ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

ประวัติศาสตร์ศิลป์

ศิลปะเครื่องประดับอีทรัสกัน (Etrucan)

เป็นกลุ่มชนที่อยู่แถวบริเวณประเทศอิตาลี มีฝีมือในการรบและการผลิตอาวุธที่มีคุณภาพสูง จึงทำให้กลุ่มชนนี้มีความน่าเกรงขามทั้งๆ ที่เป็นกลุ่มชนที่มีขนาดเล็ก มีลักษณะทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ มีพลัง โดยมีเครื่องประดับจำนวนหลายชิ้นที่แสดงสีหน้า และแสดงถึงอารมณ์ เน้นความเป็นตัวของตัวเอง มีการเรียกเครื่องประดับที่มีลักษณะหน้ากากว่า phersu ซึ่งเป็นใบหน้าของเทพเจ้าอะคีลุสหรือเทพเจ้าแห่งสายน้ำ เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความมั่งคั่ง ความหรูหรา โดยเครื่องประดับของชาวอิทรัสกันเป็นโลหะทองคำ เป็นรูปทรงแบบปิด มีแนวความคิดในการผลิตและออกแบบ 3 ประการร่วมกันคือ ความแตกต่างในการเชื่อมโลหะ การขึ้นรูปทรงภายนอก และการทำผิวหน้าหรือมีพื้นผิวที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดผลทางความรู้สึกและเกิดแสงที่ตกกระทบมายังเครื่องประดับที่แตกต่างกัน การผลิตเครื่องประดับของชาวอิทรัสกันมีกระบวนการตกแต่งที่เรียกว่า granulation มีลักษณะของการทำทองคำให้เป็นเม็ดขนาดเล็กกลม มาประดับตกแต่ง เป็นเทคนิคที่ชาวอิทรัสกันนิยมนำมาใช้ จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ในการออกแบบเครื่องประดับได้

ทางด้านการร้อยเครื่องประดับของชาวอิทรัสกัน ได้นำเอกลักษณ์ของตนเองมาผสมกับศิลปะหลายชนชาติ เนื่องจากมีช่างฝีมือเทคนิคการทำเครื่องประดับที่สมบูรณ์แบบมากที่สุดชนชาติหนึ่ง โดยเฉพาะเทคนิค granulation ที่ชาวอิทรัสกันได้นิยมสร้างสรรค์ขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นผู้นำทางการเรือและการค้า เป็นผลให้ผลงานเครื่องประดับประเภทร้อยเกิดการผสมผสานร่วมกับรูปแบบอื่นๆ รูปแบบการร้อยเครื่องประดับที่มีอิทธิพลของชาวอิทรัสกันอย่างชัดเจน ได้แก่ ชนชาติโฟนีเซีย ทหารเรือชาวโฟนีเซียเป็นกลุ่มที่ค้นพบการเดินทางทางตอนใต้ของแอฟริกา ทั้งๆ ที่เป็นการสำรวจ แต่การทำการค้าหรือการทำมาหากินก็ยังคงเป็นพื้นฐาน มีการปลูกพืชเพื่อไว้แลกเปลี่ยนกับทองแดงของชาวไซพิออตและทองคำของแอฟริกา รวมทั้งหินมีค่า งาช้าง และสัตว์บางชนิด

ชาวโฟนีเซียได้ฝังสิ่งของไปพร้อมกับความตาย ฝังลงไปในหลุมฝังศพ จึงได้พบเข็มกลัดแก้วและเครื่องประดับจำนวนหนึ่งที่หลุมฝังศพ ส่วนชาวอิทรัสกันกำลังเข้าสู่ภายใต้จักรวรรดิของโรมัน กิจกรรมทางการค้าจึงเป็นการค้าเหล็ก ทองแดง สังกะสี และตะกั่ว ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการผลิตสิ่งของโลหะ มีวัตถุดิบเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์หรูหราที่ทำด้วยทองคำ โลหะเงินและงาช้างจากฝั่งตะวันออก ส่วนการทำการค้ากับเอเชียตะวันตกและกรีก ทำให้ชาวอิทรัสกันได้ติดต่อและมีอิทธิพลในลำดับต่อมา หลุมฝังศพของชาวอิทรัสกันจึงมีภาพวาดประกอบที่ชัดเจน จัดเป็นหลักฐานที่ดี มีผลไปยังเครื่องประดับของชาวอิทรัสกันที่เป็นหนึ่งของสิ่งของโบราณของโลกในลำดับต่อมา ลูกปัดของชาวอิทรัสกันเป็นที่รู้กันว่ามีเทคนิคที่สมบูรณ์แบบที่สุด เช่น เทคนิคการติดอำพันกับทองคำที่ให้ความสวยงานกับเครื่องประดับชั้นสูง ได้รับความพอใจเป็นอย่างมาก

» ลักษณะต้นแบบโบราณ

» ลักษณะการนำต้นแบบมาพัฒนาใหม่ หรือมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ

» ลักษณะการออกแบบรูปแบบใหม่

» ลักษณะการออกแบบข้ามวัฒนธรรม

» ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุดก่อนประวัติศาสตร์

» ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับอารยธรรมโบราณ

» ศิลปะเครื่องประดับอียิปต์ (Egypt)

» ยุค Middle Kingdom หรือยุคอาณาจักรกลาง

» ยุค New Kingdom หรือยุคอาณาจักรใหญ่

» ศิลปะเครื่องประดับเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)

» ศิลปะเครื่องประดับมิโนอัน - ไมซีเน (Minoan - Mycenae)

» ศิลปะเครื่องประดับกรีก (Greek)

» ศิลปะเครื่องประดับอีทรัสกัน (Etrucan)

» ศิลปะเครื่องประดับเชลติก (Celtic)

» ยุค Princes

» ยุควัฒนธรรม La Tene

» ยุคขยายอาณาจักร

» ยุคอิทธิพลของนักรบ

» ศิลปะเครื่องประดับโรมัน (Rome)

» ศิลปะเครื่องประดับไบแซนไทน์ (Byzantine)

» ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุคประวัติศาสตร์

» ศิลปะเครื่องประดับช่วงยุคกลาง

» ศิลปะเครื่องประดับโกธิค (Gothic)

» ศิลปะเครื่องประดับสมัยเรอนาซองค์ (Renaissance)

» ศิลปะเครื่องประดับแมนเนอริส (Mannerist)

» นักออกแบบเครื่องประดับ Benvenuto Cellini

» การออกแบบเครื่องประดับเชิงนามธรรม

» ศิลปะเครื่องประดับสมัยอลิซาเบธที่ 1

» ศิลปะเครื่องประดับบาร็อค (Baroque)

» การประดิษฐ์ตกแต่ง

» ศิลปะเครื่องประดับโรโคโค

» ศิลปะเครื่องประดับนีโอคลาสสิค

» ศิลปะเครื่องประดับคาเมโอ (Cameo)

» ศิลปะเครื่องประดับนโปเลียนกับโจเซฟิน (Napoleon & Josephine)

» ศิลปะเครื่องประดับแบบคัทสติล (Cut Steel)

» ศิลปะเครื่องประดับแบบแชทเทิลเลน (Chatelaines)

» ศิลปะเครื่องประดับสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19

» ศิลปะเครื่องประดับอนุรักษ์นิยม

» นักออกแบบเครื่องประดับ Fortunato Pio Castellani

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อนาย Carlo Giuliano

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Peter Carl Faberge

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Eugene Fontenay

» ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตนูโว (Art Nouveau)

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Rene Lalique

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Charles Lewis Tiffany

» ศิลปะเครื่องประดับวิคตอเรีย (Victoria)

» ศิลปะเครื่องประดับสมัยใหม่

» ศิลปะเครื่องประดับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1

» นักออกแบบเครื่องประดับ Fulco di Verdura

» ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตเดโค (Art Deco)

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1920

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1930

» นักออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ McClelland Barclay

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1940

» บริษัทที่ออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ Trifari

» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Coro

» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Boucher

» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Haskell

» บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Cartier

» บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Van Cleep & Arpels

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1950

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Daniel Swarovski

» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Eisenberg

» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Hobe

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1960

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Bulgari

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1970

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1980

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1990

» ศิลปะเครื่องประดับหลังสมัยใหม่

» ศิลปะเครื่องประดับมินิมอล (Minimalism)

» ศิลปะเครื่องประดับเชิงศิลปะ

» ศิลปะเครื่องประดับเชิงอุตสาหกรรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย