สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
โรคไข้กาฬหลังแอ่น
สถานการณ์ในประเทศไทย
ในปี พ.ศ.2551 สำนักระบาดวิทยา ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้กาฬหลังแอ่น
15 ราย จาก 12 จังหวัด คิดเป็นอัตราป่วย 0.02 ต่อประชากรแสนคน
ซึ่งมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 มีผู้เสียชีวิต 2 ราย
คิดเป็นอัตราตาย 0.003 ต่อประชากรแสนคน และอัตราป่วยตายร้อยละ 13.33
ซึ่งลดลงเมื่อเทียบจากปี พ.ศ.2550
ผู้ป่วยโรคไข้กาฬหลังแอ่นพบได้ตลอดปีไม่มีฤดูกาลเกิดโรคที่ชัดเจน สำหรับปี พ.ศ.
2551 ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ธันวาคม
พบผู้ป่วยต่อเนื่องติดต่อกันโดยพบผู้ป่วยเดือนละ 1 4 ราย
และภาคใต้มีอัตราป่วยสูงสุดอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นอัตราป่วย 0.07 ต่อประชากรแสนคน
รองลงมาคือ ภาคเหนือ, ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คิดเป็นอัตราป่วย 0.03,
0.02 และ 0.01 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ
จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดสตูล ตรัง
กระบี่ สมุทรสาคร และพะเยา อัตราป่วยต่อประชากรแสนคน เท่ากับ 0.70, 0.33, 0.24,
0.21 และ 0.21 ตามลำดับ
ข้อมูลการตรวจยืนยันเชื้อ Neisseria meningitidis
จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยแยกเชื้อและทดสอบ Serogroup โดยวิธี PCR
สามารถยืนยันเชื้อจากผู้ป่วยได้ 5 ตัวอย่าง โดยเป็นตัวอย่าง Hemoculture 2 ตัวอย่าง
ซีรั่ม 1 ตัวอย่าง และน้ำไขสันหลัง 2 ตัวอย่าง ผลการทดสอบ serogroup เป็น serogroup
B 3 ตัวอย่าง สำหรับอีก 2 ตัวอย่าง เพาะเชื้อไม่ขึ้น ซึ่งการส่งตัวอย่างเลือด
หรือน้ำไขสันหลังมาเพาะเชื้อและตรวจหา serogroup มีความสำคัญต่อการศึกษาสายพันธุ์
เพื่อตรวจสอบว่าเป็นสายพันธุ์เดียวกันหรือไม่ ทำให้ทราบระบาดวิทยาของเชื้อ
Neisseria meningitidis ในประเทศไทย
และสามารถวางแนวทางการควบคุมป้องกันได้ดียิ่งขึ้น
ปี พ.ศ.2552 จนถึงปัจจุบัน (ณ วันที่ 6 สิงหาคม 2552) พบผู้ป่วยแล้ว 31 ราย
จาก 19 จังหวัด คิดเป็นอัตราป่วย 0.05 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 1 ราย
จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับแรก คือ แม่ฮ่องสอน (1.18
ต่อแสนประชากร) ปัตตานี (0.47 ต่อแสนประชากร) อุตรดิตถ์ (0.43 ต่อแสนประชากร)
สุราษฎร์ธานี (0.41 ต่อแสนประชากร) พัทลุง (0.40 ต่อแสนประชากร)
ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุดยังคงเป็นภาคใต้ 0.14 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือ ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง คิดเป็นอัตราป่วย 0.05, 0.05 และ 0.01
ต่อแสนประชากร ตามลำดับ
สถานการณ์ของโรคในต่างประเทศ
ปี พ.ศ.2552 จากข้อมูลรายงานขององค์การอนามัยโลก
พบการระบาดของโรคในทวีปแอฟริกา ในช่วงไตรมาสแรกของปี ดังนี้
- ประเทศสาธารณรัฐ Chad พบผู้ป่วยสงสัย 922 ราย มีผู้เสียชีวิต 105 ราย
คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 11.4 และมีการตรวจพบเชื้อ Neisseria meningitidis
serogroup W135 และ serogroup A จากตัวอย่างน้ำไขสันหลังจำนวน 33 และ 30
ตัวอย่าง ตามลำดับ
- ประเทศสาธารณรัฐไนเจอร์ พบผู้ป่วยสงสัย 4,513 ราย เสียชีวิต 169 ราย
คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 3.7 โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ Neisseria
meningitidis serogroup A
- สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย พบผู้ป่วยสงสัย 17,462 ราย เสียชีวิต 960 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 5.5 และสาเหตุเกิดจากเชื้อ Neisseria meningitidis serogroup A จากตัวอย่างน้ำไขสันหลัง
เนื่องจากโรคไข้กาฬหลังแอ่นเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียชนิดเฉียบพลัน พื้นที่ที่มีอุบัติการณ์ของโรคสูงติดต่อกันหลายปี ได้แก่ ประเทศแถบทวีปแอฟริกา (เขต African meningitis belt) ทั้งหมด 21 ประเทศ (บริเวณตั้งแต่ประเทศเซเนกัลไปจนถึงประเทศเอธิโอเปีย) ในอดีต การแพทย์และสาธารณสุขยังไม่ก้าวหน้า โรคนี้มีอัตราป่วยตายที่ร้อยละ 50% แต่ปัจจุบันมีอัตราป่วยตายร้อยละ 8-15% อย่างไรก็ตามผู้รอดชีวิตประมาณร้อยละ 10-20 ยังคงมีอาการหลงเหลืออยู่ เช่น หูหนวก สติปัญญาลดลง แขนขาอ่อนแรง องค์การอนามัยโลกได้สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญไปยังประเทศที่พบการระบาดเพื่อการเฝ้าระวังป้องกันโรค การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ การรักษาพยาบาลผู้ป่วย และยุทธศาสตร์การใช้วัคซีนป้องกันโรค สำหรับประเทศไทยควรมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษในกลุ่มประชากรที่มีการเดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาด เช่น เขต African meningitis belt ได้แก่ ผู้ที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ และอุมเราะห์ที่ซาอุดิอาระเบีย เป็นต้น
โรคไข้กาฬหลังแอ่น
โรคไข้เลือดออกอีโบลา
โรคไข้เลือดออกมาร์เบอร์ก
โรคไข้หวัดนก
โรคไข้เหลือง
โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya)
โรคมือเท้าปาก จากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71
โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์และเฮนดรา
โรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส
โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือซาร์ส
โรคทูลารีเมีย (Tularemia)
โรคเมลิออยโดซิส
โรคลิชมาเนีย
โรควีซีเจดีหรือโรคสมองเสื่อมชนิดใหม่
โรคไข้หวัดใหญ่ (Seasonal influenza)
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (Influenza A H1N1)
โรคแอนแทรกซ์