค่านิยมที่ดีงาม เหล่านี้มีความก้าวหน้าเข้มแข็งยิ่งขึ้นต่อไป
ในการนี้ กระทรวงการต่างประเทศจึงได้จัดพิมพ์ขอบเขตอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนพร้อม คำแปลภาษาไทยฉบับนี้ขึ้น เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับคณะ กรรมาธิการฯ สู่สาธารณชนในวงกว้าง ทั้งนี้ เพื่อที่ทุกภาคส่วนจะได้มี ความรู้ ความเข้าใจ และสามารถใช้ประโยชน์จากคณะกรรมาธิการฯ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ รวมทั้งสามารถมีส่วนร่วมในการผลักดัน ให้มีการพัฒนาการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคให้ เข้มแข็ง และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนอาเซียนต่อไป
กรมอาเซียนกระทรวงต่างประเทศ
ความเป็นมาของการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชน ในอาเซีย
แนวคิดเกี่ยวกับการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคในอาเซียน มีที่มาตั้งแต่มติที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 26 ในเดือนมิถุนายน 2536 ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเห็นพ้องกันว่า อาเซียน ควรพิจารณาจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคที่เหมาะสม ทั้งนี้ โดยได้รับอิทธิพลจากความตื่นตัวเรื่องสิทธิมนุษยชนในโอกาสที่นานา ประเทศสามารถบรรลุความตกลงด้านสิทธิมนุษยชนฉบับสำคัญคือ ปฏิญญาและแผนปฏิบัติการเวียนนา ในการประชุมระดับโลกด้านสิทธิ มนุษยชนที่กรุงเวียนนา ในเดือนเดียวกันนั้น แต่การดำเนินการให้เป็นไป ตามมติดังกล่าวได้ถูกชะลอออกไปในช่วงที่อาเซียนได้ขยายความร่วมมือ ไปสู่ด้านเศรษฐกิจโดยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนในปี 2535 และมีการรับสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ (ได้แก่ เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา) ในปี 2538-2542
ต่อมา ความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชนได้กลับมาปรากฎอีกครั้งในแผน ปฏิบัติการเวียงจันทร์ พ.ศ. 2547-2553 ซึ่งกำหนดให้อาเซียนส่งเสริม ความตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชน การสร้างเครือข่ายระหว่างองค์กรที่ ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดจนให้มีการพัฒนาตราสารด้านสิทธิ ของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและจัดตั้งคณะกรรมาธิการด้านสิทธิเด็ก และสตรี ซึ่งในขณะนั้น เห็นว่าเป็นการดำเนินการขั้นแรกของการจัดตั้ง กลไกสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาค ส่วนความพยายามที่จะจัดตั้งกลไก สิทธิมนุษยชนที่มีอาณัติครอบคลุมทุกด้านได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาในช่วงการ ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน จัดทำกฎบัตรอาเซียนในปี 2548-2550 ซึ่งข้อ 14 ของกฎบัติอาเซียน กำหนดให้อาเซียนจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคของอาเซียน โดยให้มีการจัดทำขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์กรณ์ดังกล่าวเพื่อให้ ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนให้ความเห็นชอบต่อไป
จากนั้น ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 41 เมื่อเดือน กรกฎาคม 2551 ได้แต่งตั้งคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยองค์กรสิทธิ มนุษยชนอาเซียน (High Level Panel on an ASEAN Human Rights Body, HLP) ที่ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ เพื่อทำหน้าที่ยกร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ ซึ่งกำหนดวัตถุประสงค์ หลักการอำนาจหน้าที่ องค์ประกอบ ตลอดจนแนวทางการทำงานของ องค์กรดังกล่าว และในเดือนกรกฎาคม 2552 คณะทำงานระดับสูงฯ ได้เสนอร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ฯ ให้ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ครั้งที่ 42 ให้ความเห็นชอบและเสนอให้องค์กรดังกล่าวมีชื่ออย่างเป็น ทางการว่า คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิ มนุษยชน จนนำไปสู่พิธีการประกาศจัดตั้งคณะกรรมาธิการฯ อย่างเป็น ทางการโดยผู้นำอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ระหว่างการประชุมสุดยอด อาเซียน ครั้งที่ 15 ที่อำเภอชะอำ-หัวหิน เนื่องในโอกาสการจัดตั้งคณะ กรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอย่างเป็น ทางการ เพื่อแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของรัฐสมาชิกที่จะสนับสนุน การทำงานของคณะกรรมาธิการฯ อย่างเต็มที่ และให้มีการพัฒนากลไก ด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในอาเซียนให้เข้มแข็งยิ่งๆ ขึ้นไป โดยเปิดช่องให้มีการทบทวนขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะ กรรมาธิการฯ ทุกๆ 5 ปี
ปฏิญญาชะอำ-หัวหิน เนื่องในโอกาสการจัดตั้งคณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อย่างเป็นทางการ
เรา ประมุขรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาลของรัฐสมาชิกของสมาคม ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ในโอกาสการ ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 ที่ประเทศไทย
ระลึกถึงข้อ 14 ของกฎบัตรอาเซียนเรื่องการจัดตั้งองค์กรสิทธิ มนุษยชนอาเซียน และความมุ่งมั่นของอาเซียนในการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
ยินดีกับการมีผลบังคับใช้ของขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะ กรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (เอไอซีเอชอาร์) ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับการดำเนินงานของ เอไอซีเอชอาร์
ในการนี้ จึง
1. ชื่นชมการจัดตั้งเอไอซีเอชอาร์ ซึ่งถือเป็นการแสดงออกอย่าง เป็นรูปธรรมของการดำเนินการตามข้อ 14 ของกฎบัตรอาเซียน และความมุ่งมั่นของอาเซียนที่จะดำเนินยุทธศาสตร์แบบก้าวหน้า เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชน
2. เห็นชอบกับการดำเนินการตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ เอไอซีเอชอาร์ที่ยกร่างโดยคณะทำงานระดับสูงและได้รับความ เห็นชอบอย่างเป็นทางการจากรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
3. แสดงความยินดีกับผู้แทนในเอไอซีเอชอาร์ที่ได้รับการแต่งตั้ง โดยรัฐสมาชิกอาเซียน
4. ย้ำความสำคัญของเอไอซีเอชอาร์ ในฐานะหมุดหมายสำคัญ ทางประวัติศาสตร์ในกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียน และ พาหนะที่จะนำไปสู่การพัฒนาสังคมที่ก้าวหน้าและยุติธรรม การบรรลุอย่างเต็มที่ซึ่งศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และการมี คุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของประชาชนอาเซียน
5. ให้คำมั่นว่าเอไอซีเอชอาร์ จะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ และได้รับทรัพยากรที่เพียงพอจากประเทศสมาชิกอาเซียน
6. ยอมรับบทบาทของผู้มีส่วนได้เสียในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชนของอาเซียน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมและ ปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องระหว่างผู้มีส่วนได้เสียกับเอไอซีเอชอาร์
7. รับรองให้มีการทบทวนขอบเขตอำนาจหน้าที่ของเอไอซีเอชอาร์ ทุก 5 ปีนับจากวันที่มีผลใช้บังคับ เพื่อทำให้อาณัติและหน้าที่ของ เอไอซีเอชอาร์มีความเข้มแข็งมากขึ้น เพื่อพัฒนากลไกทั้งด้าน การคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนต่อไป โดยให้ที่ประชุม รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเป็นผู้ทำการทบทวนครั้งนี้และ ครั้งต่อๆ ไป
