สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้  >>

โรคติดต่ออุบัติใหม่

โรคไข้เลือดออกมาร์เบอร์ก

โรคไข้เลือดออกมาร์เบอร์กพบระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2510 ที่เมืองมาร์เบอร์ก และแฟรงค์เฟริต ประเทศเยอรมัน และเมืองเบลเกรด ประเทศยูโกสลาเวีย จากลิงติดเชื้อที่มาจากยูกันดา โรคไข้เลือดออกมาร์เบอร์กนี้สามารถติดต่อได้สู่คน เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อย แต่มีอัตราการเสียชีวิตที่สูงในช่วงร้อยละ 25-80 อาการที่พบ ได้แก่ ปวดศีรษะรุนแรง คลื่นเหียนมาก มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ ระหว่างวันที่ 5-7 และเสียชีวิตจากการเสียเลือดมาก โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน และยังไม่มีวิธีรักษาที่จำเพาะ แต่จะรักษาตามอาการ สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางการสัมผัสกับเลือด หรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย การฆ่าและชำแหละสัตว์ป่า (ลิง, ค้างคาว) ที่ติดเชื้อ พบการระบาดของโรคประปรายในทวีปแอฟริกา ได้แก่ แองโกลา ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เคนยา สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ (ผู้ป่วยมีประวัติเดินทางมาจากประเทศซิมบับเว) และยูกันดา เป็นต้น

สถานการณ์ของโรคในต่างประเทศ

  • ปี พ.ศ.2541-2543 พบการระบาดใหญ่ครั้งแรกในเหมืองทองคำ เมืองเดอบา ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก พบผู้ป่วย 154 ราย เสียชีวิต 128 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย 83%
  • ปี พ.ศ. 2547-2548 พบการระบาดครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศแองโกลา เป็นที่เชื่อว่า การระบาดเริ่มในจังหวัด Uige เมื่อเดือนตุลาคม 2547 พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 374 ราย เสียชิวต 329 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย 88%
  • มิถุนายน-สิงหาคม 2550 พบการระบาดในคนงานเหมือง 3 ราย จากเมือง Kamwenge ทางตะวันตกของประเทศยูกันดา โดยผู้ป่วยรายที่ 2 และ 3 มีอาการป่วยหลังจากที่ดูแลเพื่อนร่วมงาน และ 1 ในผู้ดูแลผู้ป่วยได้เสียชีวิต
  • กรกฎาคม 2551 นักท่องเที่ยวชาวดัชต์ ที่เดินทางไปเที่ยวประเทศยูกันดา 3 สัปดาห์เริ่มมีอาการป่วยหลังจากกลับมาถึงเนเธอแลนด์ 4 วัน จากการสอบสวนเพิ่มเติมไม่พบการยืนยันถึงสาเหตุแหล่งที่มา แต่มีรายงานว่ามีผู้ป่วยหญิงที่ได้ไปเที่ยวถ้ำ Python ป่ามารามากัมโบ ในยูกันดาตะวันตกซึ่งเป็นสถานที่เดียวกับที่นักท่องเที่ยวชาวดัชต์ไป เป็นสถานที่ที่มีค้างคาวอาศัยอยู่ ซึ่งค้างคาวนี้เป็นแหล่งรังโรคเชื้อไวรัสมาร์เบอร์กได้ กระทรวงสาธารณสุขประเทศยูกันดาได้สั่งปิดถ้ำนี้เมื่อปลายเดือนสิงหาคม

สถานการณ์ในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย ยังไม่เคยมีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมาร์เบอร์ก

โรคไข้กาฬหลังแอ่น
โรคไข้เลือดออกอีโบลา
โรคไข้เลือดออกมาร์เบอร์ก
โรคไข้หวัดนก
โรคไข้เหลือง
โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya)
โรคมือเท้าปาก จากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71
โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์และเฮนดรา
โรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส
โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือซาร์ส
โรคทูลารีเมีย (Tularemia)
โรคเมลิออยโดซิส
โรคลิชมาเนีย
โรควีซีเจดีหรือโรคสมองเสื่อมชนิดใหม่
โรคไข้หวัดใหญ่ (Seasonal influenza)
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (Influenza A H1N1)
โรคแอนแทรกซ์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย