ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

ประวัติศาสตร์ศิลป์

ศิลปะเครื่องประดับนโปเลียนกับโจเซฟิน (Napoleon & Josephine)

โจเซฟินเป็นสตรีที่อยู่ในยุคการปฏิวัติประเทศฝรั่งเศสซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี นอกจากความเป็นสตรีที่มีความสวยงามแล้ว ยังเป็นผู้นำทางด้านแฟชั่นทั้งการแต่งกายและเครื่องประดับอีกด้วยโดยเฉพาะทรงอภิเษกสมรสกับ นโปเลียน โบนาปาด ถึงแม้เป็นการแต่งงานครั้งที่ 2 ของพระองค์ก็ยิ่งทำให้พระองค์เป็นผู้นำทางด้านเครื่องประดับมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะหลังจากที่นโปเลียนได้เป็นพระจักรพรรดิ เครื่องประดับสมัยพระจักรพรรดิ์นโปเลียนกับโจเซฟิน ซึ่งทั้งสองพระองค์ต้องการที่จะฟื้นฟูการค้าเครื่องประดับให้มีความยิ่งใหญ่และหรูหราที่สุด จึงได้เริ่มการค้าเครื่องประดับที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสขึ้น โดยพระองค์ได้เริ่มต้นจากการประมูลขายเครื่องประดับราชวงศ์ของฝรั่งเศสจำนวนหลายชิ้น รวมทั้งของพระองค์เองด้วยเช่นกัน บางชิ้นนำมาจัดใหม่เพื่อให้มีความเหมาะสม

รูปแบบส่วนใหญ่ได้นำศิลปะแบบกรีกและโรมันมาเป็นแรงบันดาลใจเป็นหลัก ส่วนใหญ่เน้นเพชรนำมาออกแบบในรูปแบบสมมาตร ผลงานการออกแบบเครื่องประดับจึงมีลักษณะโปร่ง เห็นการฝังอัญมณีที่ชัดเจน นิยมใช้เพชรล้อมรอบ ส่วนอัญมณีจะอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นที่ชัดเจนหรือเป็นจุดเด่น โดยเฉพาะเครื่องประดับของพระจักรพรรดินีโจเซฟิน ที่แสดงถึงความหรูหราโดยเฉพาะมงกุฎที่มีการใช้เพชรเป็นจำนวนมาก และผู้ที่ผลิตเครื่องประดับให้คือ Nitot & File

ในระหว่างปี ค.ศ.1800-1820 เครื่องประดับรูปแบบนโปเลียนจัดเป็นแฟชั่นเครื่องประดับที่พัฒนารูปแบบมาจากช่างยุค Louis Seize โดยให้มีความคลาสสิคมากยิ่งขึ้น หรือนำมาเป็นแรงบันดาลใจ แต่งมงกุฎและรัดเกล้าเป็นเครื่องประดับที่มีสีสันมากที่สุดในช่วงนี้ ทั้งการนำเพชรมาเป็นองค์ประกอบ การลงยาและอัญมณีมีค่าที่มีสีสันต่างๆ มากมาย นอกจากนี้ยังนำรูปแบบคาเมโอมาเป็นแรงบันดาลใจผสมรูปแบบเข้าร่วมด้วย

เครื่องประดับในปี ค.ศ.1830 เป็นยุคเครื่องประดับที่มีสีสันมาก หลากหลายไปด้ยหินกึ่งมีค่าและเป็นยุคที่ร่ำรวยทองคำมหาศาล เป็นช่วงที่เทคนิค filigree หรือการเดินเส้นลวดโลหะเป็นที่นิยม มีการใช้ลวดโลหะบนงานเครื่องประดับหลายชิ้น จึงทำให้เครื่องประดับมีการแสดงพื้นผิวมากส่วนใหญ่เป็นพื้นผิวของพืชพรรณธรรมชาติ มีความเป็นธรรมชาติ เป็นเครื่องประดับที่มีความคิดที่ซับซ้อน ให้แสงมาก หลายชิ้นแสดงถึงการถอดหรือแยกชิ้นส่วนได้

» ลักษณะต้นแบบโบราณ

» ลักษณะการนำต้นแบบมาพัฒนาใหม่ หรือมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ

» ลักษณะการออกแบบรูปแบบใหม่

» ลักษณะการออกแบบข้ามวัฒนธรรม

» ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุดก่อนประวัติศาสตร์

» ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับอารยธรรมโบราณ

» ศิลปะเครื่องประดับอียิปต์ (Egypt)

» ยุค Middle Kingdom หรือยุคอาณาจักรกลาง

» ยุค New Kingdom หรือยุคอาณาจักรใหญ่

» ศิลปะเครื่องประดับเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)

» ศิลปะเครื่องประดับมิโนอัน - ไมซีเน (Minoan - Mycenae)

» ศิลปะเครื่องประดับกรีก (Greek)

» ศิลปะเครื่องประดับอีทรัสกัน (Etrucan)

» ศิลปะเครื่องประดับเชลติก (Celtic)

» ยุค Princes

» ยุควัฒนธรรม La Tene

» ยุคขยายอาณาจักร

» ยุคอิทธิพลของนักรบ

» ศิลปะเครื่องประดับโรมัน (Rome)

» ศิลปะเครื่องประดับไบแซนไทน์ (Byzantine)

» ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุคประวัติศาสตร์

» ศิลปะเครื่องประดับช่วงยุคกลาง

» ศิลปะเครื่องประดับโกธิค (Gothic)

» ศิลปะเครื่องประดับสมัยเรอนาซองค์ (Renaissance)

» ศิลปะเครื่องประดับแมนเนอริส (Mannerist)

» นักออกแบบเครื่องประดับ Benvenuto Cellini

» การออกแบบเครื่องประดับเชิงนามธรรม

» ศิลปะเครื่องประดับสมัยอลิซาเบธที่ 1

» ศิลปะเครื่องประดับบาร็อค (Baroque)

» การประดิษฐ์ตกแต่ง

» ศิลปะเครื่องประดับโรโคโค

» ศิลปะเครื่องประดับนีโอคลาสสิค

» ศิลปะเครื่องประดับคาเมโอ (Cameo)

» ศิลปะเครื่องประดับนโปเลียนกับโจเซฟิน (Napoleon & Josephine)

» ศิลปะเครื่องประดับแบบคัทสติล (Cut Steel)

» ศิลปะเครื่องประดับแบบแชทเทิลเลน (Chatelaines)

» ศิลปะเครื่องประดับสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19

» ศิลปะเครื่องประดับอนุรักษ์นิยม

» นักออกแบบเครื่องประดับ Fortunato Pio Castellani

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อนาย Carlo Giuliano

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Peter Carl Faberge

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Eugene Fontenay

» ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตนูโว (Art Nouveau)

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Rene Lalique

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Charles Lewis Tiffany

» ศิลปะเครื่องประดับวิคตอเรีย (Victoria)

» ศิลปะเครื่องประดับสมัยใหม่

» ศิลปะเครื่องประดับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1

» นักออกแบบเครื่องประดับ Fulco di Verdura

» ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตเดโค (Art Deco)

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1920

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1930

» นักออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ McClelland Barclay

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1940

» บริษัทที่ออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ Trifari

» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Coro

» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Boucher

» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Haskell

» บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Cartier

» บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Van Cleep & Arpels

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1950

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Daniel Swarovski

» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Eisenberg

» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Hobe

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1960

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Bulgari

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1970

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1980

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1990

» ศิลปะเครื่องประดับหลังสมัยใหม่

» ศิลปะเครื่องประดับมินิมอล (Minimalism)

» ศิลปะเครื่องประดับเชิงศิลปะ

» ศิลปะเครื่องประดับเชิงอุตสาหกรรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย