ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

ประวัติศาสตร์ศิลป์

ศิลปะเครื่องประดับโรมัน (Rome)

หลังจากสิ้นสุดอารยธรรมของชาติอิทรัสกัน ได้กลายมาเป็นชาวอิตาลีโรมัน โดยอาณาจักรโรมันอยู่ในช่วงระหว่าง 500 ปีก่อนคริสตศักราช จนถึงปี ค.ศ.395 ซึ่งได้แบ่งอาณาจักรออกเป็นยุคต่างๆ ดังนี้

การแบ่งอาณาจักรโรมันแบ่งออกเป็น 3 ยุคดังนี้

  • ยุค Republican Period หรือเรียกว่ายุคสาธารณรัฐ อยู่ในช่วงระหว่า 500 ปีก่อนคริสตศักราช ถึง 27 ปีก่อนคริสตศักราช
  • ยุค Early Imperial Period หรือเรียกว่ายุคจักรวรรดิตอนต้น อยู่ในช่วงระหว่าง 27 ปีก่อนคริสตศักราชถึงปี ค.ศ.28
  • ยุค Late Imperial Period หรือเรียกว่ายุคจักรวรรดิตอนปลาย อยู่ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 285 ถึงปี ค.ศ.395

ในช่วงต้นของสมัยโรมันยุค Republican Period หรือเรียกว่ายุคสาธารณรัฐ เมื่อประมาณ 500 ถึง 27 ปีก่อนคริสตศักราชมีลักษณะเรียบง่ายไปจนถึงสร้างเป็นจักรวรรดิโรมัน มีการขยายอาณาจักรโรมจึงกลายเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ มีโครงสร้างทางการเมืองและสังคมที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

เมื่อพระเจ้าซีซาร์ถูกปลงพระชนม์เมื่อ 44 ปีก่อนคริสตศักราช ออกุสตุสหลานชายหรือบุตรบุญธรรมได้ชนะศัตรูทั้งหลายและตั้งตนเป็นจักรพรรดิ์โรมันพระองค์แรกเมื่อ 27 ปีก่อนคริสตศักราช หลังจากนี้ดินแดนเมดิเตอร์เรเนียนมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองยาวนานถึง 200 ปี หลังจากเข้าศตวรรษที่ 3 อาณาจักรแห่งจี้จึงได้ล่มสลายลง เกิดจากความสับสนวุ่นวายภายในของอาณาจักรเอง จนกระทั่งจักรพรรดิในปี ค.ศ.473 อาณาจักรโรมพ่ายแพ้แก่ชาวเออเมเนียและชาวอัสซีเรีย ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของเยอรมันและทางตอนเหนือของอังกฤษ จึงจำเป็นต้องอพยพออก และได้ไปสิ้นสุดที่ดินแดนใหม่คือ กรุงคอนสแตนติโนเปิล

ศิลปะของโรมันได้ปรากฏขึ้นโดยเน้นความงามทางกายภาพ โดยเฉพาะความงามของพระเจ้าอะเธน่าที่ชาวโรมันให้ความนับถือ ต่อมาเมื่อศาสนาคริสต์เข้ามามีบทบาทในอาณาจักรโรมันทำให้การออกแบบเครื่องประดับได้รับอิทธิพลในการใช้สัญลักษณ์เพื่อศาสนาเข้าไปด้วย แต่การออกแบบยังมีลักษณะเรขาคณิต โดยเฉพาะการใช้รูปทรงโค้งที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวโรมัน

เครื่องประดับของโรมันมีรสนิยมแบบตะวันออก ใช้หินสีเช่นเดียวกันกับอิทรัสกันที่ใช้ทองคำมาตกแต่งผิวหน้า มีการใช้สีและทองคำอีกรูปแบบหนึ่ง เครื่องประดับในโรมไม่ปรากฏอย่างหรูหราแต่อีกประมาณร้อยปีจึงปรากฏแหวน สร้อยคอ และเครื่องประดับอื่นๆ ของชาวโรมัน ความกว้างใหญ่ของพระจักรพรรดิทำให้การค้ามีเครือข่าย มีการใช้วัสดุมีค่า มีไข่มุกและปะการังที่มาจากอ่าวเปอร์เซีย และมีมรกตที่มาจากเหมืองแร่อียิปต์ซึ่งอยู่ใกล้ทะเลแดงก็นำมาทำสร้อยคอและต่างหู การค้าของยุโรปทางเหนือได้ทำการค้ากับอังกฤษและมีการนำอำพันมาจากบอลติก โดยชาวเรือโรมันเป็นที่ขึ้นชื่อของชาวเมดิเตอร์เรเนียน ในการค้นพบอินเดีย พม่าและศรีลังกา ซึ่งเป็นแหล่งหลักๆ ของทับทิม แซฟไฟร์ และการ์เนต ชาวโรมันก็เป็นผู้ค้นพบ นอกจากนี้ยังพบห้องปฏิบัติการเก่าชาวเฮเลนนิสติคสมัยอเล็กซานเดรียในโรม ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการผลิตเครื่องประดับของสำนักพระราชวังชาวโรมัน อย่างไรก็ตามการทำงานของช่างฝีมือของโรมได้มาจากจังหวัดที่อยู่ทางตะวันออกเป็นหลัก

จนมาถึงช่วงปลายของอาณาจักรโรมัน หรือยุค Late Imperial Period หรือที่เรียกว่ายุคจักรวรรดิตอนปลายนั้น มีการออกแบบเครื่องประดับโดยการยึดการจัดอัญมณีแบบกากบาทมากยิ่งขึ้น และเริ่มต้นมีเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนามากขึ้นด้วยเช่นกัน