8. แสดงความมั่นใจว่าความร่วมมือของอาเซียนด้านสิทธิมนุษยชน จะวิวัฒน์และพัฒนาต่อไปเพื่อให้เอไอซีเอชอาร์เป็นสถาบันสูงสุด ที่รับผิดชอบในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในอาเซียน
รับรองที่ชะอำ-หัวหิน ประเทศไทย วันที่ 23 ตุลาคม 2009
ขอบเขตอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียน ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ตามข้อ 14 ของกฎบัตรอาเซียน ให้คณะกรรมาธิการระหว่าง
รัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนดำเนินการตามขอบเขต อำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ความมุ่งประสงค์
ความมุ่งประสงค์ของคณะกรรมาธิการฯ คือ
1.1 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้น พื้นฐานของประชาชนอาเซียน
1.2 เพื่อยึดถือสิทธิของประชาชนอาเซียนที่จะดำรงชีวิตโดยสันติ มีศักดิ์ศรีและมีความมั่งคั่ง
1.3 เพื่อช่วยให้บรรลุความมุ่งประสงค์ของอาเซียนตามที่ปรากฏ ในกฎบัตรอาเซียน เพื่อส่งเสริมเสถียรภาพและความปรองดองใน ภูมิภาค ความเป็นมิตรและความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก อาเซียน รวมถึงความเป็นอยู่ที่ดี การดำรงชีวิต สวัสดิการ และการ มีส่วนร่วมของประชาชนอาเซียนในกระบวนการสร้างประชาคม อาเซียน
1.4 เพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในบริบทของภูมิภาค โดยคำนึง ถึงลักษณะเฉพาะของประเทศและภูมิภาค การเคารพซึ่งกันและ กันในเบื้องหลังทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและศาสนาที่ แตกต่างกัน และการคำนึงถึงความสมดุลระหว่างสิทธิและหน้าที่
1.5 เพื่อเพิ่มพูนความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อเสริมความ พยายามระดับประเทศและระหว่างประเทศด้านการส่งเสริมและ คุ้มครองสิทธิมนุษยชน
1.6 เพื่อยึดถือมาตรฐานระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนตาม ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาและแผนปฏิบัติ การเวียนนา และตราสารว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ที่ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นภาคี
2. หลักการ
ให้คณะกรรมาธิการฯ ได้รับการชี้นำโดยหลักการดังต่อไปนี้
2.1 การเคารพในหลักการของอาเซียนตามข้อ 2 ในกฎบัตรฯ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เอ) การเคารพเอกราช อธิปไตย ความเสมอภาค บูรณภาพ แห่งดินแดน
และอัตลักษณ์แห่งชาติของรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งปวง
บี)
การไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐสมาชิกอาเซียน
ซี) การเคารพสิทธิของรัฐสมาชิกทุกรัฐในการธำรงประชาชาติ
ของตนโดยปราศจากการแทรกแซง การบ่อนทำลาย และ การบังคับจากภายนอก
ดี) การยึดมั่นต่อหลักนิติธรรม ธรรมาภิบาลหลักการ
ประชาธิปไตยและรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ
อี)
การเคารพเสรีภาพขั้นพื้นฐาน การส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน
และการส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม เอฟ)
การยึดถือกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่าง ประเทศ รวมถึง
กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ที่รัฐสมาชิก อาเซียนยอมรับ
จี) การเคารพในวัฒนธรรม ภาษาและศาสนาที่แตกต่างของ ประชาชนอาเซียน
โดยเน้นคุณค่าร่วมกันของประชาชนอาเซียน ด้วยจิตวิญญาณของเอกภาพในความหลากหลาย
2.2 การเคารพหลักการด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ รวมถึงความเป็นสากล ความไม่สามารถแบ่งแยกได้ การพึ่งพา อาศัยกันและความสัมพันธ์ที่ไม่อาจแยกจากกันได้ของสิทธิ มนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานทั้งมวล รวมถึงความเป็นกลาง การยึดถือวัตถุวิสัย การไม่เลือกปฏิบัติ และการหลีกเลี่ยงการ เลือกปฏิบัติและทำให้เป็นประเด็นทางการเมือง
2.3 ตระหนักว่าความรับผิดชอบขั้นพื้นฐานในการส่งเสริมและ คุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานเป็นของรัฐสมาชิก แต่ละรัฐ
2.4 ใช้แนวทางและความร่วมมือที่สร้างสรรค์และหลีกเลี่ยงการ เผชิญหน้า เพื่อยกระดับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
2.5 ใช้แนวทางที่มีพัฒนาการเป็นขั้นเป็นตอนสำหรับการพัฒนา บรรทัดฐานและมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียน
3. องค์กรปรึกษาหารือระหว่างรัฐบาล
คณะกรรมาธิการฯ เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล และเป็นส่วนหนึ่ง ของโครงสร้างองค์กรอาเซียน คณะกรรมาธิการฯ นี้เป็นองค์กร สำหรับการปรึกษาหารือ
4. อำนาจหน้าที่
4.1 พัฒนายุทธศาสตร์ระยะยาวในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน เพื่อเสริมการสร้างประชาคม อาเซียน
4.2 พัฒนาปฏิญญาอาเซียนด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะนำไปสู่ การกำหนดความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชนที่ประกอบไปด้วย อนุสัญญาต่างๆ ด้านสิทธิมนุษยชนของอาเซียนและตราสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน
4.3 ส่งเสริมความตระหนักในเรื่องสิทธิมนุษยชนในหมู่ประชาชน อาเซียนโดยผ่านการศึกษา วิจัยและการเผยแพร่ข้อมูล
4.4 สนับสนุนการสร้างเสริมศักยภาพเพื่อให้การดำเนินการตาม พันธกรณีตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ที่ผูกพันรัฐสมาชิกอาเซียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4.5 ส่งเสริมให้รัฐสมาชิกอาเซียนพิจารณาภาคยานุวัตรและให้ สัตยาบันต่อตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
4.6 ส่งเสริมการดำเนินการอย่างเต็มที่พันธกรณีตามตราสาร ของอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน
4.7 ให้บริการให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค เรื่องสิทธิมนุษยชนแก่องค์กรความร่วมมือเฉพาะด้านของอาเซียน ตามที่ได้รับการร้องขอ
4.8 ร่วมสนทนาและปรึกษาหารือกับองค์กรอาเซียนอื่นๆ และ องคภาวะที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน ซึ่งรวมถึงองค์กรภาค ประชาสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ตามที่ระบุไว้ใน หมวดที่ 5 ของกฎบัตรอาเซียน
4.9 ปรึกษาหารือตามความเหมาะสมกับสถาบันและองค์กร ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับ การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
4.10 ได้รับข้อมูลจากรัฐสมาชิกเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน
4.11 พัฒนามุมมองและท่าทีร่วมกันเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชน ที่เป็นผลประโยชน์ของอาเซียน
4.12 จัดทำการศึกษาเกี่ยวกับประเด็นเฉพาะด้านของสิทธิมนุษยชน ในอาเซียน
4.13 เสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับกิจกรรมของคณะกรรมาธิการฯ หรือรายงานอื่นๆ หากเห็นว่ามีความจำเป็น ต่อที่ประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน
4.14 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน
5. องค์ประกอบ
สมาชิก
5.1 ให้คณะกรรมาธิการฯ ประกอบไปด้วยรัฐสมาชิกอาเซียน
5.2 ให้รัฐสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศแต่งตั้งผู้แทนเข้าร่วมใน คณะกรรมาธิการฯ โดยผู้แทนนั้นจะรับผิดชอบต่อรัฐบาลที่แต่งตั้ง
คุณสมบัติ
5.3 ในการแต่งตั้งผู้แทนเข้าร่วมในคณะกรรมาธิการฯ ให้รัฐ สมาชิกคำนึงถึงหลักของความเท่าเทียมทางเพศ ความซื่อตรง และความรู้ความสามารถด้านสิทธิมนุษยชน
5.4 รัฐสมาชิกควรปรึกษากับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เหมาะสม ในการแต่งตั้งผู้แทนเข้าร่วมในคณะกรรมาธิการฯ ทั้งนี้ หากเป็น ข้อกำหนดตามกระบวนภายในของรัฐนั้น
วาระการดำรงตำแหน่ง
5.5 ให้ผู้แทนมีวาระการดำรงตำแหน่งในวาระแรกเป็นระยะเวลา 3 ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งติดต่อกันต่อไป ได้อีกไม่เกิน 1 วาระ
5.6 โดยไม่คำนึงถึงข้อ
5.5 รัฐบาลผู้แต่งตั้งอาจใช้วิจารณญาณ ตัดสินใจเปลี่ยนตัวผู้แทนของตนได้
ความรับผิดชอบ
5.7 ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้แทนแต่ละคน ให้ทำการอย่าง เป็นกลาง โดยสอดคล้องกับกฎบัตรอาเซียนและขอบเขตอำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมาธิการฯ
5.8 ผู้แทนมีหน้าที่ต้องเข้าร่วมการประชุมของคณะกรรมาธิการฯ ในกรณีที่ผู้แทนไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมได้เนื่องจาก สถานการณ์พิเศษ ให้รัฐบาลที่เกี่ยวข้องแจ้งการแต่งตั้งผู้แทน ชั่วคราวที่มีอำนาจเต็มในการทำการแทนรัฐนั้นต่อประธานคณะ กรรมาธิการฯ อย่างเป็นทางการ
ประธานคณะกรรมาธิการฯ
5.9 ให้ประธานคณะกรรมาธิการฯ มาจากผู้แทนของสมาชิกที่ ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน
5.10 ให้ประธานคณะกรรมาธิการฯ มีบทบาทสอดคล้องกับ
ขอบเขตอำนาจหน้าที่นี้ ซึ่งรวมถึง
เอ) มีบทบาทนำในการจัดทำรายงานของคณะกรรมาธิการฯ
และการเสนอรายงานต่อที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
บี) ประสานงานกับสมาชิกของคณะกรรมาธิการฯ ระหว่าง
สมัยประชุมของคณะกรรมาธิการฯ และกับองค์กรอาเซียน ที่เกี่ยวข้อง
ซี) เป็นผู้แทนคณะกรรมาธิการฯ ในงานระดับภูมิภาคและ
ระดับระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมาธิการฯ
ดี) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมาธิการฯ
โดยสอดคล้องกับขอบเขตอำนาจหน้าที่นี้
ความคุ้มกันและเอกสิทธิ์
5.11 ตามที่ระบุไว้ในข้อ 19 ของกฎบัตรอาเซียน ให้ผู้แทนที่เข้า ร่วมในกิจกรรมต่างๆ อันเป็นทางการของ คณะกรรมาธิการฯ ได้รับความคุ้มกันและเอกสิทธิ์เท่าที่มีความจำเป็นในการปฏิบัติ หน้าที่ของตน
6. แนวทางการดำเนินงาน
กระบวนการตัดสินใจ
6.1 ให้กระบวนการตัดสินใจในคณะกรรมาธิการฯ อยู่บนพื้นฐาน ของการปรึกษาหารือและฉันทามติโดยสอดคล้องกับข้อ 20 ของกฎบัตรอาเซียน
จำนวนการประชุม
6.2 ให้คณะกรรมาธิการฯ จัดการประชุมสมัยสามัญ 2 ครั้งต่อปี โดยการประชุมแต่ละครั้งจะมีระยะเวลาปกติไม่เกิน 5 วัน
6.3 ให้การประชุมสมัยสามัญของคณะกรรมาธิการฯ จัดขึ้นที่ สำนักเลขาธิการอาเซียนและในรัฐสมาชิกที่ดำรงตำแหน่งประธาน อาเซียนสลับกันไป
6.4 หากและเมื่อมีความเหมาะสมคณะกรรมาธิการฯ อาจจัดให้ มีการประชุมเพิ่มเติมที่สำนักเลขาธิการอาเซียนหรือสถานที่ที่ ผู้แทนตกลงกันได้
6.5 เมื่อมีความจำเป็น รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอาจสั่งการ ให้มีการประชุมคณะกรรมาธิการฯ ได้
ลำดับขั้นการรายงาน
6.6 ให้คณะกรรมาธิการฯ เสนอรายงานประจำปีและรายงานอื่นๆ ที่เหมาะสมต่อที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเพื่อพิจารณา
ข้อมูลสาธารณะ
6.7 ให้คณะกรรมาธิการฯ เปิดเผยให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับ งานและกิจกรรมของคณะกรรมาธิการฯ เป็นระยะๆ ผ่านทางสื่อ ข้อมูลสาธารณะที่เหมาะสม
ความสัมพันธ์กับองค์กรสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ในอาเซียน
6.8 คณะกรรมาธิการฯ เป็นสถาบันสูงสุดด้านสิทธิมนุษยชนใน อาเซียน ซึ่งมีความรับผิดชอบดูแลภาพรวมของการส่งเสริมและ ปกป้องสิทธิมนุษยชนในอาเซียน
6.9 ให้คณะกรรมาธิการฯ ร่วมกับองค์กรความร่วมมือเฉพาะ ด้านอื่นๆ ในอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนกำหนดแนวทาง การดำเนินการเพื่อการรวมองค์กรความร่วมมือเฉพาะด้านเหล่านั้น เข้ามาอยู่ภายใต้องค์กรในท้ายที่สุดโดยเร็ว ในการนี้ให้คณะ กรรมาธิการฯ ปรึกษาหารือ ประสานงานและร่วมมืออย่างใกล้ชิด กับองค์กรความร่วมมือเฉพาะด้านเหล่านั้น เพื่อส่งเสริมการทำงาน ร่วมกันและความสอดคล้องในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ มนุษยชนในอาเซียน
7. บทบาทของเลขาธิการและสำนักเลขาธิการอาเซียน
7.1 เลขาธิการอาเซียนอาจนำเสนอเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อคณะ กรรมาธิการฯ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 10. 2 (ก) และ (ข) ของกฎบัตร อาเซียน ในการนี้ ให้เลขาธิการอาเซียนแจ้งเรื่องที่นำเสนอต่อ คณะกรรมาธิการฯ ให้กับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนทราบไป พร้อมๆ กัน
7.2 ให้สำนักเลขาธิการอาเซียนให้การสนับสนุนงานเลขานุการ ตามที่จำเป็นต่อคณะกรรมาธิการฯ เพื่อให้คณะกรรมาธิการฯ สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนการทำงาน ของสำนักเลขาธิการอาเซียนในการสนับสนุนคณะกรรมาธิการฯ รัฐสมาชิก ด้วยความเห็นพ้องจากเลขาธิการอาเซียน อาจให้การ สนับสนุนเจ้าหน้าที่ของตนให้มาช่วยงานที่สำนักเลขาธิการอาเซียน
8. แผนงานและงบประมาณ
8.1 ให้คณะกรรมาธิการฯ เตรียมและเสนอแผนงานเกี่ยวกับ โครงการและกิจกรรมและประมาณการงบประมาณสำหรับรอบ ระยะเวลา 5 ปี เพื่อขอความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน โดยคำแนะนำของคณะกรรมการผู้แทนถาวร ประจำอาเซียน
8.2 ให้คณะกรรมาธิการฯ เตรียมและเสนอคำของบประมาณ ประจำปีเพื่อสนับสนุนโครงการและกิจกรรมเร่งด่วน เพื่อขอความ เห็นชอบจากที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน โดยคำแนะนำ ของคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียนด้วย
8.3 ให้งบประมาณประจำปีมาจากการบริจาคจำนวนเท่าๆ กัน ของรัฐสมาชิก
8.4 คณะกรรมาธิการฯ อาจรับทรัพยากรจากรัฐสมาชิกใดๆ สำหรับกิจกรรมเฉพาะในแผนงานที่อยู่นอกเหนือจากคำขอ งบประมาณ
8.5 ให้คณะกรรมาธิการฯ จัดตั้งกองทุนซึ่งประกอบด้วยการ บริจาคโดยสมัครใจจากรัฐสมาชิกหรือจากแหล่งอื่นๆ
8.6 ให้งบประมาณสนับสนุนจากแหล่งอื่นนอกเหนือจากรัฐ สมาชิกอาเซียนเป็นไปเพื่อโครงการหรือกิจกรรมเพื่อการส่งเสริม เสริมสร้างสมรรถภาพและการให้การการศึกษาเกี่ยวกับสิทธิ มนุษยชนเท่านั้น
8.7 ให้เงินทั้งหมดที่องค์กรใช้จ่ายมีการจัดการและเบิกจ่ายตาม กฎทั่วไปด้านการเงินของอาเซียน
8.8 ให้การสนับสนุนด้านเลขานุการแก่คณะกรรมาธิการฯ ได้รับ งบประมาณสนับสนุนจากงบประมาณสำหรับการดำเนินงาน ประจำปีของสำนักเลขาธิการอาเซียน
9. บทบัญญัติทั่วไปและบทบัญญัติสุดท้าย
9.1 ขอบเขตอำนาจหน้าที่นี้จะมีผลใช้บังคับทันทีที่ได้รับความ เห็นชอบจากที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
การแก้ไข
9.2 รัฐสมาชิกใดๆ อาจเสนอคำร้องอย่างเป็นทางการเพื่อขอ แก้ไขขอบเขตอำนาจหน้าที่นี้
9.3 ให้คำร้องขอแก้ไขได้รับการพิจารณาโดยคณะกรรมการผู้แทน ถาวรประจำอาเซียน โดยการปรึกษาหารือกับคณะกรรมาธิการฯ และเสนอให้ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนให้ความเห็น
9.4 การแก้ไขดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับทันทีที่ได้รับความเห็นชอบ จากที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
9.5 การแก้ไขดังกล่าวจะไม่กระทบต่อสิทธิและหน้าที่ที่เกิดขึ้น หรือมีพื้นฐานมาจากขอบเขตอำนาจหน้าที่ก่อนหรือจนกระทั่งถึง วันที่มีการแก้ไขนั้น
การทบทวน
