สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
โรคไข้เหลือง
โรคไข้เหลืองเป็นโรคติดเชื้อไวรัสไข้เหลือง ในตระกูล (Family) Flaviviridae
ซึ่งมีมานานและมีการแพร่ระบาดในทวีปแอฟริกาและอเมริกา มียุงลาย (Aedes sp. และ
Haemogogus sp.) เป็นพาหะนำโรค โดยผู้ป่วยจะมีลักษณะอาการแสดงได้หลายชนิด
และระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน ตั้งแต่รับเชื้อแล้วไม่ปรากฏอาการ
หรือบางรายมีอาการรุนแรงจนเสียชีวิต
แม้ว่าได้มีการใช้วัคซีนป้องกันโรคไข้เหลืองมากว่า 60 ปีแล้วก็ตาม
แต่ยังคงพบผู้ป่วยโรคไข้เหลืองเป็นจำนวนมาก ในแต่ละปีจะพบผู้ป่วยประมาณ 200,000 ราย
และมีผู้เสียชีวิต 30,000 ราย
โดยเฉพาะประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น
เมืองที่มีการรุกเข้าไปในพื้นที่ป่า
ทำให้โอกาสที่มนุษย์จะโดนยุงกัดและได้รับเชื้อไวรัสมากขึ้น
อย่างไรก็ตามข้อมูลผู้ป่วยโรคไข้เหลืองที่มีการรายงานยังคงต่ำกว่าความเป็นจริง
เนื่องจากมีผู้ป่วยเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่ได้รับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง
สถานการณ์ของโรคในต่างประเทศ
- ธันวาคม 2551 องค์การอนามัยโลกประกาศ พบการระบาดของโรคไข้เหลือง 2 ครั้ง
คือ ครั้งแรกในชุมชน Gerihun และ Jembe อำเภอ Bo สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน
เป็นผู้ป่วยยืนยัน 2 ราย มีอาการไข้และดีซ่าน และผู้ป่วยสงสัยอีก 7 ราย
ไม่มีผู้เสียชีวิต ครั้งที่สองในสาธารณรัฐกินี พบผู้ป่วยยืนยัน 2 ราย
ด้วยอาการไข้และดีซ่าน และผู้ป่วยสงสัยอีก 21 ราย มีผู้เสียชีวิต 3 ราย
- ปี 2552 มีการระบาดเกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2552 ที่จังหวัด Mbama สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และจังหวัด Zorzor ประเทศลิเบอร์เรีย พบผู้ป่วยยืนยันโรคไข้เหลืองแห่งละ 1 ราย จากเหตุการณ์กระทรวงสาธารณสุขแต่ละประเทศได้วางแผนรณรงค์ให้วัคซีนกับประชาชนเป้าหมาย โดยร้องขอวัคซีนป้องกันโรคไข้เหลืองสำหรับการรณรงค์ครั้งนี้จากกองทุน GAVI, Global Emergency Stockpile for Yellow fever Vaccine ซึ่งบริหารจัดการโดย International Coordinating Group on Vaccine Provision for Yellow Fever Control (YF-ICG) เพื่อการควบคุมโรค
สถานการณ์ในประเทศไทย
ในประเทศไทย ยังไม่เคยพบผู้ป่วยโรคไข้เหลือง
อย่างไรก็ตามประเทศไทยต้องมีมาตรการป้องกันควบคุมโรคเตรียมการเฝ้าระวังโรคทั้งในคนและในสัตว์ที่อาจแพร่ระบาดมาจากเขตติดโรคอยู่ตลอดเวลา
โรคไข้กาฬหลังแอ่น
โรคไข้เลือดออกอีโบลา
โรคไข้เลือดออกมาร์เบอร์ก
โรคไข้หวัดนก
โรคไข้เหลือง
โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya)
โรคมือเท้าปาก จากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71
โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์และเฮนดรา
โรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส
โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือซาร์ส
โรคทูลารีเมีย (Tularemia)
โรคเมลิออยโดซิส
โรคลิชมาเนีย
โรควีซีเจดีหรือโรคสมองเสื่อมชนิดใหม่
โรคไข้หวัดใหญ่ (Seasonal influenza)
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (Influenza A H1N1)
โรคแอนแทรกซ์