สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (Influenza A H1N1)
โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (เอช 1 เอ็น 1)
ซึ่งเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ของคน และไม่เคยพบมาก่อน
เนื่องจากเป็นการผสมกันของสารพันธุกรรมไข้หวัดใหญ่ในมนุษย์,
ไข้หวัดนกที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ และไข้หวัดหมูที่พบในทวีปเอเชีย และยุโรป
การติดต่อเหมือนกับโรคไข้หวัดใหญ่ในคนทั่วไป
และเชื้อจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ระยะฟักตัว อยู่ที่ประมาณ 3-7 วัน
หากผู้ป่วยได้รับเชื้อมากระยะฟักตัวก็จะสั้น
ซึ่งทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยด้วยว่าสุขภาพร่างกายแข็งแรงมากน้อยแค่ไหน
อาการของโรคคล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ธรรมดา แต่มีอาการรุนแรงกว่าและรวดเร็วกว่า คือ
มีไข้สูงราว 38 องศาเซลเซียส ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตามข้อ ไอ มีน้ำมูก มีเสมหะ
ปอดบวม เบื่ออาหาร บางรายอาจท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน
จากนั้นเชื้อจะแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต จึงทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ผู้ป่วยจะมีการทรงตัวผิดปกติ เดินเอนไปเอนมาเหมือนคนเมาสุรา
นอกจากนี้อาจสูญเสียการได้ยินจนถึงขั้นหูหนวกได้
และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ประชากรกลุ่มเสี่ยง
ได้แก่ เด็กเล็ก, ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้มีโรคประจำตัวเช่น โรคเบาหวาน ตับ ไต
หัวใจ โรคอ้วน ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2552 เป็นต้นมา
ประเทศเม็กซิโกเริ่มพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่และผู้ป่วยปอดบวมสูงขึ้นผิดปกติ
ในเดือนเมษายน 2552 พบผู้ป่วยรายแรก ทางตอนใต้ของกรุงเม็กซิโกซิตี้
ซึ่งชุมชนที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่มีฟาร์มสุกรขนาดใหญ่
จากนั้นโรคได้แพร่กระจายออกไปยังประเทศต่างๆ ค่อนข้างรวดเร็ว จนถึงวันที่ 1 พฤษภาคม
2552 มีรายงานจากทั่วโลกรวม 13 ประเทศ มียอดผู้ป่วยยืนยัน 367 ราย เสียชีวิต 10 ราย
ขณะนี้ยังคงมีการระบาดอย่างต่อเนื่องและขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ
ปัจจุบันข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2552)
พบผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (เอช 1 เอ็น 1)
ในหลายภูมิภาคทั่วโลก จำนวนมากกว่า 209,438 ราย เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 2,185 ราย
หมายเหตุ: องค์การอนามัยได้ออกประกาศว่า นับจากนี้
องค์การอนามัยโลกจะไม่ทำการรายงานตัวเลขผู้ป่วยยืนยันโรคนี้ของทุกประเทศแล้ว
แต่จะรายงานเฉพาะประเทศใหม่ที่เพิ่งพบการระบาดของโรค
และจะรายงานเป็นรายสัปดาห์รวมทั้งลักษณะการระบาดของโรคในผู้ป่วยรายแรกๆ เท่านั้น
ด้วยเหตุผลที่ว่า ได้มีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ไปยังทั่วโลกแล้ว
ภายในระยะเวลาเพียง 6 สัปดาห์ ซึ่งขณะนี้มีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยจำนวนมาก
จึงเป็นไปได้ยากที่ประเทศต่างๆ
จะทำการตรวจยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยจำนวนมหาศาลนี้
ซึ่งจะต้องใช้ทรัพยากรทุ่มเทลงไปมาก
ทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือการตรวจที่จำเป็นอื่นๆ ได้รับการดูแลน้อยลง
นอกจากนี้
ไม่มีความจำเป็นที่จะทำการตรวจยืนยันเชื้อเพื่อดูสถานการณ์โรคหรือปัจจัยเสี่ยง
รวมทั้งไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงมาตรการป้องกันควบคุมโรค ดังนั้น ประเทศต่างๆ
จึงไม่ต้องรายงานตัวเลขผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตมายังองค์การอนามัยโลก
สถานการณ์ในประเทศไทย
ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2552 ถึงวันที่ 22 สิงหาคม 2552
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้รับแจ้งจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขต โรงพยาบาล สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
พบผู้ป่วยที่ตรวจยืนยันว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (เอช1เอ็น1)
จำนวน 14,976 ราย ในทุกจังหวัดของประเทศไทย และผู้เสียชีวิต 119 ราย
แนวโน้มการระบาดในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีการชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง
และขยายตัวไปสู่ต่างจังหวัด กระจายลงสู่เขตชนบท โดยพบผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุ
แต่พบมากขึ้นในกลุ่มวัยแรงงานอายุ 31-45 ปี และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
และพบมีการแพร่ระบาดในสถานที่ที่มีคนอยู่จำนวนมากหรือมีกิจกรรมที่ต้องอยู่ร่วมกัน
เช่น โรงเรียน เรือนจำ ค่ายเยาวชน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง ตัวเลขจำนวนผู้ป่วยข้างต้น
ยังน้อยกว่าความเป็นจริงอยู่หลายเท่าตัว เนื่องจาก
ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่ที่มีอาการน้อย
ก็มิได้มีการตรวจยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ในบางประเทศมีการคำนวณว่า
จำนวนผู้ป่วยที่มีอยู่จริงภายในประเทศ อาจเป็นจำนวน 40-60
เท่าตัวของจำนวนผู้ป่วยที่ตรวจยืนยันเชื้อ
โรคไข้กาฬหลังแอ่น
โรคไข้เลือดออกอีโบลา
โรคไข้เลือดออกมาร์เบอร์ก
โรคไข้หวัดนก
โรคไข้เหลือง
โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya)
โรคมือเท้าปาก จากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71
โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์และเฮนดรา
โรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส
โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือซาร์ส
โรคทูลารีเมีย (Tularemia)
โรคเมลิออยโดซิส
โรคลิชมาเนีย
โรควีซีเจดีหรือโรคสมองเสื่อมชนิดใหม่
โรคไข้หวัดใหญ่ (Seasonal influenza)
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (Influenza A H1N1)
โรคแอนแทรกซ์