9.6 ให้ขอบเขตอำนาจหน้าที่นี้ได้รับการทบทวนครั้งแรกเมื่อครบ กำหนด 5 ปีหลังจากมีผลใช้บังคับ ให้การทบทวนครั้งแรกและ ครั้งอื่นๆ ที่จะตามมาดำเนินการโดยที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ อาเซียน เพื่อพัฒนาการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนใน อาเซียน
9.7 เพื่อเป็นข้อมูลประกอบกระบวนการทบทวน ให้คณะกรรมาธิการฯ ประเมินการดำเนินงานของตนเองและเสนอคำแนะนำเกี่ยวกับ การดำเนินการขั้นต่อไปเพื่อขยายบทบาทขององค์กรในการ ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในอาเซียน โดยสอดคล้องกับ หลักการและวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียนและขอบเขต อำนาจหน้าที่นี้ ให้ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนพิจารณา
การตีความ
9.8 ให้เสนอความแตกต่างใดๆ เกี่ยวกับการตีความขอบเขต อำนาจหน้าที่นี้ ซึ่งไม่สามารถตกลงกันได้ ไปสู่ที่ประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน เพื่อตัดสินที่มา : กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ
» ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» แถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (เอเอชอาร์ดี)
» ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» แผนงานการจัดตั้ง ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
» ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
» ปฏิญญาชะอำ หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน (2552-2558)
» ความตกลงสำคัญเรื่องความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในกรอบอาเซียน
» แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียนปี 2547
» สิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องต้องใช้เวลา
» เงินสกุลอาเซียน ความฝันที่ใกล้เป็นจริง
» 7 ปรากฏการณ์ Social Network ในอาเซียน
» คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» ความร่วมมือของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
» ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
» ความร่วมมือทางทะเลในกรอบอาเซียน
» การบริหารจัดการภัยพิบัติ (พลเรือน)
» คณะกรรมาธิการอาเซียนเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก
» ความร่วมมือด้านการศึกษาอาเซียน
» ความร่วมมืออาเซียนด้านสาธารณสุข
» ASEAN-India Car Rally ครั้งที่ 2 ฉลองครบรอบ 20 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย
» การประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 47 ณ กรุงฮานอย เวียดนาม
» ความไว้เนื้อเชื่อใจ กุญแจที่ขาดหายไปในทะเลจีนใต้
» ASEAN Gay Rights บทบาทรุกหรือรับ
» จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
» รายชื่อโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
» การขับเคลื่อนโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
» อินโดนีเซียคาดเศรษฐกิจขยายตัวเร็วขึ้น,ยอดขาดดุลงบประมาณลดลงในปี 2556
» กบง.เล็งถกด่วนวันนี้ ลดเก็บเงินเข้ากองทุนฯ อีกระลอกหลังค่าการตลาดลดต่ำ
» พาณิชย์ขนทัพปาล์ม-ยาง-ไม้เปิดตลาดพม่า
» เอกชนจี้รัฐแก้ภาษีซ้อนเออีซีดันเปิดสาขาแบงก์ไทยในพม่า
» ความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา รุดหน้าถกแผนเศรษฐกิจ 3 ปี
» พาณิชย์จัดประชุม JTC กระชับความสัมพันธ์การค้าการลงทุน ไทย-กัมพูชา
» สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
» กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)
» แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)
» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ บูรณาการอาเซียน
» การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน