สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
โรคแอนแทรกซ์
โรคแอนแทรกซ์เป็นโรคเฉียบพลันที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacillus anthracis)
โดยอาจเป็นแผลที่ผิวหนังและไม่บ่อยนักที่เป็นโรคที่ระบบทางเดินหายใจ
หรือทางเดินอาหาร สาเหตุการเกิดโรคในคน ส่วนใหญ่จะติดโรคจากกระบือ โค แพะ และแกะ
และเคยมีรายงานการเกิดโรคในแกะที่จังหวัดลพบุรี ในปี พ.ศ. 2526
และติดโรคจากแพะที่จังหวัดตาก และพิจิตร ในปี 2543 นอกจากนี้
อาจพบการติดโรคได้จากการก่อการร้ายโดยใช้สปอร์ของเชื้อนี้เป็นอาวุธชีวภาพ
ด้วยการปล่อยสปอร์แอนแทรกซ์ในพื้นที่หรือส่งทางจดหมาย หรือโดยวิธีอื่น ๆ
สถานการณ์ในประเทศไทย
จากรายงานการเฝ้าระวังของสำนักระบาดวิทยา พบว่า
ไม่มีผู้ป่วยโรคแอนแทรกซ์ในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2551 เป็นเวลา 8
ปีติดต่อกัน โดยก่อนหน้านี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 2543 อัตราการเกิดโรค
อยู่ระหว่าง 0.02-0.17 ต่อแสนประชากร มีผู้ป่วยสูงสุด 102 คน ในปี 2538 และต่ำสุด 7
คน ในปี 2537
การเกิดโรคส่วนมากจะพบตามจังหวัดชายแดนที่ติดต่อกับสหภาพพม่า ลาว
และกัมพูชา แต่บางครั้งก็เกิดการระบาดขึ้นได้ในใจกลางของประเทศได้ เช่น
ที่จังหวัดพิจิตรในปี พ.ศ. 2543 และ กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2540
จังหวัดที่มีการรายงานพบโรคนี้เป็นประจำ ตั้งแต่ปี 2535 2543 ได้แก่ เชียงราย
พะเยา น่าน ตาก พิษณุโลก พิจิตร สุรินทร์ อุดรธานี และเกิดประปรายในจังหวัด
เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ สุโขทัย อุทัยธานี บุรีรัมย์ นครพนม และประจวบคีรีขันธ์
สถานการณ์โรคในต่างประเทศ
- ในปี พ.ศ. 2551 มีรายงานโรคแอนแทรกซ์ทั้งในคนและในสัตว์ในประเทศจีน อินเดีย
มองโกเลีย อัฟกานิสถาน คาซัคสถาน คีร์กิซสถาน ลาว และเวียดนาม
- มิถุนายน-กรกฎาคม 2552 พบการระบาดของโรค 5 ครั้ง ได้แก่ ครั้งแรก
ทางตะวันตกของประเทศคาซัคสถาน เป็นผู้ป่วยหญิงอายุ 59
ปีได้รับการวินิจฉัยโรคแอนแทรกซ์ และพบผู้ป่วยสงสัย 14 ราย
เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ทางการคาซัคสถานได้ตรวจติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย 185 ราย ครั้งที่สอง
ในเมือง Tinbongo จังหวัด Talensa-Nabdam ตอนบนของตะวันออกของประเทศกานา
มีรายงานผู้ป่วย 11 ราย และเสียชีวิต 2 ราย
จากการบริโภคสัตว์ที่ตายด้วยโรคแอนแทรกซ์ ครั้งที่สาม ในพื้นที่ Megiddo
ตอนเหนือของประเทศอิสราเอล รายงานพบวัวเนื้อจำนวน 50 ตัว เสียชีวิต
ด้วยอาการมีเลือดออกจากปาก
และจากการนำม้ามวัวเสียชีวิตไปตรวจทางห้องปฏิบัติการพบมีการติดเชื้อแอนแทรกซ์
ครั้งที่สี่ ในเมือง Partido de Tres Arroyos ประเทศอาร์เจนตินา
พบวัวแท้งจากการติดเชื้อแอนแทรกซ์ในกระแสเลือด และครั้งที่ห้า ในประเทศอินเดีย
เมือง Tamil Nadu พบคนงานโรงนมสงสัยโรคแอนแทรกซ์ จากการติดเชื้อจากวัว
และพบการระบาดใหญ่ในหลายหมู่บ้านในรัฐโอริสสา
ผู้ป่วยทุกรายมีประวัติรับประทานเนื้อจากสัตว์ที่ป่วยตายด้วยโรคแอนแทรกซ์
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ลงพื้นที่ เพื่อให้การรักษาผู้ป่วยต่อไป
- สิงหาคม 2552 พบการระบาดของโรคแอนแทรกซ์ 3 ครั้ง ได้แก่ ครั้งแรก ในเมือง
Pabna ประเทศบังคลาเทศ พบผู้ป่วย 35 ราย
สาเหตุจาการบริโภคเนื้อวัวที่ติดเชื้อแบคทีเรีย
ขณะนี้ผู้ป่วยยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ครั้งที่สอง ในหมู่บ้านเมย์ดาปาตา
จังหวัดฟาร์คลอร์ ประเทศทาจิกิสถาน พบผู้ป่วยยืนยันโรคแอนแทรกซ์ 4 ราย
และผู้ป่วยสงสัย 11 ราย รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล
จากการสอบสวนเพิ่มเติมพบวัวในพื้นที่ติดเชื้อโรคแอนแทรกซ์ 30 ตัว จาก 300 ตัว
และ ครั้งที่สาม ประเทศอิหร่าน พบผู้ป่วยติดเชื้อแอนแทรกซ์ 150 ราย
เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคทั่วประเทศ
โดยการใช้วัคซีนและรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
- กันยายน 2552 พบการระบาดของโรคแอนแทรกซ์ 4 ครั้ง ได้แก่ ครั้งแรก ผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อแอนแทรกซ์จากวัวในหมู่บ้าน Pabna ประเทศบังคลาเทศ ไม่ต่ำกว่า 26 ราย จากการชำแหละสัตว์ป่วย และรับประทานเนื้อจากสัตว์ป่วยนั้น เจ้าหน้าที่ได้ทำการเก็บตัวอย่างเลือด และเนื้อเยื่อผิวหนังไปตรวจสอบ ขณะนี้อยู่ระหว่างรอผล นอกจากนี้ปศุสัตว์ได้เข้าฉีดวัคซีนให้วัว 450 ตัวในหมู่บ้านที่เกิดการระบาด ครั้งที่สอง ตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐวิคตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย พบวัวในฟาร์มที่พื้นที่ Tatura-Stanhopa ตายจากโรคแอนแทรกซ์ เจ้าหน้าที่ได้เข้าฉีดวัคซีนวัวในฟาร์ม และกำจัดซากวัวติดเชื้อที่ตาย ครั้งที่สาม ในเมือง Nyeri ประเทศเคนยา พบผู้ป่วยชาย เสียชีวิตจากโรคแอนแทรกซ์ สาเหตุเกิดจากการบริโภคเนื้อวัวที่ติดเชื้อ และครั้งที่สี่ พบช้างในเมือง Perumbavoor ประเทศอินเดีย ล้มจากโรคแอนแทรกซ์ ซึ่งมีการอ้างว่า ช้างที่ล้มได้ถูกฝังใกล้แม่น้ำ Muvattupuzha ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อน้ำที่ประชากรล้านคนใช้ดื่ม เจ้าหน้าที่แนะนำว่าควรมีการฝังช้างในป่าใกล้กับที่สัตว์ตาย และควรขุดหลุมให้ลึกลงไป 2 เมตร
ข้อเสนอแนะ
แม้จะไม่พบการติดเชื้อทั้งในสัตว์ และในคนในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.
2544 -2552 แต่ในปี พ.ศ. 2551-2552
ก็มีรายงานโรคนี้ทั้งในคนและในสัตว์ในหลายประเทศในทวีปเอเชีย
โดยเฉพาะเพื่อนบ้านของไทย เช่น ลาว และเวียดนาม
ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรเฝ้าระวังโรคในปศุสัตว์สัตว์ที่ค้าขายผ่านทางชายแดนและสัตว์ป่านำเข้ามาในประเทศไทย
ควรฉีดวัคซีนสัตว์ในพื้นที่ที่เคยเกิดโรค และในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค
และควรสร้างสุขนิสัยการรับประทานอาหารของคนโดยไม่รับประทานเนื้อสัตว์ที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ
และไม่รับประทานอาหารจากเนื้อสัตว์ที่ดิบหรือดิบๆ สุกๆ
โรคไข้กาฬหลังแอ่น
โรคไข้เลือดออกอีโบลา
โรคไข้เลือดออกมาร์เบอร์ก
โรคไข้หวัดนก
โรคไข้เหลือง
โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya)
โรคมือเท้าปาก จากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71
โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์และเฮนดรา
โรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส
โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือซาร์ส
โรคทูลารีเมีย (Tularemia)
โรคเมลิออยโดซิส
โรคลิชมาเนีย
โรควีซีเจดีหรือโรคสมองเสื่อมชนิดใหม่
โรคไข้หวัดใหญ่ (Seasonal influenza)
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (Influenza A H1N1)
โรคแอนแทรกซ์