ในช่วงปี 100 ถึง 400 เป็นช่วงยุคทองของการทำแก้ว ชาวโรมันนำลูกปัดแก้วไปเป็นวัสดุทางการค้า โดยการผลิตมีการจัดการของสี แพทเทิร์น และการผสมผสานเทคนิค เครื่องประดับจากชาวโรมัน สนองตอบความต้องการของสังคมอย่างกว้างขวาง มีการแลกเปลี่ยนไกลไปทางตอนเหนือถึงสแกนดิเนเวีย และไกลไปทางตะวันออกและใต้

หลังจากชัยชนะของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้มีการฝึกช่างทำเครื่องประดับซึ่งมาจากการออกแบบภายในของอียิปต์ ช่างฝีมือมาจากศูนย์กลางที่ตั้งใหม่จังหวัดหนึ่งของโรมัน มีการจัดตั้งโรงงาน ทำเทคนิคและรูปแบบ มีการใช้เทคนิคการผลิตระยะยาว จัดเป็นความคิดสร้างสรรค์ในการจัดการ มีเตาหลอมละลายขนาดใหญ่กว่าด้วยไฟที่ร้อนกว่าเพื่อเป็นการสร้างสรรค์ผลงานให้แปลกมากยิ่งขึ้น ส่วนผสมการทำแก้ว มีทราย ด่าง และตัวทำให้เกิดสีเท่านั้น เป็นการผลิตแก้วที่มีเนื้อแก้วได้เพียวกว่า มีการนำหลอดเป่าแล่นเข้ามา ทำให้โรงงานเครื่องประดับทันสมัยมากขึ้นเปิดเส้นทางในการค้นหาเทคนิคใหม่ๆ ทั้งรูปแบบและการตกแต่งลวดลายเสมอ

» ลักษณะต้นแบบโบราณ

» ลักษณะการนำต้นแบบมาพัฒนาใหม่ หรือมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ

» ลักษณะการออกแบบรูปแบบใหม่

» ลักษณะการออกแบบข้ามวัฒนธรรม

» ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุดก่อนประวัติศาสตร์

» ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับอารยธรรมโบราณ

» ศิลปะเครื่องประดับอียิปต์ (Egypt)

» ยุค Middle Kingdom หรือยุคอาณาจักรกลาง

» ยุค New Kingdom หรือยุคอาณาจักรใหญ่

» ศิลปะเครื่องประดับเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)

» ศิลปะเครื่องประดับมิโนอัน - ไมซีเน (Minoan - Mycenae)

» ศิลปะเครื่องประดับกรีก (Greek)

» ศิลปะเครื่องประดับอีทรัสกัน (Etrucan)

» ศิลปะเครื่องประดับเชลติก (Celtic)

» ยุค Princes

» ยุควัฒนธรรม La Tene

» ยุคขยายอาณาจักร

» ยุคอิทธิพลของนักรบ

» ศิลปะเครื่องประดับโรมัน (Rome)

» ศิลปะเครื่องประดับไบแซนไทน์ (Byzantine)

» ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุคประวัติศาสตร์

» ศิลปะเครื่องประดับช่วงยุคกลาง

» ศิลปะเครื่องประดับโกธิค (Gothic)

» ศิลปะเครื่องประดับสมัยเรอนาซองค์ (Renaissance)

» ศิลปะเครื่องประดับแมนเนอริส (Mannerist)

» นักออกแบบเครื่องประดับ Benvenuto Cellini

» การออกแบบเครื่องประดับเชิงนามธรรม

» ศิลปะเครื่องประดับสมัยอลิซาเบธที่ 1

» ศิลปะเครื่องประดับบาร็อค (Baroque)

» การประดิษฐ์ตกแต่ง

» ศิลปะเครื่องประดับโรโคโค

» ศิลปะเครื่องประดับนีโอคลาสสิค

» ศิลปะเครื่องประดับคาเมโอ (Cameo)

» ศิลปะเครื่องประดับนโปเลียนกับโจเซฟิน (Napoleon & Josephine)

» ศิลปะเครื่องประดับแบบคัทสติล (Cut Steel)

» ศิลปะเครื่องประดับแบบแชทเทิลเลน (Chatelaines)

» ศิลปะเครื่องประดับสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19

» ศิลปะเครื่องประดับอนุรักษ์นิยม

» นักออกแบบเครื่องประดับ Fortunato Pio Castellani

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อนาย Carlo Giuliano

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Peter Carl Faberge

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Eugene Fontenay

» ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตนูโว (Art Nouveau)

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Rene Lalique

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Charles Lewis Tiffany

» ศิลปะเครื่องประดับวิคตอเรีย (Victoria)

» ศิลปะเครื่องประดับสมัยใหม่

» ศิลปะเครื่องประดับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1

» นักออกแบบเครื่องประดับ Fulco di Verdura

» ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตเดโค (Art Deco)

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1920

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1930

» นักออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ McClelland Barclay

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1940

» บริษัทที่ออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ Trifari

» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Coro

» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Boucher

» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Haskell

» บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Cartier

» บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Van Cleep & Arpels

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1950

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Daniel Swarovski

» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Eisenberg

» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Hobe

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1960

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Bulgari

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1970

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1980

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1990

» ศิลปะเครื่องประดับหลังสมัยใหม่

» ศิลปะเครื่องประดับมินิมอล (Minimalism)

» ศิลปะเครื่องประดับเชิงศิลปะ

» ศิลปะเครื่องประดับเชิงอุตสาหกรรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย