สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้  >>

โรคติดต่ออุบัติใหม่

โรคไข้หวัดใหญ่ (Seasonal influenza)

เกิดจากเชื้อ ไวรัสอินฟลูเอนซา ( Influenza virus) ซึ่งมีอยู่ 3 ชนิด เรียกว่า ชนิด เอ, บี และซี ซึ่งแต่ละชนิดยังแบ่งเป็นพันธุ์ย่อยๆ อีก เชื้อไวรัสจะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย การติดต่อของโรคโดยการไอ จาม หรือการสัมผัสถูกพื้นผิว หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อโรค

ระยะฟักตัว 1-4 วัน ลักษณะอาการมีไข้สูง 39-40 องศาเซลเซียส ตัวร้อน หนาว ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะที่หลัง ต้นแขนต้นขา ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ขมในคอ คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอแห้งๆ จุกแน่นท้อง อาการส่วนมากจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน ภาวะแทรกซ้อนจะเกิดขึ้นเป็นส่วนน้อย ที่พบได้บ่อย ได้แก่ ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หูชั้นในอักเสบ หลอดลมอักเสบ ภาวะที่สำคัญคือปอดอักเสบ ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงมักจะเกิดในเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่สูบบุหรี่จัด หรือผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังทางปอดหรือหัวใจ ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่จะมีโอกาสแทรกซ้อนถึงตายมีน้อยมากซึ่งมักจะเกิดขึ้นในเด็กเล็ก หรือผู้ป่วยเรื้อรัง

สถานการณ์ในต่างประเทศ

  • สิงหาคม พ.ศ. 2545 ประเทศมาดากัสการ์ พบการระบาดครั้งใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ H3N2 พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 22,646 ราย เสียชีวิต 671 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 2.96
  • ธันวาคม พ.ศ. 2545-กลางเดือนมกราคม พ.ศ. 2546 สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ได้ทำการศึกษาทางระบาดวิทยาการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ H3N2 พบว่า ผู้ป่วยในสถาบันการแพทย์ 14 แห่ง พบผู้ป่วย 3,963 ราย เสียชีวิต 126 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 3.2 และในเขตสาธารณสุข พบผู้ป่วย 27,211 ราย เสียชีวิต 170 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.6 ข้อมูลนี้บ่งชี้ถึงภาวะโภชนาการและการเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขของประชาชนที่แตกต่างกัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี

สถานการณ์ในประเทศไทย

ปี พ.ศ. 2551 สำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ 20,881 ราย อัตราป่วย 33.03 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องหลังจากลดลงต่ำสุดในปี พ.ศ. 2548 มีผู้เสียชีวิต 2 ราย เป็นผู้ป่วยหญิงจากจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดนครศรีธรรมราช คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.01 พบอัตราป่วยมากในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี โดยกลุ่มอายุ 0-4 ปี มีอัตราป่วยสูงสุด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา อัตราป่วยเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มอายุ ยกเว้นกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไปที่มีอัตราป่วยลดลงต่อเนื่อง ทั้งนี้อาจเป็นผลจากการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ทั่วประเทศที่เริ่มในเดือนมิถุนายน 2551 ฤดูกาลเกิดโรคมีแนวโน้มเปลี่ยนไป คือ จากเดิมพบผู้ป่วยมากในฤดูฝน เป็นพบมากใน 3 ช่วงคือเดือนกุมภาพันธ์ เดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม และเดือนพฤศจิกายน ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือ ภาคกลาง รองลงมาคือ ภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ตรัง จันทบุรี พังงา ราชบุรี และตราด

ข้อมูลเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่ 1 มกราคม -31 สิงหาคม 2552 พบผู้ป่วย 43,887 ราย จาก 76 จังหวัด คิดเป็นอัตราป่วย 69.62 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 25 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.04 ต่อแสนประชากร กลุ่มอายุที่พบมากเป็นช่วงอายุ 15-24 ปี จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ตรัง ภูเก็ต จันทบุรี ระยอง และพิษณุโลก ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคใต้ รองลงมา ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับ

โรคไข้กาฬหลังแอ่น
โรคไข้เลือดออกอีโบลา
โรคไข้เลือดออกมาร์เบอร์ก
โรคไข้หวัดนก
โรคไข้เหลือง
โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya)
โรคมือเท้าปาก จากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71
โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์และเฮนดรา
โรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส
โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือซาร์ส
โรคทูลารีเมีย (Tularemia)
โรคเมลิออยโดซิส
โรคลิชมาเนีย
โรควีซีเจดีหรือโรคสมองเสื่อมชนิดใหม่
โรคไข้หวัดใหญ่ (Seasonal influenza)
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (Influenza A H1N1)
โรคแอนแทรกซ์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย