ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
ศิลปะเครื่องประดับช่วงยุคกลาง
เมื่อศาสนามีอิทธิพลอันยาวนาน ทำให้เครื่องประดับเกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อย
และผู้ที่เป็นช่างทองหรือนักทำเครื่องประดับคือ บาทหลวง หรือพระในศาสนาคริสต์
ทำให้รูปแบบของเครื่องประดับมีลักษณะของไม้กางเขนและเรื่องราวเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า
และอยู่ในโบสถ์เป็นส่วนมาก
บาทหลวงหรือพระเป็นผู้กำหนดเครื่องประดับเรื่อยมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน
จึงเรียกในช่วงนี้ว่า ยุคกลาง หรือ ยุคมืด
ศิลปะเครื่องประดับช่วงยุคกลางอยู่ในช่วงปี ค.ศ.600 ถึง 1400
ช่วงยุคกลางมีการแต่งกายที่เรียบๆ มีเข็มกลัดติดอยู่บริเวณคอเท่านั้น มีหัวเข็มขัด
มีแหวน ส่วนวัสดุที่ใช้มีงาช้าง นิล ปะการัง ไม้ หินอัญมณี และโลหะมีค่า
เพื่อทำเป็นลูกประคำเพื่อใช้ในการสวดมนต์ในพิธี
ส่วนสร้อยคอและการตกแต่งสิ่งของนำมาทำเป็นเครื่องรางตามความเชื่อที่อยู่เหนือธรรมชาติ
หินที่ใช่ก็จะต้องมีพลังในการป้องกัน ตัวอย่างเช่น
แอมิทิสจึงเป็นหินเพื่อป้องกันอาการเมาจากการดื่มแอลกอฮอล์
ปะการังเป็นสัญลักษณ์ของหัวใจ และมรดกเพื่อป้องกันโรคลมบ้าหมู
คริสตัลเป็นสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์ เป็นต้น
เครื่องประดับประเภทร้อยในยุคกลางนี้ยังคงเกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางศาสนา
มีการสวมใส่กันในหมู่ คริสเตียน วัตถุดิบส่วนใหญ่นิยมมาจากประเทศรัสเซีย
เมื่อศาสนาเป็นหัวใจสำคัญของสังคมในยุคกลางนี้
เครื่องประดับประเภทร้อยที่มีความโดดเด่น
เครื่องประดับที่เป็นเครื่องรางหรือสร้อยลูกประคำ
เครื่องประดับที่เป็นเครื่องราง หรือสร้อยลูกประคำ
หมายถึงการใช้นิ้วมือในการสัมผัส และอีกส่วนเพื่อการสวดมนต์
รูปแบบที่เก่าแก่ที่สุดของยุโรปมัดด้วยหนังที่เย็บไว้เป็นปมเล็กๆ
นอกจากนี้ยังมีแหวนกระดูกที่ทำจากปลาด้วย ต้นแบบของเครื่องประดับกลุ่มนี้คือ
กลุ่มฮินดูนอกจากนี้ยังพบในกลุ่มชาวพุทธ ธิเบต จีน และญี่ปุ่น โดยการร้อยเมล็ด 108
เม็ด หมายถึงความเจริญของพุทธศาสนา กฎระเบียบและความยินดี
ชาวคริสเตียนรู้จักครั้งแรกมาจากอาหรับเนื่องจากชาวมุสลิมได้เข้ามาบุกรุกในสเปนในศตวรรษที่แปด
เกิดสัญลักษณ์ดอกไม้หรือดอกกุหลาบ และสวน ฮินดูชื่อ japamala คือ การท่องพึมพำ
เป็นรูปกลีบดอกไม้ม้วน
ศาสนาพุทธ มีพระสงค์และผู้นับถือศาสนา ชาวโรมันคาร์ธอลิก มีคุณพ่อ
ลูกชาย และพระเจ้าโฮลี่ ลูกปัดของชาวพุทธและฮินดูมี 108 เม็ด มุสลิม 99 เม็ด
และชาวโรมันคาร์ธอลิกมี 150 เม็ด ความสำคัญอยู่ที่การจัด
วัสดุจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดพลังในความเชื่อของภูตผี วิญญาณ
ดังนั้นวัสดุจึงได้แก่ อาเกต เพื่อการศาสนาและเพื่อในการป้องกัน
ปะการังแสดงถึงเลือดและดวงวิญญาณ
การสวดมนต์มีลักษณะเป็นวรจร ลูกปัดจึงเป็นทรงกลม
ขนาดของวงจรจะมีขนาดใหญ่หรือเล็กรู้ได้จากการเริ่มต้นและสิ้นสุดของการสวดมนต์
พระเจ้าคือศูนย์กลางของทุกสิ่ง การสวดมนต์จึงจำเป็นต้องมีคำพูด
การเคลื่อนย้ายนิ้วมือและการใช้หูฟังของชาวตะวันออกผู้ที่สวดมนต์จะนับและมีการขยับมือหนึ่งข้าง
ส่วนชาวตะวันตกจะถือไว้สองมือเป็นลักษณะขนานกัน ส่วนชาวฮินดูได้สวดมนต์ทุกๆ วัน
โดยมีการพิมพ์ข้อความสองคำคือ ศิวะ และ วิษณุ
ส่วนชาวพุทธมีต้นแบบมาจากอินเดียเมื่อประมาณ 500 ปีก่อนคริสตศักราช
ชาวธิเบตใช้ลูกปัดทั้งหมด 108 ลูก คนทั่วไปอยู่ที่จำนวน 30 หรือ 40 ลูก
เพื่อการเข้าฌานและเพื่อบรรลุความรอบรู้ในสิ่งที่มองไม่เห็น
ส่วนลูกปัดของชาวธิเบธที่มีราคาสูงที่สุดนั้นทำมาจากกระดูกของลามะ มีทั้งหมด 108
ลูกเช่นกัน โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มเท่ากับ 27 ลูก
จุดต้นและจุดท้ายจะมาชนกัน เพื่อใช้นับรอบในการสวดมนต์
ลูกปัดลูกสุดท้ายจะเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นศาสนาพุทธ ส่วนชาวเกาหลีมีทั้งหมด 110
ลูก มีขนาดใหญ่ที่สุด 2 ลูก
ลูกที่หนึ่งถูกตกแต่งด้วยเครื่องหมายสวัสติกะและเริ่มต้นที่เกลียวเชือก
ส่วนอีกลูกหนึ่งจะอยู่ตรงกลาง ได้ถูกยกย่องว่าเป็นลูกประคำคลาสสิค
ชาวพุทธในประเทศญี่ปุ่นมีทั้งหมด 112 ลูก ศาสนาอิสลามมีจำนวนทั้งหมด 99
ลูก มีหนึ่งลูกเป็น iman หรือผู้นำ การนับลูกปัดทั้ง 99 ลูกนั้นคือพระเจ้าโฮลี่
ลูกที่หนึ่งร้อยหมายถึง ชื่อของพระเจ้า Allah รวมถึง tahmid
หมายถึงการสรรเสริญต่อพระเจ้า และ tahlit พระเจ้าไม่มีทางตาย
ลูกที่หนึ่งร้อยจะเป็นชื่อของพระเจ้า พระมูฮัมหมัดกล่าวไว้ว่า
ทั้งเก้าสิบเก้าชื่อเป็นของพระเจ้า
และการสวดมนต์กระทำเพื่อให้พวกเขาจะเข้าสู่สรวงสวรรค์ ผู้ซึ่งสวด tahmid
หนึ่งร้อยครั้งในตอนเช้าและตอนเย็น พวกเขาจะได้พรจากพระเจ้า
ส่วนทางด้านโรมันคาร์ธอลิกมีลูกประคำทั้งหมด 150 ลูก เป็นของ Ave
สำหรับผู้ที่จะสวดมนต์ Hail Mary ตามมาด้วย Paternoster (ลอร์ดจะเป็นผู้สวด)
หมายถึง การมีชีวิตของพระเยซูและพระแม่แมรี่ ซึ่งเป็นความยินดีห้าประการ
ความเสียใจห้าประการ และสิ่งลี้ลับอีกห้าประการ (Margaret L. Kaplan, 84-91)
» ลักษณะการนำต้นแบบมาพัฒนาใหม่ หรือมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ
» ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุดก่อนประวัติศาสตร์
» ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับอารยธรรมโบราณ
» ศิลปะเครื่องประดับอียิปต์ (Egypt)
» ยุค Middle Kingdom หรือยุคอาณาจักรกลาง
» ยุค New Kingdom หรือยุคอาณาจักรใหญ่
» ศิลปะเครื่องประดับเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)
» ศิลปะเครื่องประดับมิโนอัน - ไมซีเน (Minoan - Mycenae)
» ศิลปะเครื่องประดับกรีก (Greek)
» ศิลปะเครื่องประดับอีทรัสกัน (Etrucan)
» ศิลปะเครื่องประดับเชลติก (Celtic)
» ศิลปะเครื่องประดับโรมัน (Rome)
» ศิลปะเครื่องประดับไบแซนไทน์ (Byzantine)
» ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุคประวัติศาสตร์
» ศิลปะเครื่องประดับช่วงยุคกลาง
» ศิลปะเครื่องประดับโกธิค (Gothic)
» ศิลปะเครื่องประดับสมัยเรอนาซองค์ (Renaissance)
» ศิลปะเครื่องประดับแมนเนอริส (Mannerist)
» นักออกแบบเครื่องประดับ Benvenuto Cellini
» การออกแบบเครื่องประดับเชิงนามธรรม
» ศิลปะเครื่องประดับสมัยอลิซาเบธที่ 1
» ศิลปะเครื่องประดับบาร็อค (Baroque)
» ศิลปะเครื่องประดับนีโอคลาสสิค
» ศิลปะเครื่องประดับคาเมโอ (Cameo)
» ศิลปะเครื่องประดับนโปเลียนกับโจเซฟิน (Napoleon & Josephine)
» ศิลปะเครื่องประดับแบบคัทสติล (Cut Steel)
» ศิลปะเครื่องประดับแบบแชทเทิลเลน (Chatelaines)
» ศิลปะเครื่องประดับสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19
» ศิลปะเครื่องประดับอนุรักษ์นิยม
» นักออกแบบเครื่องประดับ Fortunato Pio Castellani
» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อนาย Carlo Giuliano
» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Peter Carl Faberge
» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Eugene Fontenay
» ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตนูโว (Art Nouveau)
» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Rene Lalique
» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Charles Lewis Tiffany
» ศิลปะเครื่องประดับวิคตอเรีย (Victoria)
» ศิลปะเครื่องประดับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
» นักออกแบบเครื่องประดับ Fulco di Verdura
» ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตเดโค (Art Deco)
» นักออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ McClelland Barclay
» บริษัทที่ออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ Trifari
» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Coro
» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Boucher
» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Haskell
» บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Cartier
» บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Van Cleep & Arpels
» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Daniel Swarovski
» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Eisenberg
» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Hobe
» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Bulgari
» ศิลปะเครื่องประดับหลังสมัยใหม่
» ศิลปะเครื่องประดับมินิมอล (Minimalism)