ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
ศิลปะเครื่องประดับสมัยอลิซาเบธที่ 1
ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16
จัดได้ว่าเป็นช่วงที่ผลงานเครื่องประดับอยู่ในยุคเฟื่องฟูโดยเฉพาะการเคลื่อนไหวตามความต้องการของพระมหากษัตริย์ในยุโรป
โดยเฉพาะประเทศชั้นนำในยุโรป ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และสเปน
ซึ่งในขณะนั้นเป็นยุคที่เกิดภาวะทั้งเป็นมิตรและศัตรูและมีการแข่งขันความมั่งคั่งกันอยู่มิใช่น้อย
จึงทำให้เครื่องประดับในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 นี้ได้ปรากฏเป็นจำนวนมาก
ก่อนที่พระนางอลิซาเบธที่ 1 ทรงขึ้นครองราชย์นั้น
พระราชบิดาของพระองค์คือ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8
เป็นกษัตริย์ที่มีความเฉียบขาดทางด้านการปกครอง
ทางด้านการจัดการทางศาสนารวมทั้งทางด้านการค้า
โดยได้พัฒนาการเดินเรือเพื่อการค้าขายจนเป็นการเดินเรือชั้นนำของยุโรปสิ่งที่เกิดขึ้นคือ
พระองค์ทรงโปรดในการสะสมทรัพย์สมบัติเป็นอย่างยิ่ง
ได้มีการให้ช่างทองต่างพัฒนาฝีมือและศักยภาพให้มีความงดงาม
หลังจากได้พัฒนาการเดินเรือเพื่อค้นหาแผ่นดินใหม่ในการเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติแล้ว
การเป็นคู่แข่งทางการเมืองอย่างไม่ย่อท้ากับพระเจ้าฟรานซีสที่ 1 แห่งฝรั่งเศส
ทำให้อัตราการสะสมทรัพย์สมบัติยิ่งเป็นที่ไม่ย่อท้ออีกเช่นกัน
เนื่องจากพระเจ้าฟรานซีสที่ 1 ก็ทรงโปรดการสะสมทรัพย์สมบัติเช่นกัน
หามีมีอัญมณีมีค่างามงดสะสมมากเท่าใด
จัดเป็นสิ่งแสดงความมั่นคงและความมั่งคั่งของประเทศได้ดี
หลังจากที่พระนางอลิซาเบธที่ 1 ทรงขึ้นครองราชย์เมื่อมีพระชนม์มายุได้
25 พรรษาระหว่างปี ค.ศ.1558-1603 ทรัพย์สมบัติที่พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ทรงสะสมไว้นั้น
มิได้ตกเป็นของพระองค์ทั้งหมด หากแต่พร่องไปบ้างในสมัยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6
กับสมัยพระนางแมรี่ทรงครองราชย์อยู่ ในยุคพระองค์มีการแต่งกายหนาทึบ
มีลักษณะของปกคอเสื้อที่เรียกว่า คอกิ้งก่า ตกแต่งด้วยอัญมณีมีค่าบนเครื่องแต่งกาย
มีการสวมสร้อยคอแบบ carcanet หรือสร้อยคอแบบสั้น และเครื่องประดับแบบ cotiere
หรือแบบสังวาล
โดยเฉพาะเครื่องประดับแบบสังวาลย์เป็นเครื่องประดับที่สามารถสวมใส่ได้ทั้งสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ส่วนใหญ่ประดับไข่มุก ลงยาฝังเพชร
อัญมณีและนิยมสวมเครื่องประดับแบบเข้าชุดกันระหว่างสร้อยคอ จี้ห้อยคอ สังวาล
เครื่องประดับศีรษะ แหวน เป็นตัน ส่วนรูปแบบเครื่องประดับที่ปรากฏในสมัยพระองค์
จะเป็นรูปแบบร่วมสมัยคือศิลปะเครื่องประดับเรอนาซองค์และศิลปะเครื่องประดับแมนเนอร์ริส
โดยพระองค์ได้ให้ช่างทองพัฒนารูปแบบให้มีความหรูหรามากยิ่งขึ้นไปอีก
มีองค์ประกอบของอัญมณีขนาดใหญ่ในการเสริมสร้างบารมี
มีรูปทรงและลวดลายที่มีความละเอียดลออมากขึ้น
จนเครื่องประดับในสมัยพระองค์เป็นที่โดดเด่นที่สุดในประเทศยุโรป
พระนางทรงชื่นชมกับบรรดาเครื่องประดับอันมีค่า แต่ไม่อาจเทียมเท่าพระบิดาของพระองค์
ซึ่งมีหีบทรัพย์สมบัติขนาดใหญ่หาค่ามิได้
พระนางอลิซาเบธที่ 1
จัดเป็นกษัตริย์ที่มีความสุขและมีความทันสมัยมากที่สุด ทรงโปรดทางด้านการแสดง ดนตรี
บันเทิงเริงรมย์มาก แต่พระองค์สามารถปกครองประเทศได้ดี
ทำให้ประเทศอังกฤษจัดเป็นประเทศที่เกิดอำนาจและทำให้เกิดความก้าวหน้ามากที่สุดของยุโรปตั้งแต่สมัยพระองค์ขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน
ถึงแม้มิได้ทรงอภิเษกสมรส
แต่พระองค์เป็นสตรีที่มีความแข็งแกร่งและมีความสง่าทั้งอิริยาบถและจากสวมใส่เครื่องประดับเป็นอย่างยิ่ง
» ลักษณะการนำต้นแบบมาพัฒนาใหม่ หรือมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ
» ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุดก่อนประวัติศาสตร์
» ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับอารยธรรมโบราณ
» ศิลปะเครื่องประดับอียิปต์ (Egypt)
» ยุค Middle Kingdom หรือยุคอาณาจักรกลาง
» ยุค New Kingdom หรือยุคอาณาจักรใหญ่
» ศิลปะเครื่องประดับเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)
» ศิลปะเครื่องประดับมิโนอัน - ไมซีเน (Minoan - Mycenae)
» ศิลปะเครื่องประดับกรีก (Greek)
» ศิลปะเครื่องประดับอีทรัสกัน (Etrucan)
» ศิลปะเครื่องประดับเชลติก (Celtic)
» ศิลปะเครื่องประดับโรมัน (Rome)
» ศิลปะเครื่องประดับไบแซนไทน์ (Byzantine)
» ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุคประวัติศาสตร์
» ศิลปะเครื่องประดับช่วงยุคกลาง
» ศิลปะเครื่องประดับโกธิค (Gothic)
» ศิลปะเครื่องประดับสมัยเรอนาซองค์ (Renaissance)
» ศิลปะเครื่องประดับแมนเนอริส (Mannerist)
» นักออกแบบเครื่องประดับ Benvenuto Cellini
» การออกแบบเครื่องประดับเชิงนามธรรม
» ศิลปะเครื่องประดับสมัยอลิซาเบธที่ 1
» ศิลปะเครื่องประดับบาร็อค (Baroque)
» ศิลปะเครื่องประดับนีโอคลาสสิค
» ศิลปะเครื่องประดับคาเมโอ (Cameo)
» ศิลปะเครื่องประดับนโปเลียนกับโจเซฟิน (Napoleon & Josephine)
» ศิลปะเครื่องประดับแบบคัทสติล (Cut Steel)
» ศิลปะเครื่องประดับแบบแชทเทิลเลน (Chatelaines)
» ศิลปะเครื่องประดับสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19
» ศิลปะเครื่องประดับอนุรักษ์นิยม
» นักออกแบบเครื่องประดับ Fortunato Pio Castellani
» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อนาย Carlo Giuliano
» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Peter Carl Faberge
» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Eugene Fontenay
» ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตนูโว (Art Nouveau)
» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Rene Lalique
» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Charles Lewis Tiffany
» ศิลปะเครื่องประดับวิคตอเรีย (Victoria)
» ศิลปะเครื่องประดับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
» นักออกแบบเครื่องประดับ Fulco di Verdura
» ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตเดโค (Art Deco)
» นักออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ McClelland Barclay
» บริษัทที่ออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ Trifari
» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Coro
» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Boucher
» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Haskell
» บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Cartier
» บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Van Cleep & Arpels
» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Daniel Swarovski
» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Eisenberg
» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Hobe
» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Bulgari
» ศิลปะเครื่องประดับหลังสมัยใหม่
» ศิลปะเครื่องประดับมินิมอล (Minimalism)