ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์
ประชาคมอาเซียน
สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน
ประชาคมอาเซียนกับนวัตกรรม
ท่านผู้อ่านอาจจะแปลกใจว่า เหตุใดจึงมีบทความเรื่องประชาคมอาเซียนกับนวัตกรรม ประชาคมอาเซียนหรือ ASEAN Community เกี่ยวโยงกับนวัตกรรมหรือที่ศัพท์ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innovation อย่างไร ผู้เขียนได้ ตั้งคำถามกับตัวเองในตอนแรกเช่นกัน ที่น่าสนใจกว่านั้น ต้องขอเรียนว่า ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่อง นวัตกรรมกับประชาคมอาเซียนได้เข้ามาพัวพันกับชีวิตของผู้เขียนอย่างมาก จึงเห็นว่า น่าจะได้เล่าสู่กันฟัง
หลายท่านคงทราบแล้วว่า ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีความก้าวหน้าประเทศหนึ่ง กำลัง เตรียมความพร้อมในทุกด้านและในทุกระดับเพื่อก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 ประชาคม อาเซียนประกอบด้วย ประชาคมการเมืองและความมั่นคง (ASEAN Political and Economic Community : APSC) ประชาคมเศรษฐกิจ (ASEAN Economic Community : AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC) โดยทั้งสามประชาคมต้องมีความก้าวหน้า และดำเนินไป ควบคู่กัน และโดยสนับสนุนกันและกัน เพื่อให้เกิดประชาคมอาเซียนที่สมบูรณ์ เปรียบเสมือนเก้าอี้สาม ขา จะขาดซึ่งขาใดขาหนึ่งไปไม่ได้
ในการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 63 ของอาเซียน ที่เนปิดอว์ เมียนมาร์ ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนวัตกรรมเป็นอย่างมาก โดย Innovation (I) หรือ นวัตกรรมดังกล่าว เป็นเรื่องที่ประเทศคู่เจรจาต่าง ๆ ของอาเซียนจะสามารถใช้เป็นแนวทางในการสานสัมพันธ์กับอาเซียนได้ต่อไป ในอนาคต โดยประเทศไทยได้ผลักดันที่จะให้มีความร่วมมือทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (Science & Technology and Innovation)
โดยที่อาเซียนมีเป้าหมายของการเป็น ประชาคมที่มีประชาชนเป็นศุนย์กลาง (people-oriented community) ประชาชนจึงเป็นหัวใจสำคัญของอาเซียน I Innovation จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับทั้งสามเสาของ ประชาคมอาเซียน นวัตกรรมเป็นภูมิปัญญาทางความคิด เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและความน่าสนใจ ให้กับตัวเอง สินค้า ผลิตภัณฑ์ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ รวมถึงระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ซึ่งปัจจุบันมีถึง 10 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย และรัสเซีย (อาเซียนยังมีปากีสถาน เป็นประเทศคู่เจรจาเฉพาะด้าน หรือ ที่เรียกว่า sectoral dialogue partner อีกด้วย) นวัตกรรมสามารถเกิดขึ้น ได้โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญ คือ การศึกษา การวิจัยและการพัฒนา ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศ ไทยต้องมีนโยบายให้การสนับสนุนทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน และงบประมาณ เพื่อให้เกิดทรัพยากรมนุษย์ที่ มีคุณภาพเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถเผชิญหน้ากับความท้าทาย ใหม่ ๆ ทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และในเวทีระหว่างประเทศได้ ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็จำเป็นต้อง แสวงหาแนวทางความร่วมมือด้านการศึกษา การวิจัยและการพัฒนาดังกล่าวข้างต้นกับประเทศและหุ้นส่วน ภายนอกด้วย
ถัดมา เป็นการเข้าร่วมเป็นผู้อภิปราย (Speaker) ในการประชุมวิชาการโลกมุสลิม ประจำปี 2555 (Annual Muslim World Conference 2010) เรื่อง เส้นทางทุนมนุษย์ไทย : โอกาสและจุดเปลี่ยนของ มุสลิมไทยในประชาคมอาเซียน ซึ่งจัดโดยศูนย์นโยบายโลกมุสลิม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย โดยได้เชิญท่านเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทยไปเข้าร่วมกล่าวเปิดการประชุมด้วย
ท่านเอกอัครราชทูตฯ ได้กล่าวถึง Innovation อีก จนผู้เขียนเริ่มเห็นคล้อยไปกับความสำคัญของการมี นวัตกรรมดังกล่าวและได้ร่วมกล่าวสนับสนุน ที่ประชุมยังได้มีโอกาสรับฟังแนวคิดที่น่าสนใจจากองค์ปาฐก เกี่ยวกับนวัตกรรมทุนมนุษย์ไทย ทั้งในเรื่องนวัตกรรมภาษา (การให้ประชาชนได้รับโอกาสเข้าถึงภาษา ทางเลือกอื่น ๆ นอกจากภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) นวัตกรรมทางความคิด (ต้องการโอกาสที่เปิดให้คิด) นวัตกรรมของทักษะที่สามารถวัดได้ (เพื่อวัดคุณภาพและให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ) นวัตกรรมทางการผลิต (ทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ ซึ่งจำเป็นต้องให้เกิดงานที่มีคุณภาพในปริมาณสูง สุดแต่ภายในระยะเวลาน้อยที่สุด) นวัตกรรมที่เป็นจุดแข็งที่ควรได้รับการอุ้มชูหรือสนับสนุน (อาทิ การที่ ประเทศไทยมีจุดแข็งในการด้านการบริการ การท่องเที่ยว การโรงแรม สุขภาพ และสปา) และนวัตกรรมหรือ เศรษฐกิจฐานความรู้ (knowledge-based innovation หรือ economy) เป็นต้น
ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้เขียนเห็นว่า การทำการศึกษา การวิจัยและการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ต้องทำอย่างจริงจัง ให้เกิด ประโยชน์และสามารถเอาไปประยุกต์ใช้หรืออ้างอิงได้จริง เพื่อให้การลงทุนเป็นสิ่งที่คุ้มค่า และเพื่อเตรียมความ พร้อมของประเทศไทยที่จะเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนได้อย่างสมบูรณ์แท้จริง
นางสาวลดา ภู่มาศ
นักการทูตชำนาญการ กรมอาเซียน สิงหาคม 2555
» ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» แถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (เอเอชอาร์ดี)
» ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» แผนงานการจัดตั้ง ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
» ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
» ปฏิญญาชะอำ หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน (2552-2558)
» ความตกลงสำคัญเรื่องความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในกรอบอาเซียน
» แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียนปี 2547
» สิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องต้องใช้เวลา
» เงินสกุลอาเซียน ความฝันที่ใกล้เป็นจริง
» 7 ปรากฏการณ์ Social Network ในอาเซียน
» คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
» ความร่วมมือของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
» ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
» ความร่วมมือทางทะเลในกรอบอาเซียน
» การบริหารจัดการภัยพิบัติ (พลเรือน)
» คณะกรรมาธิการอาเซียนเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก
» ความร่วมมือด้านการศึกษาอาเซียน
» ความร่วมมืออาเซียนด้านสาธารณสุข
» ASEAN-India Car Rally ครั้งที่ 2 ฉลองครบรอบ 20 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย
» การประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 47 ณ กรุงฮานอย เวียดนาม
» ความไว้เนื้อเชื่อใจ กุญแจที่ขาดหายไปในทะเลจีนใต้
» ASEAN Gay Rights บทบาทรุกหรือรับ
» จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
» รายชื่อโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
» การขับเคลื่อนโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
» อินโดนีเซียคาดเศรษฐกิจขยายตัวเร็วขึ้น,ยอดขาดดุลงบประมาณลดลงในปี 2556
» กบง.เล็งถกด่วนวันนี้ ลดเก็บเงินเข้ากองทุนฯ อีกระลอกหลังค่าการตลาดลดต่ำ
» พาณิชย์ขนทัพปาล์ม-ยาง-ไม้เปิดตลาดพม่า
» เอกชนจี้รัฐแก้ภาษีซ้อนเออีซีดันเปิดสาขาแบงก์ไทยในพม่า
» ความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา รุดหน้าถกแผนเศรษฐกิจ 3 ปี
» พาณิชย์จัดประชุม JTC กระชับความสัมพันธ์การค้าการลงทุน ไทย-กัมพูชา
» สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
» กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)
» แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)
» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ บูรณาการอาเซียน
» การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน