สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้  >>

โรคติดต่ออุบัติใหม่

โรคลิชมาเนีย

โรคลิชมาเนีย มีสาเหตุจากเชื้อโปรโตซัวในสกุลลิชมาเนีย (Leishmania) แพร่สู่คนโดยผ่านการกัดของแมลง “ริ้นฝอยทราย” อาการของโรคแบ่งได้ 3 ชนิด คือ ชนิดที่ไม่รุนแรง จะมีอาการที่ผิวหนัง มีตุ่มเล็กๆ ที่ผิวและแตกออกเป็นแผล อาจมีกว่า 100 แผลก็ได้ และชนิดรุนแรงที่ทำให้ติดเชื้อที่อวัยวะภายใน (Visceral Leishmaniasis) มีชื่อเรียกว่า โรคคาลา อาซา (Kala azar) ผู้ป่วยจะมีอาการไข้เรื้อรัง ซีด น้ำหนักลด ม้ามและตับโต หมดเรี่ยวแรง และชนิดที่ 3 เป็นชนิดที่เกิดขึ้นกับเยื่อเมือก (Mucocutaneous Leishmaniasis) ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับที่เกิดขึ้นที่ผิวหนัง แต่จะเกิดแผลลุกลามในอวัยวะที่มีเยื่อเมือก เช่น จมูก ปาก เป็นต้น

ลักษณะของโรค Leishmaniasis มีอาการที่ใกล้เคียงกับหลายโรคเช่น มาลาเรีย โรคเลือด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น การแพร่กระจายโรคเกิดจากการที่ริ้นฝอยทรายเพศเมียที่มีเชื้อ Leishmania spp. อยู่ในน้ำลายตามปากดูดและทางเดินอาหาร

การป้องกันโรคโดยการใช้มาตรการ การป้องกันตนเองจากการถูกริ้นฝอยทรายกัด คือ สวมใส่เสื้อผ้าที่รัดกุมมิดชิดขณะเข้าไปทำงานในพื้นที่ที่คาดว่าจะมีริ้นฝอยทรายอาศัยอยู่ เพราะมันมีปากสั้นซึ่งไม่สามารถกัดผ่านเสื้อผ้าได้ ทายากันแมลงกัดในบริเวณนอกร่มผ้า และนอนกางมุ้งที่มีขนาดรูตาข่ายเล็กซึ่งริ้นฝอยทรายไม่สามารถลอดผ่านได้ ทั้งนี้การปรับปรุง ดูแลบริเวณบ้านให้เป็นที่ที่ริ้นฝอยทรายไม่สามารถทำรังอยู่ได้ และทำให้ปลอดจากสัตว์จำพวกฟันแทะเช่น หนู สัตว์เลี้ยงซึ่งเป็นแหล่งรังโรคได้ ถ้าสามารถหลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ที่สามารถเป็นแหล่งรังโรคเช่น สุนัข แมว วัวควายเป็นต้น ก็จะช่วยลดโอกาสการสัมผัสกับโรคลง

สถานการณ์ในต่างประเทศ

  • พ.ศ.2545 : พบการระบาดทางตอนเหนือของเมือง Kabal ประเทศอัฟกานิสถาน พบผู้ป่วย 200,000 ราย โดยมีสัตว์เป็นแหล่งรังโรค และมีการแพร่ระบาดจากคนสู่คนเป็นวงกว้าง และในจังหวัด Kurram ประเทศปากีสถาน พบผู้ป่วย 5,000 ราย ส่วนมากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
  • พ.ศ.2549 : ประเทศอัฟกานิสถาน พบผู้ป่วย 2,000 ราย และอาจมากถึง 40,000 ราย และประเทศอิหร่าน พบผู้ป่วย 20,492 ราย ซึ่งเพิ่มจากปี พ.ศ.2545 ถึง 10,363 ราย
  • พฤษภาคม พ.ศ. 2552 จังหวัด Measan ตอนใต้ของกรุงแบกแดด ประเทศอิรัก พบผู้ป่วย 190 ราย เจ้าหน้าที่ได้เฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่

จากรายงานพบว่า โรคลิชมาเนียมีการแพร่ระบาดไม่ต่ำกว่า 74 ประเทศ อาทิเช่น จีน อินเดีย ประเทศในแถบตะวันออกกลาง แถบเมดิเตอร์เรเนียน แอฟริกาเหนือ อเมริกากลาง และตอนเหนือของอเมริกาใต้ เขตปรากฏโรคทางภูมิศาสตร์ไม่ค่อยแน่นอน เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่ต้องแจ้ง แต่ส่วนมากปรากฏอยู่ในเขตชนบท นอกจากนี้ความชุกของโรคสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมของดินฟ้าอากาศ

สถานการณ์ในประเทศไทย

ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยลิชมาเนีย (Leishmaniasis) ที่เป็นคนไทย แบ่งเป็นลิชมาเนีย ที่ผิวหนัง (Cutaneous leishmaniasis) จำนวน 5 ราย รายงานระหว่างปี พ.ศ.2528 ถึง 2529 ผู้ป่วยมักมีประวัติเป็นแรงงานไทยไปทำงานในตะวันออกกลาง และลิชมาเนียที่อวัยวะภายใน (Visceral leishmaniasis) จำนวน 6 ราย ปี รายแรกพบใน ปี พ.ศ.2539 ที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี เป็นเด็กหญิง อายุ 3 ปี รายที่ 2 ในปี พ.ศ.2548 เป็นชาย อายุ 40 ปี จังหวัดน่าน รายที่ 3 ในปี พ.ศ.2549 เป็นชาย อายุ 54 ปี อยู่จังหวัดพังงา ในปี พ.ศ. 2550 ยังมีรายงานผู้ป่วยอีก 3 ราย ที่นครศรีธรรมราช สงขลา และกรุงเทพมหานคร

โรคไข้กาฬหลังแอ่น
โรคไข้เลือดออกอีโบลา
โรคไข้เลือดออกมาร์เบอร์ก
โรคไข้หวัดนก
โรคไข้เหลือง
โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya)
โรคมือเท้าปาก จากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71
โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์และเฮนดรา
โรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส
โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือซาร์ส
โรคทูลารีเมีย (Tularemia)
โรคเมลิออยโดซิส
โรคลิชมาเนีย
โรควีซีเจดีหรือโรคสมองเสื่อมชนิดใหม่
โรคไข้หวัดใหญ่ (Seasonal influenza)
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (Influenza A H1N1)
โรคแอนแทรกซ์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย