สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้  >>

โรคติดต่ออุบัติใหม่

โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือซาร์ส

โรคซาร์ส เกิดจากเชื้อไวรัส 2 ชนิด ได้แก่ ไวรัสในกลุ่ม โคโรนาไวรัส (Corona Virus) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหวัดธรรมดา และไวรัสอยู่ในกลุ่ม พาราไมโซไวรัส (Paramyxo Virus) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัด คางทูม และโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ระยะฟักตัว 2 –7 วัน โดยส่วนใหญ่จะใช้เวลา 3 – 5 วัน อาการที่พบ คือ ไข้สูง 38-40 องศาเซลเซียส ไอแห้ง หอบ หรือหายใจลำบาก และผลเอ็กซเรย์ปอดพบความผิดปกติคล้ายเป็นปอดบวม อาการอื่นๆ ที่พบ คือ หนาวสั่น ปวดหัว กล้ามเนื้อแข็ง เบื่ออาหารครั่นเนื้อครั่นตัว สับสน มีผื่นคัน และท้องเสีย

โรคนี้แพร่ระบาดผ่านทางละอองที่เกิดจากการจามหรือไอ ภายในรัศมี 3 ฟุต หรือ 1 เมตรไวรัสนี้ยังสามารถแพร่กระจายทางอ้อม เนื่องจากสามารถมีชีวิตภายนอกร่างกายมนุษย์เป็นเวลา 3-6 ชั่วโมง การสัมผัสกับวัตถุที่ปนเปื้อนละอองที่มีไวรัสดังกล่าว เช่น โทรศัพท์ที่ปนเปื้อนเชื้อ อาจเกิดการติดเชื้อหากมือสัมผัสตา จมูก หรือปาก

สถานการณ์ของโรคในต่างประเทศ

ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2546 เริ่มมีการระบาดของโรคซาร์ส โดยมีจุดกำเนิดอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน จากนั้นโรคได้แพร่ไปยังฮ่องกงและประเทศอื่นๆ รวม 29 ประเทศอย่างรวดเร็ว และมีการระบาดภายในประเทศรวม 9 ประเทศ รวมผู้ป่วยทั้งสิ้น 8,098 ราย เสียชีวิต 744 ราย โดยร้อยละ 92 อยู่ในจีน ฮ่องกง และไต้หวัน รองลงมา ได้แก่ สิงคโปร์ กรุงโตรอนโต (แคนาดา) และกรุงฮานอย (เวียดนาม) ผู้ป่วยร้อยละ 21 เป็นบุคลากรทางการแพทย์ องค์การอนามัยโลกได้ประกาศสิ้นสุดการระบาดครั้งใหญ่นี้ ในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2546

ต่อมาในช่วงปลายปี พ.ศ.2546 พบการติดเชื้อซาร์สในห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยาที่ไต้หวันและสิงคโปร์ แต่มีการควบคุมโรคอย่างทันท่วงที สถานการณ์ในจีนพบผู้ป่วยในชุมชนอีก 3 ราย และในช่วงเดือนมีนาคม 2547 มีผู้ติดเชื้อที่ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยในกรุงปักกิ่ง 4 ราย และเกิดการแพร่ระบาดเข้าไปในชุมชนอีกสองระลอก มีผู้ป่วยอีก 7 ราย เสียชีวิต 1 ราย และต้องกักผู้สัมผัสเพื่อสังเกตอาการอีกหลายร้อยคน ต่อมาจีนได้ออกมาตรการห้ามจำหน่ายและบริโภคเนื้อชะมด (Civet cats) และทำลายชะมดของร้านอาหารสัตว์ป่าไปกว่า 10,000 ตัว จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้ง

โรคนี้จัดเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ทำให้เกิดผลกระทบรุนแรงทั้งด้านสาธารณสุข สังคม และเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้คนตื่นตระหนกมากและไม่กล้าเดินทาง เป็นครั้งแรกที่องค์การอนามัยโลกออกคำแนะนำเรื่องการเดินทางระหว่างประเทศ และนับเป็นโรคติดเชื้อโรคแรกที่เกิดขึ้นแล้วถูกควบคุมให้สงบลงภายในเวลาสั้นๆ

สถานการณ์ในประเทศไทย

สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย ไม่พบผู้ป่วยโรคซาร์สเพิ่มเติม นับตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ.2546 ที่มีรายงานพบผู้ป่วยโรคซาร์ส 1 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อมาจากต่างประเทศ และพื้นที่ประเทศไทยไม่มีการแพร่เชื้อจากผู้ป่วย ทำให้ไม่ถูกจัดเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค

โรคไข้กาฬหลังแอ่น
โรคไข้เลือดออกอีโบลา
โรคไข้เลือดออกมาร์เบอร์ก
โรคไข้หวัดนก
โรคไข้เหลือง
โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya)
โรคมือเท้าปาก จากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71
โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์และเฮนดรา
โรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส
โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือซาร์ส
โรคทูลารีเมีย (Tularemia)
โรคเมลิออยโดซิส
โรคลิชมาเนีย
โรควีซีเจดีหรือโรคสมองเสื่อมชนิดใหม่
โรคไข้หวัดใหญ่ (Seasonal influenza)
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (Influenza A H1N1)
โรคแอนแทรกซ์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย