ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

ประวัติศาสตร์ศิลป์

นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Peter Carl Faberge

นาย Faberge เป็นช่างทองประจำราชสำนักคนสุดท้ายแห่งราชวงศ์โรมานอฟ ประเทศรัสเซีย ซึ่งอยู่ในช่วงสมัยพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ได้จัดว่าเป็นช่างทองที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของวงการเครื่องประดับในประเทศทางตะวันตก มีรูปแบบเครื่องประดับรวมทั้งสิ่งของที่มีการตกแต่งเครื่องประดับทั้งรูปแบบเก่าและรูปแบบใหม่อย่างสวยงาม โดยรูปแบบเก่าที่นำมาเป็นแรงบันดาลใจนั้น นิยมนำรูปแบบไบแซนไทน์ซึ่งเป็นศิลปะดั้งเดิมของประเทศรัสเซียมาเป็นแรงบันดาลใจเป็นหลัก หรือนำการตกแต่งแบบไบแซนไทน์มาใช้ประกอบในการออกแบบเครื่องประดับนอกจากจะเป็นที่รู้จักกันดีของวงการเครื่องประดับในประเทศทางตะวันตกมายาวนานแล้ว ผลงานเครื่องประดับหลายชิ้นได้ปรากฏทางฝั่งประเทศตะวันออกด้วย และบุตรชายคนที่ 3 นาย Nicolas Faberge ยังเคยสินค้ามาจำหน่ายที่ประเทศไทยด้วยเช่นกัน

เครื่องประดับของ Faberge เป็นสิ่งที่น่าสนในยิ่ง โดยเฉพาะทางด้านรูปแบบการออกแบบและเทคนิคการผลิต เพราะมีการออกแบบ การสร้างลวดลายที่สวยงาม เอกลักษณ์และเทคนิคการผลิตบางส่วนทีแตกต่างจากช่างทองในสมัยเดียวกัน โดยเฉพาะการสร้างพื้นผิวบนโลหะ ซึ่งเป็นเทคนิคเฉพาะ ลอกเลียนแบบได้ยาก โดยการทำเป็นลวดลายแบบพื้นผิวด้วยเครื่องจักรที่คิดค้นและทำการลงยาทับบนลวดลายอีกทีหนึ่ง การแกะสลักรูปสัตว์ต่างๆ ดอกไม้ และบุคคลสำคัญ ซึ่งได้มีการศึกษาสิ่งนั้นๆ ก่อนที่จะแกะสลักได้อย่างสวยงาน ส่วนผลงานของ Faberge ที่โดดเด่นที่สุดแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 นี้คือ การออกแบบไข่อีสเตอร์ด้วยกรรมวิธีการผลิตแบบเครื่องประดับ ซึ่งเป็นผลงานการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์จวบจนทุกวันนี้ รูปแบบการออกแบบนอกจากเป็นรูปทรงไข่แล้ว ยังเสนอเรื่องราวเหตุการณ์ในปีนั้นๆ ของประเทศรัสเซียด้วย จัดเป็นผลงานทางประวัติศาสตร์ของประเทศรัสเซียได้ดี และเป็นเครื่องประดับที่มีค่าในการถวายแด่พระเจ้าซาร์แห่งราชวงศ์โรมานอฟทุกปี จึงทำให้ไข่อีสเตอร์ของนาย Faberge เป็นที่งดงามมากที่สุดและเป็นรูปแบบที่มีการลอกเลียนแบบมากที่สุดด้วย

กิจการของ Faberge ได้สิ้นสุดลงเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ถึงแม้ว่าบุตรชายได้พยายามในการสร้างผลงานที่ดี สุดท้ายยังคงเหลือแต่ผลงานที่มีความโดดเด่น และราคาเครื่องประดับของ Faberge มีแต่ราคาที่สูงมากขึ้น

นักออกแบบเครื่องประดับที่มีผลงานโดดเด่นในช่วงนี้อีกคนหนึ่งคือนาย Eugene Fontenay เป็นนักออกแบบเครื่องประดับที่นำแรงบันดาลในจากประวัติศาสตร์มาออกแบบใหม่ได้อย่างสวยงามมีชื่อเสียงทางด้านคุณภาพผลงานที่มีความประณีต

» ลักษณะต้นแบบโบราณ

» ลักษณะการนำต้นแบบมาพัฒนาใหม่ หรือมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ

» ลักษณะการออกแบบรูปแบบใหม่

» ลักษณะการออกแบบข้ามวัฒนธรรม

» ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุดก่อนประวัติศาสตร์

» ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับอารยธรรมโบราณ

» ศิลปะเครื่องประดับอียิปต์ (Egypt)

» ยุค Middle Kingdom หรือยุคอาณาจักรกลาง

» ยุค New Kingdom หรือยุคอาณาจักรใหญ่

» ศิลปะเครื่องประดับเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)

» ศิลปะเครื่องประดับมิโนอัน - ไมซีเน (Minoan - Mycenae)

» ศิลปะเครื่องประดับกรีก (Greek)

» ศิลปะเครื่องประดับอีทรัสกัน (Etrucan)

» ศิลปะเครื่องประดับเชลติก (Celtic)

» ยุค Princes

» ยุควัฒนธรรม La Tene

» ยุคขยายอาณาจักร

» ยุคอิทธิพลของนักรบ

» ศิลปะเครื่องประดับโรมัน (Rome)

» ศิลปะเครื่องประดับไบแซนไทน์ (Byzantine)

» ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุคประวัติศาสตร์

» ศิลปะเครื่องประดับช่วงยุคกลาง

» ศิลปะเครื่องประดับโกธิค (Gothic)

» ศิลปะเครื่องประดับสมัยเรอนาซองค์ (Renaissance)

» ศิลปะเครื่องประดับแมนเนอริส (Mannerist)

» นักออกแบบเครื่องประดับ Benvenuto Cellini

» การออกแบบเครื่องประดับเชิงนามธรรม

» ศิลปะเครื่องประดับสมัยอลิซาเบธที่ 1

» ศิลปะเครื่องประดับบาร็อค (Baroque)

» การประดิษฐ์ตกแต่ง

» ศิลปะเครื่องประดับโรโคโค

» ศิลปะเครื่องประดับนีโอคลาสสิค

» ศิลปะเครื่องประดับคาเมโอ (Cameo)

» ศิลปะเครื่องประดับนโปเลียนกับโจเซฟิน (Napoleon & Josephine)

» ศิลปะเครื่องประดับแบบคัทสติล (Cut Steel)

» ศิลปะเครื่องประดับแบบแชทเทิลเลน (Chatelaines)

» ศิลปะเครื่องประดับสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19

» ศิลปะเครื่องประดับอนุรักษ์นิยม

» นักออกแบบเครื่องประดับ Fortunato Pio Castellani

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อนาย Carlo Giuliano

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Peter Carl Faberge

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Eugene Fontenay

» ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตนูโว (Art Nouveau)

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Rene Lalique

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Charles Lewis Tiffany

» ศิลปะเครื่องประดับวิคตอเรีย (Victoria)

» ศิลปะเครื่องประดับสมัยใหม่

» ศิลปะเครื่องประดับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1

» นักออกแบบเครื่องประดับ Fulco di Verdura

» ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตเดโค (Art Deco)

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1920

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1930

» นักออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ McClelland Barclay

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1940

» บริษัทที่ออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ Trifari

» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Coro

» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Boucher

» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Haskell

» บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Cartier

» บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Van Cleep & Arpels

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1950

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Daniel Swarovski

» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Eisenberg

» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Hobe

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1960

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Bulgari

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1970

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1980

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1990

» ศิลปะเครื่องประดับหลังสมัยใหม่

» ศิลปะเครื่องประดับมินิมอล (Minimalism)

» ศิลปะเครื่องประดับเชิงศิลปะ

» ศิลปะเครื่องประดับเชิงอุตสาหกรรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย