สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
โรคมือเท้าปาก จากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ปี พ.ศ.2551 มีข่าวการระบาดของโรคมือเท้าปากในประเทศต่างๆ ดังนี้
ประเทศจีน
- อานฮุย (Anhui) : ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 9 พฤษภาคม พบผู้ป่วยอายุ 28 วัน ถึง 18 ปี รวม 6,049 ราย ในจำนวนนี้มีอาการรุนแรง 353 ราย เสียชีวิต 22 ราย นอกจากนี้ยังมีการระบาดในเมืองอื่นๆ ไม่น้อยกว่า 13 เมือง
- มองโกลเลีย : วันที่ 18 พฤษภาคม 9 มิถุนายน พบผู้ป่วยรวม 2,163 ราย กระจายใน 19 จังหวัด (จากทั้งหมด 21 จังหวัด) ร้อยละ 83 ของผู้ป่วยเป็นเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ตรวจพบเชื้อ Enterovirus71 ทั้งหมด 34 ราย
- เขตปกครองพิเศษฮ่องกง : เดือนพฤษภาคมถึงกรกฏาคม พบผู้ป่วย 1,611 ราย กระจายใน 222 โรงเรียนอนุบาลและศูนย์เด็กเล็ก ตรวจพบเชื้อ Enterovirus71 ทั้งหมด 24 ราย
- มาเก๊า (Macao) : พบผู้ป่วยรวม 178 ราย ตรวจพบเชื้อ Enterovirus71 จำนวน 17 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
- จีนแผ่นดินใหญ่ : ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 9 พฤษภาคม พบผู้ป่วยรวม 61,459 ราย เสียชีวิต 36 ราย
ประเทศสิงคโปร์ : มีผู้ป่วยรวม 11,736 ราย ตรวจพบเชื้อ Enterovirus71
ร้อยละ 26 ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
ประเทศไต้หวัน : พบผู้ป่วย 93 ราย ตรวจพบเชื้อ Enterovirus71 จำนวน 18
ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิต 2 ราย
ปี พ.ศ. 2552 มีข่าวการระบาดของโรคมือเท้าปากในประเทศต่างๆ ดังนี้
ประเทศจีน
- มณฑลซันตง: ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 5 กรกฎาคม 2552 พบผู้ป่วย 85,301 ราย
เสียชีวิต 44 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.05 และในวันที่ 7 กรกฎาคม 2552
พบผู้ป่วยเด็กเสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย ทางตะวันออกของมณฑลซันตง ประเทศจีน
การระบาดครั้งนี้เกิดขึ้นใน 44 จังหวัด
- เมืองหนิงโบ กรุงปักกิ่ง : วันที่ 5 เมษายน 2552 พบผู้ป่วย 367 ราย
เสี่ยชีวิต 1 ราย เป็นเด็ก และ 90% ของผู้ป่วยเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
- มณฑลเจ้อเจียง: วันที่ 31 พฤษภาคม 2552 พบผู้ป่วย 13,965 ราย เสียชีวิต 6 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.04
สถานการณ์ในประเทศไทย
ปี พ.ศ.2551 สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข
ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคมือเท้าปากจำนวน 11,227 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 17.84
ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 4 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่อายุต่ำกว่า 5 ปี
พบผู้ป่วยสูงสุดตั้งแต่ต้นปี (มกราคม-กุมภาพันธ์) ต่อเนื่องจากปลายปี พ.ศ. 2550
หลังจากนั้นเริ่มพบผู้ป่วยลดลง และลดลงต่ำสุดในเดือนธันวาคม
โดยภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคเหนือ 30.99 ต่อประชากรแสนคน
จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับแรก คือ ลำปาง ระยอง พะเยา
เชียงราย นครนายก
ปี พ.ศ.2552 สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข (ข้อมูล ณ วันที่ 30 สิงหาคม
พ.ศ.2552) ได้รับรายงานผู้ป่วยแล้วจำนวน 4,859 ราย จาก 76 จังหวัด คิดเป็นอัตราป่วย
7.71 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 3 ราย ภาคเหนือยังคงมีอัตราป่วยสูงสุดคิดเป็น 12.27
ต่อประชากรแสนคน จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับแรก คือ น่าน
สุโขทัย สมุทรสาคร สมุทรปราการ และตรัง
ซึ่งควรมีการติดตามสถานการณ์ในจังหวัดดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
และดำเนินการมาตรการต่างๆ เพื่อลดอัตราป่วยในพื้นที่ต่อไป
โรคมือเท้าปาก เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Enteroviruses
ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ มีอาการตั้งแต่เล็กน้อย เด็กหายได้เอง ไม่มียารักษา
จนถึงอาการรุนแรงโดยเฉพาะจากเชื้อ Enterovirus71
มีแนวโน้มการเพิ่มของผู้ป่วยที่เสียชีวิตโดยที่ไม่มีอาการของโรคมือเท้าปาก
ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มคำจำกัดความโรคที่ต้องเฝ้าระวังกลุ่มอาการไข้ (ตั้งแต่ 38
องศาเซลเซียส) และปอดบวมน้ำ (Children with fever and acute pulmonary edema)
ไม่ว่าจะมีอาการผื่นที่มือ ปาก เท้า หรือไม่ (Fever with Acute Pulmonary Edema)
รวมถึงกรณีผู้ป่วยโรคมือเท้าปากเป็นกลุ่มก้อน
เพื่อให้เพื่อเพิ่มความสามารถในการดักจับและวินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่ต้น
รวมทั้งการสอบสวนโรคที่เร็วและมีประสิทธิภาพ
จะช่วยทำให้การควบคุมโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
โรคไข้กาฬหลังแอ่น
โรคไข้เลือดออกอีโบลา
โรคไข้เลือดออกมาร์เบอร์ก
โรคไข้หวัดนก
โรคไข้เหลือง
โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya)
โรคมือเท้าปาก จากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71
โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์และเฮนดรา
โรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส
โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือซาร์ส
โรคทูลารีเมีย (Tularemia)
โรคเมลิออยโดซิส
โรคลิชมาเนีย
โรควีซีเจดีหรือโรคสมองเสื่อมชนิดใหม่
โรคไข้หวัดใหญ่ (Seasonal influenza)
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (Influenza A H1N1)
โรคแอนแทรกซ์